ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mahatee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47:
# หอสมเด็จ แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นฐานและชั้นตัวหอ ชั้นฐานรับหอและพระเจดีย์ แบ่งเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องมีรูปทหารแบกส่วนฐานไว้ สันนิฐานว่าเป็นรูปทหารฝรั่งเศสเนื่องจากสร้างบนส่วนของป้อมทหารฝรั่งเศสตั้งแต่สมัยอยุธยา (บริเวณเดียวกับป้อมวิไชยประสิทธิ์) ส่วนบนประกอบด้วยพระเจดีย์รอบด้าน ๆ ละ ๒ องค์ รวมเป็น ๔ องค์ ด้านหน้าเป็นรูปอุโมงค์ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ตัวหอสมเด็จ เป็นอาคารทรงไทย ประตูหน้าต่างเขียนภาพลายรดน้ำงดงาม ภายในประดิษฐานรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) เจ้าอาวาสรูปที่ ๒ เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรเบื้องต้นแด่พระโอรสในรัชกาลที่ ๒ แทบทุกพระองค์ เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อมรณภาพแล้ว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้หล่อขึ้น เป็นรูปหล่อสำริดนั่งขัดสมาธิมีขนาดเท่าองค์จริง ประดิษฐานอยู่บนแท่นซึ่งมีคำจารึกที่ฐานหล่อว่า           "ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้วสองพันสามร้อยแปดสิบหกพระวษา ณ วันจันทร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ เบญจศก พระบาทสมเด็จบรมธรรมฤกมหาราชาธิราชรามาธิบดีบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการ ณ พระบัณฑูรสุรสีหนาท ดำรัส สั่งหลวงกัลมาวิจิตร เจ้ากรมช่างปั้นขวา และอาจารย์ฉิม กรมราชบัณฑิตย์ ให้จำลองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลย์สุนทรนายก ติปิฏกธรา มหาคณฤษร บวรสังฆาราม คามวาสีบพิตร อันสถิต ณ พุทไธยสวรรยาวาศ วรวิหาร ไว้เป็นที่สักการบูชาแก่สานุศิษย์ทั้งปวงสืบไป"
# หอไตร ปัจจุบันย้ายออกมาจากสระน้ำและตั้งอยู่บริเวณ กุฎีสงฆ์ ภายในคณะ ๑ เป็นอาคารไม้สักทรงไทย ใต้ถุนสูง หลังคา ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบ ประตู หน้าต่าง ผนังด้านใน และเสาเขียนภาพลายรดน้ำภาพถ้วยชามเครื่องใช้จีนสวยงามยิ่ง สันนิษฐานว่า คงสร้างในรัชกาลที่ ๓ ต่อมา รัชกาลที่ ๕ โปรดให้บูรณะขึ้นอีกครั้งสมัยพระธรรมเจดีย์ (อยู่) เป็นเจ้าอาวาส ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานแห่งนี้ให้ดูสวยงามดังเดิม
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==