ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่ใช่สำนวนภาษาไทยที่ถูกต้อง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 65:
, [http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9510000100832 โลงต่อตาย : หนังไทยดีๆ แห่งปี 2551!!] ผู้จัดการออนไลน์ 26 สิงหาคม 2551 13:58 น.</ref> ต่อมาในภาพยนตร์เรื่อง ''[[ปืนใหญ่จอมสลัด]]'' ภาพยนตร์ทุนสร้างสูงแนวแอกชัน-แฟนตาซี เขารับบทเป็นปารี ชาวเล ผู้มีวิชาดูหลำ สามารถบังคับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลได้ โดย[[นนทรีย์ นิมิบุตร]]และเอก เอี่ยมชื่นได้กล่าวว่าออกแบบตัวละครตัวนี้จากตัวอนันดา ซึ่งเขาก็สงสัยว่าคล้ายกับเขาตอนไหน<ref>[http://www.deknang.com/index.php?option=content&task=view&id=735 คุยเหนือน้ำ "อนันดา เอเวอริ่งแฮม" กับการพลิกบทบาทแฟนตาซีครั้งแรกใน "ปืนใหญ่จอมสลัด"] deknang.com</ref>
 
อนันดาและ[[ฉายนันท์ มโนมัยสันติภาพ]] กลับมาแสดงร่วมกันอีกครั้งใน ''[[แฮปปี้เบิร์ธเดย์ (ภาพยนตร์ไทย)|แฮปปี้เบิร์ธเดย์]]'' หลังจากเจอกันใน ''Me Myself ขอให้รักจงเจริญ'' กับผู้กำกับคนเดิม พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ซึ่งเขาส่งอนันดาและฉายนันท์เข้าไปพัฒนาการแสดงกับหม่อมน้อย ที่อนันดาเคยแสดงในภาพยนตร์กำกับโดยหม่อมน้อยใน ''อันดากับฟ้าใส'' หม่อมน้อยพูดถึงอนันดาว่า "ถามว่าอนันดาเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ทางด้านการแสดงมั๊ย ก็ตอบเลยว่าไม่ แต่ว่ามีความมานะ มีความพยายาม แล้วก็ขัดเกลาตัวเองอยู่เสมอ ทำให้ฝีมือการแสดงของเขาขึ้นไปทีละขั้นช้า ๆ แต่มั่นคง..."<ref>นคร โพธิ์ไพโรจน์, นภสร ลิ้มไชยวัฒน์ "เรียนการแสดงระดับเส้นเอ็นถึงจิตวิญญาณกับ ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล", ''นิตยสารไบโอสโคป'' ฉบับที่ 85 ธันวาคม 2551 หน้า 63-67</ref> ซึ่งการแสดงของอนันดาเรื่องนี้ก็ได้รับคำชมว่า "อนันดาในหนังเรื่องนี้ “บทเด่น” และ “เล่นดี” มากจนหาที่ตำหนิไม่เจอ"<ref>อภินันท์ บุญเรืองพะเนา, [http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9510000150442 หนังรักที่ดีที่สุดแห่งปี!!! : Happy Birthday] ASTVผู้จัดการออนไลน์</ref> จากผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้อนันดาได้รับรางวัลในสาขานักแสดงนำจาก 4 สถาบันรางวัล
 
อนันดามีส่วนร่วมในโครงการภาพยนตร์ ''[[เสน่ห์กรุงเทพ]]'' ที่เป็นโครงการภาพยนตร์สั้นถ่ายทอดจากผู้กำกับ 9 คน โดยอนันดาแสดงในตอน "Bangkok Blues" กำกับโดย [[อาทิตย์ อัสสรัตน์]]<ref>[http://www.thaicinema.org/kits179saneh.asp เสน่ห์กรุงเทพ] thaicinema.org</ref> ในปี พ.ศ. 2553 เขายังได้กลับมาร่วมงานแสดงภาพยนตร์ในการกำกับของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุลอีกครั้งในเรื่อง ''[[ชั่วฟ้าดินสลาย]]''<ref>[http://www.thaicinema.org/kits238chuafah.asp “หม่อมน้อย” คืนจอภาพยนตร์ครั้งใหญ่ จับ “อนันดา+พลอย” ลง “ชั่วฟ้าดินสลาย”] thaicinema.org</ref> ในปีเดียวกันเขาแสดงในภาพยนตร์ทุนสร้างสูง 150 ล้านบาทเรื่อง ''[[อินทรีแดง (ภาพยนตร์)|อินทรีแดง]]'' ในบทบาท [[อินทรีแดง]] จากบทบาทนี้ รัชชพร เหล่าวานิช นักวิจารณ์เห็นว่า บทบาทนี้อยู่แค่สอบผ่าน เพราะไม่มีรังสีอำมหิต<ref>รัชชพร เหล่าวานิช, "ชำแหละแผ่นฟิล์ม". [[นิตยสารเอนเตอร์เทน]] ฉบับปักษ์หนัง ตุลาคม พ.ศ. 2553 หน้า 45</ref>