ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ประวัติ
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ศึกเจ้าอนุวงศ์
บรรทัด 33:
 
=== ศึกเจ้าอนุวงศ์ ===
ปีพ.ศ. 2369 [[กบฏเจ้าอนุวงศ์]] พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ขณะนั้นอายุห้าสิบเอ็ดปีได้รับโปรดเกล้าฯให้ยกทัพไปทางอีสานใต้ลาวใต้[[อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์|จำปาศักดิ์]] หลังจากที่ตีทัพของเจ้าโถง (หลานของเจ้าอนุวงศ์) ที่เมือง[[อำเภอพิมาย|พิมาย]]แตกแล้วจึงยกทัพต่อไปตีค่ายเวียงคุกที่เมือง[[ยโสธร]]แตก [[เจ้าราชบุตร (โย้)]] โอรสของเจ้าอนุวงศ์และเป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ยกทัพมาตั้งมั่นที่เมือง[[อุบลราชธานี|อุบล]] พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยกทัพจากยโสธรเข้าโจมตีเมืองอุบล ปรากฎว่าชาวลาวเมืองอุบลลุกฮือขึ้นขับไล่เจ้าราชบุตรออกจากเมือง เจ้าราชบุตรหลบหนีกลับไปยังเมืองจำปาศักดิ์แต่ไม่สามารถเข้าเมืองได้เนื่องจากความวุ่นวายในเมือง พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จึงสามารถเข้ายึดเมืองจำปาศักดิ์และจับกุมตัวเจ้าราชบุตรได้ได้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 [[เจ้าอนุวงศ์]]แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง[[เวียงจันทน์]]ก่อสงครามขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพหน้ายกไปปราบปรามกองทัพลาว ในที่สุดท่านได้ปราบปรามกองทัพลาวสำเร็จและสามารถยกเข้าเมืองนคร[[จำปาศักดิ์]]ได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น '''เจ้าพระยาราชสุภาวดี''' ว่าที่สมุหนายก
 
ในระหว่างการศึกเจ้าอนุวงศ์นั้น[[เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตน์พันธุ์)|เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย)]] [[สมุหนายก]]ซึ่งนำทัพในการศึกครั้งนี้ด้วยนั้นล้มป่วงลงจนถึงแก่อสัญกรรมในพ.ศ. 2370 [[กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ]]มีพระบัณฑูรให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จัดการบ้านเมืองลาวอยู่ที่เวียงจันทน์ เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพยกทัพเสด็จกลับกรุงเทพมหานครแล้วจึงกราบทูลความดีความชอบให้แก่พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงมีตราให้เลื่อนเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ขึ้นเป็น'''''เจ้าพระยาราชสุภาวดีที่สมุหนายก''''' เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) นำตัวเจ้าราชบุตร (โย้) พร้อมทั้งอัญเชิญ[[พระบาง]]จากเวียงจันทน์มายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงขัดเคืองเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ที่มิได้ทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงให้ราบคาบ<ref>ดังความในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ว่า "''เจ้าพระยาราชสุภาวดีนั้นทรงขัดเคืองอยู่ที่ไม่ทำลายเมืองเวียงจันทน์เสียให้สาบสูญ มาคิดตั้งขึ้นให้เป็นบ้านเมืองไว้ ยังหาโปรดตั้งให้เป็นที่จักรีไม่ ให้ที่ว่าที่อยู่ก่อน''"</ref>จึงทรงให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ไปทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงอย่างสิ้นเชิง
 
ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ซึ่งได้หลบหนีไปยัง[[จังหวัดเหงะอาน]]ของเวียดนาม[[ราชวงศ์เหงียน]]ได้กลับมายังเมืองเวียงจันทน์พร้อมคณะฑูตของ[[จักรพรรดิมิญ หมั่ง|พระจักรพรรดิมิญหมั่ง]] ฑูตเวียดนามได้ไกล่เกลี่ยเจรจาขอให้เจ้าอนุวงศ์ยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อไทยดังเดิม แต่เจ้าอนุวงศ์กลับเข้าลอบสังหารกองกำลังฝ่ายไทยและเข้าครองเมืองเวียงจันทน์อีกครั้ง เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ซึ่งยกทัพมาตั้งมั่นที่เมืองพันพร้าวจึงล่าถอยไปทางใต้ไปยังยโสธร เจ้าอนุวงศ์จึงส่ง[[เจ้าราชวงศ์ (เหง้า)]] ยกทัพลาวจากเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงลงมาทางใต้เพื่อตามทัพของเจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) เห็นว่าทัพลาวติดตามมาจึงตั้งรับที่บกหวาน (ตำบลบกหวาน อำเภอเมือง[[จังหวัดหนองคาย]]) เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ต่อสู้ตัวต่อตัวกับเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) เจ้าราชวงศ์ให้หอกแทงถูกเจ้าพระยาราชสุภาวดีจนเสื้อขาดเป็นแผลถลอกตั้งแต่อกจนถึงท้องน้อยและล้มลง น้องชายของเจ้าพระยาราชสุภาวดีคือหลวงพิพิธเข้ามาช่วย เจ้าราชวงศ์ฟันหลวงพิพิธเสียชีวิต ปรากฎฝ่ายไทยยิงปืนถูกเข่าของเจ้าราชวงศ์ล้มลงเสียโลหิตมาก ฝ่ายลาวจึงนำเจ้าราชวงศ์ขึ้นแคร่หามหนีไป เจ้าพระยาราชสุภาวดีแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บยังคงติดตามเจ้าราชวงศ์ไปแต่ไม่สำเร็จ
 
เสร็จศึกเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาเจ้าพระยาราชสุภาวดีขึ้นเป็น '''เจ้าพระยาบดินทรเดชา''' อัครมหาเสนาบดีสมุหนายกใน พ.ศ. 2372 (เวลานั้นท่านอายุได้ 52 ปี)