ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้สำเร็จราชการแคนาดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Anggorn1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ตำแหน่งทางการเมือง
|post = ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งแคนาดา
|body =
|nativename =
บรรทัด 36:
|website = [http://www.gg.ca/index.aspx www.gg.ca]
}}
'''ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งแคนาดา''' ({{lang-en|Governor General of Canada}}; {{lang-fr|[เพศชาย]: Gouverneur général du Canada}} หรือ [เพศหญิง]: Gouverneure générale du Canada) คือ[[อุปราช]]แห่งสหพันธ์รัฐ[[แคนาดา]] ผู้สำเร็จราชการแทน[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร]] [[ราชาธิปไตยของแคนาดา|พระมหากษัตริย์แคนาดา]]พระองค์ปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากแคนาดามี[[ประมุขแห่งรัฐ]]ร่วมกับ[[ราชอาณาจักรเครือจักรภพ|ประเทศเครือจักรภพ]]อีก 15 ประเทศ ซึ่งก็คือ[[พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร|พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร]]ผู้ทรงมีถิ่นพำนักหลักอยู่ในสหราชอาณาจักร ดังนั้นพระมหากษัตริย์แคนาดาจึงทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนตามคำกราบบังคมทูลของ[[นายกรัฐมนตรีแคนาดา|นายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดา]]<ref>{{cite web| url= http://www.royal.gov.uk/MonarchAndCommonwealth/Canada/TheQueensroleinCanada.aspx| last=The Royal Household| title=The Queen and the Commonwealth > Queen and Canada > The Queen's role in Canada| publisher=Queen's Printer| accessdate=2 June 2009}}</ref> ขึ้นมารับผิดชอบพระราชกรณียกิจตามรัฐธรรมนูญและพระราชกรณียกิจเชิงพิธีการส่วนมากแทนพระองค์ โดยระยะเวลาการดำรงตำแหน่งไม่ได้จำกัดไว้อย่างชัดเจนหรือเรียกได้ว่าเป็นระยะเวลา ''ตามแต่พระราชอัธยาศัย'' (at Her Majesty's pleasure) ซึ่งตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งมักจะมีวาระอยู่ประมาณ 5 ปี นอกจากนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา ผู้ดำรงตำแหน่งจะสลับสับเปลี่ยนกันไปมาระหว่างชาวแคนาดาผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) และชาวแคนาดาผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) ซึ่งผู้สำเร็จราชการสามารถติดต่อกับองค์พระประมุขได้โดยตรงไม่ว่าจะประทับอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม<ref>{{cite web| url=http://www.royal.gov.uk/MonarchAndCommonwealth/Canada/GovGenCan.aspx| last=The Royal Household| title=Queen and Canada: The role of the Governor-General| publisher=Queen's Printer| accessdate=28 May 2009}}</ref>
 
ตำแหน่งนี้มีที่มาสืบย้อนกลับไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ตั้งแต่การปกครองแบบอาณานิคมสมัย[[นิวฟรานซ์]]และอเมริกาเหนือของอังกฤษ (บริติชนอร์ทอเมริกา) ทำให้ตำแหน่งนี้เป็นสถาบันที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดในแคนาดา<ref name=MacLeod34>{{Cite book|last=MacLeod |first=Kevin S. |authorlink=Kevin S. MacLeod |title=A Crown of Maples |place=Ottawa |publisher=Queen's Printer for Canada |year=2008 |edition=1 |page=34 |url=http://www.pch.gc.ca/pgm/ceem-cced/fr-rf/crnCdn/crn_mpls-eng.pdf |isbn=978-0-662-46012-1 |ref=harv |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/20140513222152/http://www.pch.gc.ca:80/pgm/ceem-cced/fr-rf/crnCdn/crn_mpls-eng.pdf |archivedate=13 May 2014 }}</ref> โดยที่รูปแบบในปัจจุบันของตำแหน่งนี้ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติอเมริกาเหนือของอังกฤษ (British North America Act) และการก่อตั้งสมาพันธรัฐแคนาดา (Canadian Confederation) ในปี ค.ศ. 1867 ซึ่งได้นิยามตำแหน่งผู้แทนพระองค์นี้ไว้ว่าเป็น "ผู้สำเร็จราชการโดยคำแนะนำของสภาองคมนตรี"<ref>{{Citation| last=Victoria| author-link=Victoria of the United Kingdom| publication-date=29 March 1867| title=Constitution Act, 1867| series=III.13| publication-place=Westminster| publisher=Queen's Printer| url=http://www.solon.org/Constitutions/Canada/English/ca_1867.html| accessdate=15 January 2009| ref=harv | year=1867}}</ref> อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งนี้ก็ยังถือว่าเป็นผู้แทนของ[[รัฐบาลสหราชอาณาจักร]]ผ่านกลไกตาม[[กฎหมายรัฐธรรมนูญ]]ที่เรียกว่า ''[[สภาองคมนตรีแห่งพระราชินี|คิงอินเคาน์ซิล]]'' หรือ ''ควีนอินเคาน์ซิล'' ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสตรี (King-in-Council; Queen-in-Council) เรื่อยไปจนกระทั่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรเริ่มลดบทบาทในการปกครองแคนาดาลงและมีการออกพระราชบัญญัติเวสต์มินสเตอร์ในปี ค.ศ. 1931<ref>{{Harvnb| MacLeod| 2008| pp=34–35}}</ref><ref name=GGParl>{{cite web| url=http://www.collineduparlement-parliamenthill.gc.ca/histoire-history/est-east/gov-gen-eng.html| last=Public Works and Government Services Canada| authorlink=Public Works and Government Services Canada| title=Parliament Hill > The History of Parliament Hill > East Block > Office of the Governor General| publisher=Queen's Printer for Canada| accessdate=3 June 2009}}</ref> ที่กำหนดให้ผู้สำเร็จราชการคือผู้แทนส่วนพระองค์ทางตรงของพระมหากษัตริย์แคนาดา หรือ ''เดอะมอนาร์กอินฮีสคะเนเดียนเคาน์ซิล'' (the monarch in his Canadian council)<ref name=MacLeod35>{{Harvnb| MacLeod| 2008| p=35}}</ref><ref name=DCH3>{{Cite book|last=Department of Canadian Heritage |author-link=Department of Canadian Heritage |title=Canada: Symbols of Canada |place=Ottawa |publisher=Queen's Printer for Canada |year=2008 |url=http://www.pch.gc.ca/pgm/ceem-cced/symbl/101/101-eng.pd |page=3 |ref=harv |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/20150217120855/http://www.pch.gc.ca/pgm/ceem-cced/symbl/101/101-eng.pd |archivedate=17 February 2015 }}</ref> ในช่วงที่แคนาดาเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเองนี้ บทบาทหน้าที่ของผู้สำเร็จราชการก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ในปี ค.ศ. 1904 มีการออกพระราชบัญญัติทหาร (Militia Act) ซึ่งให้อำนาจผู้สำเร็จราชการใช้ยศทางทหารเป็น ''ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพแคนาดา''<ref name=GGCinC>{{cite web|url=http://www.gg.ca/gg/rr/cc/hist_e.asp |author=Office of the Governor General of Canada |title=Commander in Chief |publisher=Queen's Printer for Canada |accessdate=5 November 2007 |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/20070930061019/http://www.gg.ca/gg/rr/cc/hist_e.asp |archivedate=30 September 2007 }}</ref> ในพระนามาภิไธยของพระประมุขผู้ทรงเป็นผู้บัญชาการสูงสุดโดยแท้จริง<ref name=VictoriaIII.15>{{Harvnb| Victoria| 1867| loc=III.15}}</ref> ต่อมาในปี ค.ศ. 1927 ผู้สำเร็จราชการจึงเริ่มปฏิบัติหน้าที่เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก<ref name=Hubbard166>{{cite book| last=Hubbard| first=R.H.| title=Rideau Hall| publisher=McGill-Queen's University Press| year=1977| location= Montreal and London| page=166| isbn=978-0-7735-0310-6| ref=harv}}</ref><ref>{{cite web| url=http://www.gg.ca/document.aspx?id=55&lan=eng| last=Office of the Governor General of Canada| title=Governor General > Former Governors General > The Marquess of Willingdon| publisher=Queen's Printer for Canada| accessdate=28 May 2009}}</ref> และในปี ค.ศ. 1947 [[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6]] ออกพระราชสาส์นตราตั้งอนุญาตให้ผู้สำเร็จราชการเป็นผู้ใช้พระราชอำนาจส่วนมากของพระองค์ได้ นอกจากนี้พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1982 ยังกำหนดไว้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายนิติบัญญัติใด ๆ ที่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (the Crown) รวมถึงสำนักผู้สำเร็จราชการ จำเป็นต้องได้รับมติเห็นชอบโดยเอกฉันท์จากทั้งฝ่ายนิติบัญญัติท้องถิ่นของแต่ละ[[เขตการปกครองของประเทศแคนาดา|รัฐ]]และจาก[[รัฐสภาแคนาดา]]