ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชมพูไพร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
David Supervid (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ตารางจำแนกพันธุ์ | color = lightgreen | name = ชมพูไพร | image = | image_width = | image_caption = | regnum = Planta...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:11, 22 เมษายน 2563

ชมพูไพร
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: N/A
ชั้น: N/A
อันดับ: N/A
วงศ์: Acanthaceae
สกุล: Thunbergia
สปีชีส์: Thunbergia impatienoides
ชื่อทวินาม
Thunbergia impatienoides
Suwanph. & S. Vajrodaya

ชมพูไพร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia impatienoides Suwanph. & S. Vajrodaya) เป็นพรรณไม้ในสกุลรางจืด ลักษณะเป็นไม้เลื้อย ค้นพบในปี พ.ศ. 2559 สำรวจพบที่ป่าเต็งรัง บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ค้นพบโดย รศ. ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี และ รศ. ดร. สรัญญา วัชโรทัย อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[1][2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพืชในสกุลรางจืด

ลำต้น ค่อนข้างผอมแบบไม้เลื้อย

ดอก สีชมพูอมม่วง ตรงกลางมีสีขาวอมเหลือง คล้ายดอกเทียนสวน

ดอกตูม คล้ายดอกกุหลาบแรกแย้ม

ดอกบาน คล้ายกงล้อ

ชมพูไพร เป็นไม้เลื้อยที่ออกดอกตลอดปีเหมาะในการพัฒนาเป็นไม้ประดับ สำรวจพบโดย รศ.ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี และ รศ. ดร. สรัญญา วัชโรทัย อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[3]

การตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยันพันธุ์พืชชนิดใหม่ที่พบ

ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Blumea การตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยันพืชพันธุ์ใหม่ของโลก[4][5]สำหรับนำไปใช้ในการอ้างอิงในด้านอนุกรมวิธานพืช ข้อมูลที่ศึกษาและตัวอย่างอ้างอิงได้นำไปเก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช เพื่อการศึกษาด้านอนุกรมวิธานต่อไป ข้อมูลที่ศึกษาสามารถเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นในประเทศและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยของพืช วงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae)

อ้างอิง