ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลต่านสุลัยมาน ชาห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Effmedical (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| ภาพ =
| พระปรมาภิไธย = สุลต่าน ตวนกู สุลัยมาน ชาห์
| พระอิสริยยศ = สุลต่านแห่งสงขลา
| ครองราชย์ = พ.ศ. 2173 - พ.ศ. 2211
บรรทัด 17:
|ทรงราชย์ = |ระยะเวลาครองราชย์ = 28 ปี|สละราชย์ = }}
 
'''สุลต่าน ตวนกู สุลัยมาน ชาห์''' (سلطان تڠكو سليمان شه) หรือ '''สุลต่านสุลัยมาน(ชาห์)'''(سلطان سليمان شه)
 
พระราชาธิบดีสุลต่านแห่งเมืองสงขลาพระองค์องค์ที่ 1 (เกิด พ.ศ.? ที่เมืองสาเลห์ เกาะชวา ได้รับแต่งตั้งจากราชสำนักอยุธยาเป็นข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา พ.ศ. 2163 (ต่อจากบิดาคือท่านดาโต๊ะโมกอล) สถาปนาตนเองเป็นสุลต่านสงขลา หลังเจ้าพระยากลาโหมทำการปราบดาภิเษกในกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2173 พิราลัย พ.ศ. 2211 พระศพยังคงฝังอยู่ที่สุสานที่เขาแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มาจนถึงปัจจุบันนี้)
 
== ประวัติ ==
 
สุลต่านสุลัยมาน(ชาห์) เป็นบุตรชายคนโตของท่านดาโต๊ะโมกอล ซึ่งอพยพครอบครัวจากเมืองสาเลห์(ชวาภาคกลาง)<ref>[http://www.oknation.net/blog/kt/2010/06/29/entry-1 “พิทักษ์คุมพล”สาแหรก"สุลต่านสุลัยมาน" โดย เอกราช สุลัยมาน บิล ฮัจยียะมีน]</ref> <ref>[http://www.navy.mi.th/navic/document/840806b.html ประวัติตระกูลสุลต่านสุลัยมาน ร้อยโท สมบัติ เศวตครุฑมัต ]</ref> โดยทางเรือมาตั้งหมู่บ้านที่ตำบลหัวเขาแดง ริมทะเลปากอ่าวสงขลา ในสมัย[[สมเด็จพระเอกาทศรถ]] ในประมาณปีพ.ศ. 2145 [[สมเด็จพระเอกาทศรถ]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นข้าหลวงผู้สำเร็จราชการนครสงขลา และดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี พ.ศ. 2163 จึงถึงแก่อสัญกรรม ท่านสุลัยมานจึงขึ้นครองนครสงขลาแทนบิดาในปี พ.ศ. 2163 ในฐานะผู้สำเร็จราชการนครสงขลาในสมัย[[พระเจ้าทรงธรรม]]
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2173 [[เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์]] ปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์ปราสาททอง]] ทรงพระนามว่า "[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]]" (ครองราชย์ พ.ศ. 2173-2199) ท่านสุลัยมานเห็นว่ามิใช่เป็นการสืบราชสันตติวงศ์ตาม[[กฏมนเฑียรบาล]] จึงประกาศแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับ[[กรุงศรีอยุธยา]] และได้ประกาศเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2173 <ref>สายสกุล สุลต่าน สุลัยมาน พ.ศ. 2144-2531 กรุงเทพ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ หน้า 13-14</ref>
 
 
ครั้นต่อมาในสมัยแผ่นดิน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]](ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ในปี พ.ศ. 2223 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยารามเดโช(ชู)เป็นแม่ทัพยกทัพหลวงไปร่วมกับทัพหัวเมืองภาคใต้ มีกองอาสาสมัคร[[โปรตุเกต]]และดัชท์ร่วมด้วย ยกไปปราบรัฐสุลต่านสงขลาจนได้รับชัยชนะ (ขณะนั้นท่านมุสตอฟาพระราชโอรสพระองค์โตของสุลต่านสุลัยมานเป็นสุลต่านเมืองสงขลาอยู่ เนื่องจากสุลัยมานสวรรคตไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2211) ในครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สลายเมืองสงขลาเสียแล้วให้ท่านมุสตอฟาย้ายไปอยู่ที่เมือง[[ไชยา]] อันเป็นหัวเมืองตรีอยู่ทางเหนือของ[[นครศรีธรรมราช]] ส่วนท่านฮะซันและฮูเซ็นให้อพยพเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยา <ref>ประวัติศาสตร์ ตระกูล สุลต่าน สุลัยมาน กรุงเทพ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ หน้า 112-123</ref>
 
 
ท่านฮะซันนั้นได้เข้ามารับราชการอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในภายหลังต่อมาในรัชสมัย[[สมเด็จพระเพทราชา]] พระยารามเดโช(ชู)เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฏ พระยาราชวังสัน(มะหมุด)ซึ่งเป็นบุตรชายคงจะอยู่ไม่ได้หรืออาจเกิดเหตุการณ์ใดกับท่าน สมเด็จพระเพทราชาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านฮะซันดำรงตำแหน่งพระยาราชวังสันแทน พระยาราชวังสัน(ฮะซัน)มีบุตรชื่อ ขุนลักษมณา(บุญยัง) ซึ่งต่อมาเป็นบิดาของ[[เจ้าพระยาจักรี(หมุด)]]
 
==สายสกุลสุลต่านสุลัยมาน(ชาห์)ผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์พระยาราชวังสัน==
บรรทัด 37:
ตำแหน่งจางวางอาสาจามเดิม ตั้งแต่มีปรากฏใน[[พงศาวดาร]]ตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยานั้น ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวังสันหรือพระยาราชวังสันล้วนแล้วแต่เป็น[[มุสลิม]]ชนชาติจาม จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระเพทราชาเมื่อพระยารามเดโช(ชู)เชื้อสายจามแข็งเมือง และบุตรชายคือพระยาราชวังสัน(มะหมุด)ซึ่งเป็นจางวางอาสาจามขณะนั้นคงจะอยู่รับราชการไม่ได้ ตำแหน่งจางวางอาสาจามจึงว่างลง สมเด็จพระเพทราชาจึงทรงแต่งตั้งท่านฮะซัน(บุตรสุลต่านสุลัยมานชาห์)เป็นพระยาราชวังสันแทน คงเนื่องจากเห็นว่ามีความชำนาญเรื่องการเดินเรือและเป็นมุสลิมเช่นเดียวกับทหารในกองอาสาจาม
 
สายสกุลของสุลต่านสุลัยมานชาห์จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชวังสันจางวางอาสาจามตั้งแต่นั้นมา และแม้ว่าพระยาราชวังสัน(ฮะซัน)จะต้องโทษถูกประหารชีวิตในครั้งศึกนครศรีธรรมราชก็ตาม แต่ต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ 2251 - 2275) ท่านตะตาซึ่งเป็นบุตรของพระยาแก้วโกรพพิชัยรพพิชัย พระยาแก้วโกรพพิชัยท่านนี้คือท่านฮูเซน บุตรสุลต่านสุลัยมานชาห์และเป็นพี่ชายของท่านฮะซัน <ref>ดูประวัติศาสตร์สายสกุลสุลต่านสุลัยมาน หน้า 122</ref> ก็ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระยาราชวังสัน <ref>ประวัติศาสตร์สายสกุลสุลต่านสุลัยมาน หน้า 169</ref> และต่อมาเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระยาราชวังสัน(ตะตา)เป็น พระยาแก้วโกรพพิชัยแทนบิดา ก็โปรดแต่งตั้งให้น้องชายของท่านตะตาเป็นพระยาราชวังสันแทน ตำแหน่งพระยาราชวังสันได้รับการสืบทอดในสายสกุลสุลต่านสุลัยมานจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา
 
ต่อมาในสมัย[[กรุงธนบุรี]] ไม่มีปรากฏว่ามีตำแหน่งพระยาราชวังสัน แต่หากมีการใช้ทัพเรือเป็นทัพหลวงเมื่อใดสมเด็จ[[พระเจ้าตากสินมหาราช]]โปรดแต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรี(หมุด)เป็นแม่ทัพเรือทุกครั้งจนกระทั่งเจ้าพระยาจักรี(หมุด)ถึงอสัญกรรม
บรรทัด 43:
เมื่อสิ้นกรุงธนบุรี จึงเริ่มปรากฏตำแหน่งพระยาราชวังสันอีกครั้ง โดยในช่วง[[รัตนโกสินทร์]]ตอนต้นมี[[พระยาราชวังสัน(หวัง)]] และต่อมา พระยาราชวังสัน(แม้น) [[พระยาราชวังสัน(ฉิม)]] [[พระยาราชวังสัน(นก)]]และ[[พระยาราชวังสัน(บัว)]]ซึ่งเป็นพระยาราชวังสันท่านสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งจางวางอาสาจาม ซึ่งทุกท่านล้วนแล้วแต่สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุลัยมานชาห์ทั้งสิ้น
 
บรรดาโอรสของ สุลต่าน สุลัยมาน ชาห์ คือ มุสตอฟา ฮะซัน และฮุเซน ถูกจับขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพวกเขาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจนได้รับ[[ศักดินา]]สูงส่ง มุสตอฟา ได้เป็น"พระยาไชยา" ฮะซันได้เป็น"พระยาราชวังสัน" และฮุเซนได้เป็น"พระยาพัทลุง"คนที่ 3
 
[[พระราชพงศาวดารเมืองพัทลุง]]กล่าวถึงประวัติสุลต่านสุลัยมานไว้ว่า