ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อเล็กซานเดอร์มหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8688698 สร้างโดย 182.53.132.197 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
| religion = กรีกเทวนิยม }}
 
'''อเล็กซานดรอส 3 แห่งมาเกโดนีอา''' ({{lang-el|Αλέξανδρος Γʹ ὁ Μακεδών}}) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า '''อเล็กซานเดอร์มหาราช''' ({{lang-en|Alexander the Great}}) เป็นจอมกษัตริย์กรีกโบราณแห่ง[[ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา]] เป็นสมาชิกของ[[ราชวงศ์อาร์กีด]] เกินในเมืองเพลลาในปี 356 ก่อนคริสตกาลและขึ้นสืบบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาขณะมีวัยเพียง 20 ปี อเล็กซานเดอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยของเขาไปกับการสู้รบอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในทวีปเอเชียและแอฟริกาตอนเหนือ และก่อนมีพระชนม์ครบสามสิบปี พระองค์ก็ได้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุค[[สมัยโบราณ|โบราณ]] แผ่ไพศาลตั้งแต่[[กรีซ]]ไปจนถึงทางตะวันตกของ[[อินเดีย]] พระองค์ไม่เคยปราชัยในศึกใดมาก่อนและได้รับการยอมรับนับถือเป็นหนึ่งในแม่ทัพผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์โลก
 
ในช่วงวัยเด็ก อเล็กซานเดอร์ได้รับการประสาทวิชาโดย[[แอริสตอเติล]]ถึงอายุ 16 ปี เมื่อพระเจ้าพีลิปโปสผู้บิดาทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินส่วนใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา เมื่อพีลิปโปสถูกปลงพระชนม์ในปี 336 ก่อนคริสตกาล เจ้าชายหนุ่มก็ขึ้นครองอาณาจักรอันแข็งแกร่งและบัญชากองทัพที่ชาญสมรภูมิ อเล็กซานเดอร์ได้ตำแหน่งจอมทัพแห่งกรีซและใช้อำนาจนี้ดำเนินตามแผนการพิชิตเปอร์เซียของพระบิดา ในปี 334 ก่อนคริสตกาล ทรงรุกราน[[จักรวรรดิอะคีเมนิด|จักรวรรดิเปอร์เซียของราชวงศ์อะคีเมนิด]] และเริ่มดำเนินปฏิบัติการต่อเนื่องซึ่งกินเวลากว่าสิบปี เมื่ออเล็กซานเดอร์พิชิต[[อานาโตเลีย]] ก็ทรงได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในยุทธการหลายครั้ง ทรงนำทัพข้าม[[ซีเรีย]], [[อียิปต์]], [[เมโสโปเตเมีย]], [[อิหร่าน|เปอร์เซีย]] และ[[แบคเทรีย]] ศึกที่โด่งดังที่สุดคือ[[ยุทธการที่อิสซัส]]และ[[ยุทธการที่กอกามีลา]] ในที่สุดพระองค์สามารถโค่นล้มกษัตริย์เปอร์เซีย [[พระเจ้าดาไรอัสที่ 3]] และพิชิตทั้งจักรวรรดิเปอร์เซียได้ ทำให้ ณ จุดนี้ อาณาเขตของพระองค์แผ่ตั้งแต่[[ทะเลเอเดรียติก]]ไปจนถึง[[แม่น้ำบีอาส]]
 
เมื่อพิชิตเปอร์เซียได้ ความทะเยอทะยานของกษัตริย์หนุ่มอเล็กซานเดอร์ก็ไม่ได้สิ้นสุดลง พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดียในปี 326 ก่อนคริสตกาล และได้รับชัยชนะเหนือพระเจ้ากรุง[[เปารพ]]ใน[[ยุทธการที่แม่น้ำเฌลัม]] แต่สุดท้ายพระองค์ก็จำยอมต้องยกทัพกลับตามคำขอของเหล่าทหารที่ต้องการกลับบ้านเกิดเมืองนอน การสูญเสียสหายรักอย่าง[[เฮฟีสเทียน]]ทำให้กษัตริย์หนุ่มจมสู่ความซึมเศร้าและสุขภาพทรุดโทรมจนล้มป่วย อเล็กซานเดอร์สวรรคตที่กรุง[[บาบิโลน]]ในปี 323 ก่อนคริสตกาล แปดเดือนให้หลังเฮฟีสเทียนเสียชีวิต