ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิธีโลกี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alifshinobi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Alifshinobi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''วิธีโลกี''' (โลกี มาจาก ''loci'' ใน[[ภาษาละติน]] แปลว่า "สถานที่ต่าง ๆ") หรือ '''การเดินทางผ่านความจำ''' หรือ '''ปราสาทแห่งความจำ''' เป็นกลวิธี[[ช่วยจำ]]แบบหนึ่งที่เพิ่มความจำโดยอาศัย[[มโนภาพ|การสร้างมโนภาพ]]ของสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ที่คุ้นเคยในการเพิ่มขีดความสามารถในการระลึกข้อมูล วิธีนี้มีการใช้ในศาสตรนิพนธ์เชิงวาทศิลป์[[กรีซโบราณ|กรีก]]และ[[โรมันโบราณ]] (ใน ''[[เรโตริกาอัดเฮเรนนิอุม]]'' ของผู้เขียนนิรนาม ''[[เดโอราโตเร]]'' ของ[[กิแกโร]] และ ''[[อินสติตูตีโอโอราโตเรีย]]'' ของ[[กวินตีเลียน]]) ผู้ชนะเลิศ[[การแข่งขันความจำ]]หลายคนได้อ้างใช้วิธีโลกีเพื่อระลึกหน้าตาคน ตัวเลข และรายการศัพท์
 
คำว่า "วิธีโลกี" สามารถพบได้ในงานวิจัยชำนัญพิเศษทางด้าน[[จิตวิทยา]] [[ประสาทชีววิทยา]] และ[[ความจำ]] แต่คำนี้ก็มีการใช้ทั่วไปอย่างน้อยเริ่มตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 ในผลงานทางด้าน[[วาทศิลป์]] [[ตรรกศาสตร์]] และ[[ปรัชญา]]<ref>เช่น ในการอภิปรายเรื่อง "ความจำเฉพาะที่" เจมิซันกล่าวว่า "ประโยคหรือบทร้อยกรองช่วยระลึกมีประโยชน์มากกว่าวิธีโลกี" [[อเล็กแซนเดอร์ เจมิซัน]], ''A Grammar of Logic and Intellectual Philosophy'', A. H. Maltby, 1835, p112</ref> [[จอห์น โอคีฟ (นักประสาทชีววิทยา)|จอห์น โอคีฟ]]กับ[[ลินน์ เนเดิล]]เขียนว่า<blockquote>'วิธีโลกี' เป็นกลวิธีที่อาศัยจินตนาการที่รู้จักโดยชาวกรีกและโรมันโบราณ [[แฟรนซิส เยตส์|เยตส์]] (ค.ศ. 1966) อธิบายวิธีนี้ในหนังสือของตนชื่อ ''[[ศิลปะแห่งความจำ]]'' และส่วน[[อเล็กแซนเดอร์ ลูเรีย|ลูเรีย]] (ค.ศ. 1969) ก็ได้อธิบายวิธีนี้เช่นกัน ผู้ใช้กลวิธีนี้จะจำแผนผังของตึกหรือสิ่งปลูกสร้างแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือร้านค้าตามท้องถนนต่าง ๆ หรือสถานที่ใดก็ได้ที่มีโลกัส (สถานที่) ที่ต่างกันหลายที่ เมื่อต้องการระลึกสิ่งของกลุ่มหนึ่ง ผู้ใช้กลวิธีนี้จะ 'เดิน' ผ่านโลกัสเหล่านี้ในจินตนาการของตนเองและนำสิ่งของทีละชิ้นไปไว้ในแต่ละโลกัสเหล่านั้นในใจ โดยต้องสร้างมโนภาพเพื่อเชื่อมโยงสิ่งของชิ้นหนึ่งกับลักษณะเด่นใดก็ได้ของโลกัสแห่งนั้น หลังจากนั้น การระลึกสิ่งของชิ้นนั้นต้องอาศัย 'การเดิน' ผ่านโลกัสต่าง ๆ เพื่อให้โลกัสใดโลกัสหนึ่งช่วยปลุกฤทธิ์มโนภาพสิ่งของที่ต้องระลึก ประสิทธิพลังของกลวิธีนี้ มีหลักฐานสนับสนุนอย่างหนักแน่น (รอสส์และลอว์เรนส์ ค.ศ. 1968, โคอวิตส์ ค.ศ. 1969, 1971, บริกก์ส ฮอว์คินส์ และโครวิตส์ ค.ศ. 1970, ลี ค.ศ. 1975) และข้อบกพร่องอันน้อยนิดในการใช้วิธีนี้ก็มีหลักฐานสนับสนุนเป็นอย่างดีเช่นกัน<ref name="cognitivemap">{{cite book| last1 = O'Keefe| first1 =John |last2 = Nadel |first2 =Lynn| authorlink2 = Lynn Nadel | title =The Hippocampus as a Cognitive Map'| publisher = [[Oxford University Press]]| date = December 7, 1978| location = Oxford|url =http://www.cognitivemap.net | isbn = 978-0198572060}}</ref></blockquote>
 
== วิธี ==