ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 76:
หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย]]ในพ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพิมายจึงยกให้กรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็น"เจ้าพิมาย" เกิด[[ชุมนุมเจ้าพิมาย]]ขึ้น เจ้าพิมายกรมหมื่นเทพพิพิธทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองพิมายเดิมเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระพิมาย) ยกทัพเข้าลอบสังหารพระยานครราชสีมา (หลวงแพ่ง) ชุมนุมเจ้าพิมายมีเขตอำนาจตั้งแต่สระบุรี<ref name=":3" />ขึ้นไปจรดเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง เป็นหนึ่งในชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาโดยมีกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจ้าพิมายป็นผู้นำ ในพ.ศ. 2311 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกแล้ว มองย่าปลัดทัพฝ่ายพม่าหลบหนีมาเข้าพวกกับชุมนุมพิมาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพติดตามขึ้นมาตีชุมนุมเจ้าพิมาย เจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ตั้งรับอยู่ที่ด่านจอหอ (ตำบลจอหอ อำเภอเมือง) และให้พระยาวรวงษาธิราชบุตรชายของเจ้าพระศรีสุริยวงษ์ตั้งทัพอยู่ที่[[อำเภอด่านขุนทด|ด่านขุนทด]]<ref name=":3" /> ทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพเข้ายึดค่ายของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (เจ้าพิมาย) ที่จอหอได้สำเร็จ เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ถูกจับกุมและประหารชีวิต พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) ต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] และพระมหามนตรี (บุญมา) ต่อมาคือ[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] เข้ายึดค่ายของพระยาวรวงษาธิราชที่ด่านขุนทดได้สำเร็จ เมื่อทัพทั้งสองพ่ายแพ้แก่ธนบุรีเจ้าพิมายจึงหลบหนีจากเมืองพิมายไปยังลาวล้านช้างแต่ขุนชนะจับเจ้าพิมายมาถวายแด่พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีฯทรงสำเร็จโทษเจ้าพิมายและแต่งตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยากำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมา<ref name=":3" /> ชุมนุมเจ้าพิมายจึงสิ้นสุดลงและนครราชสีมาจึงเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของธนบุรี
 
ในสมัยธนบุรีปรากฏมีนามเจ้าเมืองนครราชสีมาได้แก่ พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) และ[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)|"เจ้าพระยานครราชสีมา"]]<ref>https://pantip.com/topic/37872872</ref> [[เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา)|(ปิ่น)]] เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]]ทรงยกทัพไป[[อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์]]ปีพ.ศ. 2321 นั้น เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้เป็นทัพหน้า ในพ.ศ. 2323 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) ย้ายไปรับราชการที่ธนบุรีและแต่งตั้งให้หลวงนายฤทธิ์ (ทองอิน) เป็นพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์|เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์]]) และพระอภัยสุริยา (บุญเมือง) เป็นปลัดเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์|เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์]]) ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีฯเมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระยาสุริยอภัยเจ้าเมืองนครราชสีมาได้นำกำลังทหารของนครราชสีมาเข้าควบคุมสถานการณ์ที่กรุงธนบุรีไว้ก่อนที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]]และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน
 
=== สมัยรัตนโกสินทร์ ===
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ทรงแต่งตั้งให้[[พระยานครราชสีมา (เที่ยง ณ ราชสีมา)|พระยานครราชสีมา (เที่ยง)]] บุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา เมื่อสยามมีอำนาจเหนือหัวเมืองประเทศราชลาวล้านช้างทำให้เมืองนครราชสีมามีความสำคัญในฐานะเป็นช่องทางและสื่อกลางระหว่างส่วนกลางที่กรุงเทพฯและประเทศราชลาว เมืองนครราชสีมาจึงถูกยกฐานะขึ้นมาเป็นเมืองชั้นเอก กำกับตรวจตราเจ้าเมืองนครราชสีมามีอำนาจในการสอดส่องดูแลประเทศราช ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม จำปาศักดิ์ ให้รวมทั้งปกครองหัวเมืองเขมรป่าดง ในสมัย[[รัชกาลที่ 2]] พ.ศ. 2362 เกิด[[กบฏอ้ายสาเกียดโง้ง]]ที่[[อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์]] มีรับสั่งให้พระยานครราชสีมา (เที่ยง) เป็นนำกองทัพไปปราบ ผู้สำเร็จราชการดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครราชสีมาต่อจากพระยานครราชสีมา และในรัชสมัยนี้(เที่ยง) ชาวเมืองคือ[[เจ้าพระยานครราชสีมาได้น้อมเกล้าถวายช้างเผือก 2(ทองอิน)]] เชือกเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)
 
ในสมัย[[รัชกาลที่ 2]] เกิดกบฏ อ้ายสาเกียดโง้ง ที่จำปาศักดิ์ มีรับสั่งให้[[พระยานครราชสีมา (เที่ยง)]] นำกองทัพไปปราบ แต่ [[เจ้าอนุวงศ์]] เจ้าประเทศราช[[เวียงจันทน์]]ส่งเจ้าราชวงศ์ไปปราบกบฏได้เสร็จสิ้นก่อน และเจ้าราชวงศ์ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ต่อมา ต่อมา[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)|ทองอิน]] เชื้อสายของพระเจ้าตาก และบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการต่อจากพระยานครราชสีมา (เที่ยง)
ในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] [[เจ้าอนุวงศ์]] ฉวยโอกาสที่[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)]] นำกองทหารไปราชการต่างเมือง ยกทัพลาวมายึดครองเมืองนครราชสีมา และส่งกองทหารไปกวาดต้อนครอบครัวลาวถึงเขตเมืองสระบุรีก่อนที่จะถอยทัพเมื่อกองทัพสยามจากพระนครเริ่มรวมพลได้ทัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 ก่อนกองทัพลาวจะถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมา ไปยังทางเหนือเพื่อสมทบกับกองทัพของเจ้าสุทธิสาร โดยก่อนไป ได้ถอนเสาหลักเมืองออกเพื่อให้เป็นเมืองร้าง และเจ้าอนุวงศ์ได้สั่งการให้ทหารกองหลังรื้อกำแพงเมืองออก เผาประตูเมือง และสถานที่สำคัญๆในเมืองให้หมดสิ้น ให้ตัดต้นไม้ที่ให้ผลให้เหลือแต่ตอ ด้วยที่จะได้กลับมายึดเมืองนครราชสีมาได้สะดวกในภายหลัง ทำให้ต้นไม้ผลถูกตัดหมดสิ้น กำแพงเมืองจากมุมทิศอิสานและกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกถูกรื้อออกหมด กำแพงเมืองทางทิศใต้ถูกรื้อมาถึงด้านหลังวัดสระแก้ว ส่วนกำแพงเมืองจากมุมทิศอิสานและกำแพงเมืองทางทิศเหนือถูกรื้อ กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกถูกรื้อออก 1 ส่วนเหลือ 2 ส่วน ประตูเมืองถูกเผาบางส่วน 3 ประตูคือ ประตูเมืองทางทิศตะวันเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ชาวเมืองนครราชสีมาผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่ได้ถูกกวาดต้อน ได้รับข่าวว่ากองทัพจากพระนครที่ส่งกำลังมาช่วยเหลือ กำลังจะเดินทัพมามาถึงทุ่งโพธิ์เตี้ยห่างจากเมืองนครราชสีมา 10 กม. ในอีกไม่นาน ทำให้กำลังทหารลาวกองหลังของเจ้าอนุวงศ์ที่กำลังทำรื้อกำแพง และเผาทำลายเมืองนครราชสีมาอยู่นั้น เกิดความหวาดกลัวและถอยทัพออกไป ทำให้เมืองนครราชสีมาถูกเผาทำลายลงไปเพียงบางส่วน ส่วนชาวเมืองนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปนั้น ได้รวมตัวกันต่อต้านกองทัพลาวของ[[เจ้าอนุวงศ์]] โดยมีพระยาปลัดนครราชสีมา พระยายกกระบัตร และ พระณรงค์สงคราม (มี) เป็นผู้นำในการรบ ณ ทุ่งสัมฤทธิ และผู้นำในการสนับสนุนช่วยเหลือการรบ คือ คุณหญิงโม ภริยาปลัดเมืองนครราชสีมา และนางสาวบุญเหลือ บุตรบุญธรรมคุณหญิงโม ต่อมากองทัพชาวนครราชสีมาได้ร่วมกับกองทัพหลวงของกรมพระราชวังบวรฯ ในการรบครั้งต่อๆมาจนกระทั่งเข้ายึดเมือง[[เวียงจันทน์]]ได้ในที่สุด ภายหลัง คุณหญิงโมได้รับการแต่งตั้งเป็น[[ท้าวสุรนารี]] และ พระณรงค์สงครามได้เลื่อนตำแหน่งเป็น[[พระยาณรงค์สงคราม]]