ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
ในอดีตกล่าวกันว่าพระองค์เป็นสตรีชาวไทยที่ทรงพระสิริโฉมสามารถเลือกฉลองพระองค์ยุโรปมาสวมใส่ได้อย่างเหมาะสม<ref name= "รำไพ">ระพี สาคริก. ''วัดบวรนิเวศวิหารและมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ณ เมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ ๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๘'', หน้า 8</ref> ทั้งยังมีพระจริยวัตรนุ่มนวล พระพักตร์แจ่มใส แย้มพระสรวลอยู่เนืองนิตย์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ประสบกับโลกธรรมและความสูญเสียอันใหญ่ยิ่งมาแล้ว<ref name="รำไพ"/>
 
พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระบรมราชินีในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังหัวเมือง รวมทั้งต่างประเทศเพื่อเป็นการเชื่อมพระราชไมตรีระหว่างประเทศ ภายหลังการนิวัติประเทศไทยหลังการสวรรคตของพระราชสวามีแล้ว พระองค์ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]หลายหลายครั้ง เมื่อเสด็จย้ายไปประทับ ณ จังหวัดจันทบุรี ทรงดำเนินกิจการในด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และทรงพัฒนาการทอเสื่อ เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างและนำความรู้นั้นออกเผยแพร่แก่ประชาชน นอกจากนี้ พระองค์ยังมีส่วนในการพัฒนาการสาธารณสุขและการศึกษาของชาวจันทบุรี โดยรับเป็นพระราชภาระในการปรับปรุงโรงพยาบาลพระปกเกล้า รวมทั้งทรงตั้งมูลนิธิพระปกเกล้าเพื่อสนับสนุนกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาลพระปกเกล้า วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
 
พระองค์ทรงเริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคความดันพระโลหิตสูง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 และวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เวลา 15.50 นาฬิกา พระองค์เสด็จเสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนัก[[วังศุโขทัย]] รวมพระชนมายุชนมพรรษาได้ 79 พรรษา 5 เดือน 2 วัน
 
== พระราชประวัติ ==
บรรทัด 114:
=== สวรรคต ===
[[ไฟล์:พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี.jpg|thumb|150px|[[พระเมรุมาศ]] สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]]
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงเริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคความดันพระโลหิตสูง ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2518]] ในขณะที่มีพระชนมายุชนมพรรษาได้ 71 พรรษา<ref>[https://wangsuanbankaew.com/ ทรงพระประชวร] จาก เว็บไซต์วังสวนบ้านแก้วดอตคอม</ref> และวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เวลา 15.50 นาฬิกา พระองค์เสด็จเสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย<ref>สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ.. ''พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:อมรินทร์การพิมพ์. 2528, หน้า 113</ref> รวมพระชนมายุชนมพรรษาได้ 79 พรรษา 5 เดือน 2 วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระบรมศพถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณี โดยอัญเชิญพระบรมศพถวาย[[พระลองทองใหญ่]]ประกอบพระ[[โกศ]] ประดิษฐานเหนือพระแท่นสุวรรณเบญจดลจำหลักลายประดับรัตนชาติภายใต้[[สัปตปฎลเศวตฉัตร]] (ฉัตร 7 ชั้น) ณ [[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] ภายใน[[พระบรมมหาราชวัง]] พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวาย มีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสวรรคตเป็นต้นไป<ref>[http://www.suanbankaewpalace.com/php/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=23 วันแห่งความโศกสลดอันใหญ่หลวง]จาก เว็บไซต์วังสวนบ้านแก้วดอตคอม</ref> นอกจากนี้ [[สำนักนายกรัฐมนตรี]]ได้ประกาศให้สถานที่ราชการต่าง ๆ [[ลดธงครึ่งเสา]]เป็นเวลา 3 วัน และให้ข้าราชการไว้ทุกข์เป็นเวลา 15 วันด้วย<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/067/3.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้สถานที่ราชการลดธงครึ่งเสา เนื่องในการที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ สวรรคต], เล่ม ๑๐๑, ตอน ๖๗ ง ฉบับพิเศษ, ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗, หน้า ๓</ref>
 
สำหรับพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพออกแบบโดยนายประเวศ ลิมปรังษี โดยใช้พระเมรุมาศองค์กลางของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางในการออกแบบ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสถึงแนวทางการออกแบบว่า “ขอให้ดำเนินการโดยประหยัด แต่ให้ครบถ้วนตามขัตติย ราชประเพณี และสมพระเกียรติยศพระบรมศพ อีกประการหนึ่งฐานพระเมรุมาศไม่ควรสูงนักจะเป็นการลำบาก แก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่จะขึ้นถวายพระเพลิงพระบรมศพซึ่งทรงเจริญพระชนมายุมากพระพรรษาด้วยกันหลายพระองค์”<ref>[http://www.kingsiam.com/DetailsPage.aspx?ID=80835 พระราชดำรัส เรื่อง พระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน รัชกาลที่๗ ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘], จาก KingSiam.com, วันที่ 8 มีนาคม 2556</ref>