ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ธนบุรี
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 74:
 
=== สมัยกรุงธนบุรี ===
หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย]]ในพ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพิมายจึงยกให้กรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็น"เจ้าพิมาย" เจ้าพิมายกรมหมื่นเทพพิพิธทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองพิมายเดิมเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระพิมาย) ยกทัพเข้าลอบสังหารพระยานครราชสีมา (หลวงแพ่ง) ชุมนุมเจ้าพิมายมีเขตอำนาจตั้งแต่สระบุรี<ref name=":3" />ขึ้นไปจรดเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง เป็นหนึ่งในชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาโดยมีกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจ้าพิมายป็นผู้นำ ในพ.ศ. 2311 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกแล้ว มองย่าปลัดทัพฝ่ายพม่าหลบหนีมาเข้าพวกกับชุมนุมพิมาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพติดตามขึ้นมาตีชุมนุมเจ้าพิมาย เจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ตั้งรับอยู่ที่ด่านจอหอ (ตำบลจอหอ อำเภอเมือง) และให้พระยาวรวงษาธิราชบุตรชายของเจ้าพระศรีสุริยวงษ์ตั้งทัพอยู่ที่[[อำเภอด่านขุนทด|ด่านขุนทด]]<ref name=":3" /> ทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพเข้ายึดค่ายของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (เจ้าพิมาย) ที่จอหอได้สำเร็จ เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ถูกจับกุมและประหารชีวิต พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) ต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] และพระมหามนตรี (บุญมา) ต่อมาคือ[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] เข้ายึดค่ายของพระยาวรวงษาธิราชที่ด่านขุนทดได้สำเร็จ เมื่อทัพทั้งสองพ่ายแพ้แก่ธนบุรีเจ้าพิมายจึงหลบหนีจากเมืองพิมายไปยังลาวล้านช้างแต่ขุนชนะจับเจ้าพิมายมาถวายแด่พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีธนบุรีฯทรงสำเร็จโทษเจ้าพิมายและแต่งตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยากำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมา<ref name=":3" /> ชุมนุมเจ้าพิมายจึงสิ้นสุดลงและนครราชสีมาจึงเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของธนบุรี
 
ในสมัยธนบุรีปรากฎมีนามเจ้าเมืองนครราชสีมาได้แก่ พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) และ"เจ้าพระยานครราชสีมา"<ref>https://pantip.com/topic/37872872</ref> ในพ.ศ. 2323 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) ย้ายไปรับราชการที่ธนบุรีและแต่งตั้งให้หลวงนายฤทธิ์ (ทองอิน) เป็นพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์|เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์]]) และพระอภัยสุริยา (บุญเมือง) เป็นปลัดเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์|เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์]]) ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีฯเมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระยาสุริยอภัยเจ้าเมืองนครราชสีมาได้นำกำลังทหารของนครราชสีมาเข้าควบคุมสถานการณ์ที่กรุงธนบุรีไว้ก่อนที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]]และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน
หลังจากนั้นเมืองนครราชสีมาได้เป็นฐานกำลังทางทหารและการปกครองที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกใช้เป็นฐานรวบรวมกำลังของ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก|พระยาอภัยรณฤทธิ์]] และ [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยาอนุชิตราชา]] ในการสงครามกับล้านช้างและกัมพูชา ในคราวสงครามตีเมืองเวียงจันทน์และได้พระแก้วมรกต หลวงยกกระบัตรเมืองพิมายอยู่ในทัพหน้า มีความดีความชอบจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น พระยานครราชสีมา และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ในที่สุด ต่อมาพระยากำแหงสงคราม (บุญคง) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา
ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าตาก เมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น [[สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข|พระสุริยอภัย]] กรรมการเมืองนครราชสีมา ได้นำกำลังทหารชาวนครราชสีมากลับเข้าควบคุมสถานการณ์ในกรุงธนบุรีไว้ได้ก่อนที่ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]] และ [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]] จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน ในครั้งนั้น [[พระยากำแหงสงคราม (บุญคง)]] เจ้าเมืองนครราชสีมา ที่นำทัพไปกัมพูชาพร้อมกับ [[สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์|เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์]] ถูกประหารชีวิตไปพร้อมกับเชื้อพระวงศ์ และขุนนางเดิมของพระเจ้าตาก จำนวนหนึ่ง และได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพระยานครราชสีมา (เที่ยง) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)
 
=== สมัยรัตนโกสินทร์ ===