ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าจักรพรรดิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PanutTH (คุย | ส่วนร่วม)
PanutTH (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
'''พระเจ้าจักรพรรดิ''' ({{lang-pi|จกฺกวตฺติ}}) คือ[[จักรพรรดิ]]ผู้ปกครองทวีปทั้ง 4 ในความเชื่อของ[[พระพุทธศาสนา]] เป็นผู้รักษา[[ศีล]] เป็น[[ธรรมราชา]] ปกครองบ้านเมืองด้วย[[ทศพิธราชธรรม|ธรรม]] มีพระโอรสนับพัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรารถนา[[สงคราม]] ไม่ประสงค์เครื่อง[[บรรณาการ]] พระเจ้าจักรพรรดิมีแต่ผู้เคารพนับถือ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้าจักรพรรดิมี[[มหาปุริสลักษณะ|ลักษณะของมหาบุรุษ]]เช่นเดียวกับ ซึ่งผู้ที่มีลักษณะดังกล่าวมีเพียง[[พระพุทธเจ้า]] แต่ทรงเลือกปกครองแผ่นดินและพระเจ้าจักรพรรดิ เท่านั้น
 
ยามใดที่มี[[พระพุทธศาสนา]] พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงบำรุงอุปัฎฐาก[[พระพุทธเจ้า]] พระอรหันตสาวก ช่วยเผยแพร่พระธรรม แต่ยามใดที่ไม่มีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงรวบรวมผืนแผ่นดิน ผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ทรงปกครองโดยธรรม สั่งสอนประชาชนทั้งมวล พระเจ้าจักรพรรดิทรงขยันในการสร้างบารมีมาก ถึงแม้จะเป็นพระมหาจักรพรรดิก็ยังทรงสร้างพระบารมีไม่หยุดหย่อน
บรรทัด 9:
# พระเจ้าจักรพรรดิมีอาพาธน้อย และเจ็บป่วยได้ยากกว่าคนทั่วไป
# พระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่รักของพราหมณ์และคฤหบดีเหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจของบุตร พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิเหมือนบุตรเป็นที่รักใคร่พอใจของบิดา
 
== คุณธรรมของพระราชาผู้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ==
พระราชาก่อนที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จะต้องเป็นผู้ประพฤติจักกวัตติวัตรอันประเสริฐมาก่อน จักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้แก่
 
# อาศัยธรรมะ สักการะธรรมะ เคารพธรรมะ นับถือธรรมะ บูชาธรรมะ ยำเกรงธรรมะ มีธรรมะเป็นธงชัย มีธรรมะเป็นใหญ่
# รักษาคุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรมะในชนภาย ในกองพล ในกษัตริย์ ในชาวเมือง ชาวชนบท สมณะ พราหมณ์ และในเหล่าสัตว์
# การอธรรมไม่ให้มีในแว่นแคว้น เช่น ไม่ให้มีสิ่งผิดศีลธรรมเกิดขึ้น
# ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
# เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้งดเว้นจากความประมาท มีความอดทน มีความสงบ ฝึกตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสอยู่ผู้เดียว แล้วถามว่า “ท่านขอรับ...กุศลคืออะไร อกุศลคืออะไร กรรมใดไม่มีโทษ กรรมใดมีโทษ กรรมใดควรเสพ กรรมใดไม่ควรเสพ กรรมใดทำแล้วเป็นประโยชน์ กรรมใดทำแล้วไม่เป็นประโยชน์” ครั้นเมื่อฟังคำของสมณะพราหมณ์นั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลก็เว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลก็ถือมั่นประพฤติปฏิบัติ
 
== แก้ว 7 ประการ ==