ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สมัยอยุธยา
บรรทัด 59:
สันนิษฐานว่า[[ปราสาทหินพิมาย]]ถูกสร้างขึ้นในสมัยของ[[พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1]]<ref>ธิดา สาระยา. '''เมืองพิมาย'''. กรุงเทพ; สำนักพิมพืเมืองโบราณ, พ.ศ. 2535.</ref> เนื่องจากรูปแบบศิลปะของซุ้มและมุขหน้าปราสาทประธานเป็นศิลปะแบบบาปวนซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นอกจากปราสาทหินพิมายยังมี[[ปราสาทหินพนมวัน]]ที่ตำบลบ้านโพธิ์ซึ่งสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน พบจารึกที่ปราสาทพิมายทั้งหมดหกหลัก กล่าวถึงการบูชาและถวายของแด่พระพุทธเจ้า การกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 และการสร้างรูปเคารพรวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ จารึกปราสาทหินพิมาย 2 พ.ศ. 1579 กล่าวถึงพระนาม“ศรีสูรยวรมะ” ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา[[วัชรยาน]]<ref>https://e-shann.com/54486/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4/</ref> ทับหลังของปราสาทประธานสลักเป็นรูปของ[[พระธยานิพุทธะ|พระชินพุทธะ]]และพบสัญลักษณ์และรูปเคารพของวัชรยานอื่นๆ เมืองพิมายหรือ "วิมายปุระ" เป็นฐานที่มั่นของ[[ราชวงศ์มหิธรปุระ]]ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 6]] และต่อมาได้ครองจักรวรรดิเขมร จารึกปราสาทหินพิมาย 3 พ.ศ. 1651 ซึ่งตรงกับสมัย[[พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1]] กล่าวว่า “...กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเมืองโฉกวะกุลสถาปนากมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีแห่งกมรเตงชคตวิมายะ" ในยุคนี้มีการสร้างปราสาทพิมายเพิ่มเติมในศิลปะยุคนครวัดซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของ[[พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2]] ปราสาทหินพิมายจึงเป็นการรวมกันของศิลปะยุคบาปวนและศิลปะยุคนครวัด
 
เมื่อราชวงศ์มหิธรปุระได้ขึ้นครองจักรวรรดิเขมรเมืองวิมายประทวีความสำคัญขึ้นในฐานะศูนย์กลางการปกครองของขอมโบราณในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาวัชรยาน ในสมัยของ[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] บูรณะปราสาทพิมายเนื่องจากเป็นเมืองเกิดของพระมารดา จากที่ปรากฎใน[[จารึกปราสาทพระขรรค์]]พ.ศ. 1734 ที่[[นครธม]]ซึ่งกล่าวถึงเส้นทางการคมนาคมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กล่าวว่า“จากเมืองหลวงไปยังเมืองวิมาย (มี) ที่พักพร้อมด้วยไฟ 17 แห่ง” แสดงให้เห็นว่าเมืองวิมายเป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่สำคัญ พบรูปประติมากรรมเหมือน<ref>https://www.posttoday.com/world/609003</ref>ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ปราสาทพิมาย ต่อมาเมื่อจักรวรรดิเขมรเสื่อมอำนาจลงและ[[อาณาจักรอยุธยา]]แผ่ขยายอำนาจเข้ามาเมืองพิมายจึงลดความสำคัญลง
 
=== สมัยอยุธยา ===
''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก เลขทะเบียน ๒๒๒ ๒/ก ๑๐๔'' กล่าวถึง[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2]] (เจ้าสามพระยา) “อยู่ปีหนึ่ง ท่านให้ก็ตกแต่งช้างม้ารี้พล ทั้งปวงจะยกไปเมืองพิมายพนมรุ้งไซร้ พอเจ้าเมืองทั้งหลายถวายบังคมพระบาทผู้เป็นเจ้าๆก็ให้พระราชทานรางวัลแล้วคืนไปอยู่ตามภูมิลำเนา”<ref name=":1">ศานติ ภักดีคำ. '''เขมรรบไทย'''. กรุงเทพ; สำนักพิมพ์มติชน, 2554.</ref> ซึ่งตรงกับศิลา[[จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ]]ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อพ.ศ. 1974 และพบที่[[อำเภอลำสนธิ]][[จังหวัดลพบุรี]] กล่าวถึงสมเด็จพระอินทราบรมจักรพรรดิธรรมิกราชโปรดฯให้[[ขุนศรีไชยราชมงคลเทพ]] "เอาจตุรงค์ช้างม้ารี้พลไปโจมจับพระนครพิมายพนมรุ้ง"<ref name=":1" /> แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและ[[ที่ราบสูงโคราช]]ด้านตะวันตกในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสามพระยาฯ
 
ในสมัยอยุธยาเมืองนครราชสีมาคือ "เมืองโคราฆะ" ริมแม่น้ำลำตะคองในตำบลโคราชอำเภอสูงเนินในปัจจุบันซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเมืองเสมา เมืองนครราชสีมามีความสำคัญในฐานะเป็นฐานการปกครองของอยุธยาในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและเป็นรอยต่ออาณาเขตของอยุธยากับ[[อาณาจักรล้านช้าง]]และ[[เขมรป่าดง]] ในรัชสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]จาก[[กฎมณเฑียรบาล]]เมืองนครราชสีมาเป็นหนึ่งในเมืองพระยามหานครแปดเมืองซึ่งเจ้าเมืองต้องถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ใน[[พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง]] ปรากฎราชทินนามของเจ้าเมืองนครราชสีมาว่า '''ออกญากำแหงสงครามรามภักดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ''' ศักดินา 10,000 ไร่ พงศาวดารเขมรระบุว่าในพ.ศ. 2118 เมื่อ[[สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)|สมเด็จพระบรมราชาที่ 3]] แห่ง[[อาณาจักรเขมรละแวก]]เข้าตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จจึงยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จกวาดต้อนผู้คนไปจำนวนมาก ในสมัย[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] กองทัพเมืองนครราชสีมาได้ถูกมอบหมายให้เป็นกำลังหลักในการโจมตีเมืองเสียมราฐ และภาคตะวันออกของทะเลสาบจนได้ชัยชนะเหนือ[[พระยาละแวก]] ในที่สุด สมเด็จพระนเรศวรทรงจัดการปกครองหัวเมืองขึ้นใหม่โดยเมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองชั้นโท
เนื่องจากตั้งอยู่เป็นบริเวณที่เป็นชายขอบระหว่างรัฐที่มีอำนาจ เป็น[[รัฐกันชน]] นครราชสีมาจึงมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งระหว่างรัฐอยู่เสมอ เช่น ระหว่างสยามกับกัมพูชา หรือ ระหว่างสยามกับล้านช้าง หรือ ในบางครั้งได้มีความพยายามที่จะตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใด เฉกเช่นเดียวกับบรรดาเมืองใหญ่อื่น ๆ
 
ในรัชสมัย[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2]] [[อาณาจักรอยุธยา]]สามารถเอาชนะ[[กัมพูชา]]ได้ รวมทั้งได้ทำการรวบรวมหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำมูลเข้ามาอยู่ในอำนาจ เมื่อ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] พ.ศ. 1991 - 2031 ได้สืบราชสมบัติต่อมา มีการจัดระดับเมืองพระยามหานคร 8 หัวเมือง คือ [[พิษณุโลก]] [[ศรีสัชนาลัย]] [[สุโขทัย]] [[กำแพงเพชร]] [[นครศรีธรรมราช]] [[นครราชสีมา]] [[ตะนาวศรี]] และ[[ทวาย]] ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เริ่มปรากฏชื่อเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองสำคัญในขอบขัณฑสีมา และได้ดำรงความสำคัญสืบต่อมาในประวัติศาสตร์อยุธยาและรัตนโกสินทร์
 
ตามระบบ[[บรรดาศักดิ์ไทย|ระบบบรรดาศักดิ์ขุนนางไทย]] เจ้าเมืองนครราชสีมานับเป็นขุนนางระดับสูงมีบรรดาศักดิ์เป็น ออกญากำแหงสงครามรามภักดีพิรียภาหะ มีศักดินา 10,000 ไร่
 
ในสมัย[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] กองทัพเมืองนครราชสีมาได้ถูกมอบหมายให้เป็นกำลังหลักในการโจมตีเมืองเสียมราฐ และภาคตะวันออกของทะเลสาบจนได้ชัยชนะเหนือ[[พระยาละแวก]] ในที่สุด
 
[[ไฟล์:Corazema-Map-1693.JPG|thumb|left|เมืองโคราชสีมาในแผนที่ของ ลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236|248.991x248.991px]]
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ทรงเห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และนครราชสีมามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาว (เข้าใจว่าเลยลำสะแทด ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของ[[แม่น้ำมูล]]เหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ใน[[นิราศหนองคาย]] สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย)ล้านช้าง จึงโปรดโปรดฯให้ย้ายเมืองนครราชสีมาจากเมืองโคราฆะเดิมและเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ที่ตั้งอำเภอเมืองในปัจจุบัน โดยมีการวางผังเมืองโดยเดอลามาร์ (De la Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส<ref name=":2">http://www.koratdaily.com/blog.php?id=8613</ref> เป็นตารางรูปสีเหลี่ยม ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ ตามแบบตะวันตกมีป้อมค่ายหอรบ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรวมชื่อเมืองโคราฆะและเมืองเสมา<ref>http://koratth.weebly.com/3611361936323623363336053636.html</ref>แล้วพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า "'''เมืองนครราชสีมา'''" เมื่อจุลศักราช 1036 (พุทธศักราช 2217) โปรดและทรงแต่งตั้งให้[[พระยายมราช (สังข์)]]เป็นเจ้าเมือง [[ซีมง เดอ ลา ลูแบร์]] บันทึกไว้ในคราวเดียวกันกับที่แต่งตั้ง[[จดหมายเหตุลาลูแบร์|''จดหมายเหตุลาลูแบร์'']]ว่า เจ้าพระยารามเดโช'''เมืองโคราชสีมา''' (Corazema) เป็นเจ้าหัวเมืองนครศรีธรรมราชใหญ่หนึ่งในเจ็ดมณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมืองได้แก่ เมืองนครจันทึก (อำเภอสีคิ้ว) เมือง[[จังหวัดชัยภูมิ|ชัยภูมิ]] เมืองพิมาย เมือง[[จังหวัดบุรีรัมย์|บุรีรัมย์]] และเมือง[[อำเภอนางรอง|นางรอง]]<ref name=":2" />
 
[[ซีมง เดอ ลา ลูแบร์]] ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานและบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ว่า '''เมืองโคราชสีมา''' (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่ 1 ใน 7 มณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมือง
 
ในแผ่นดิน [[สมเด็จพระเพทราชา]] พระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ได้แข็งเมือง เนื่องจากไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา ที่ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนราชวงศ์ จึงไม่ขอขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปราบปรามโดยล้อมเมืองอยู่ประมาณ 2 ปี โดยใช้อุบายและกลยุทธปราบลงได้ พระยายมราช เจ้าเมืองนครราชสีมาได้หนีไปพึ่ง เจ้าพระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชาเช่นกัน แต่ถูกกองทัพอยุธยาตามไปปราบปรามลงได้ นับแต่นั้นเมืองนครราชสีมาได้ถูกลดความสำคัญลงไม่เข้มแข็งดังแต่ก่อน