ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 193:
ปัจจุบันกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.4 เมตร ของประเทศไทย ให้บริการแก่นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศแต่ละปีไม่น้อยกว่า 215 คืน มีอายุการใช้งานมาแล้วเกือบ 4 ปี ส่งผลให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์บางอย่างหมดอายุจนไม่สามารถทำงานอย่างปกติ เช่น บอร์ดควบคุมมอเตอร์ บอร์ดควบคุมการสื่อสารแบบ CAN bus เป็นต้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น ใช้วิธีจัดซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นำไปทดแทนของเดิม เพื่อให้กล้องโทรทรรศน์สามารถใช้งานได้เป็นปกติ แต่เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างเฉพาะและมีความซับซ้อน บางอุปกรณ์หาซื้อได้ยากในปัจจุบันบางชิ้นส่วนได้ยกเลิกการผลิตไปแล้ว เป็นปัญหาและความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออายุการใช้งานกล้องโทรทรรศน์
 
ดังนั้น การพัฒนาและยกระดับระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ จึงมีความจำเป็นในการยืดอายุการใช้งานกล้องโทรทรรศน์ให้ใช้งานได้มากกว่า 30 ปี เช่นเดียวกับกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ทั่วโลก นอกจากนี้ยังทำให้กล้องโทรทรรศน์มีความทันสมัยยิ่งขึ้นทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ซอฟต์แวร์
 
นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับประเทศอังกฤษภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน Newton และสถาบันไทย-เยอรมัน มาร่วมกันศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ซอฟต์แวร์ของกล้องโทรทรรศน์
 
==== การพัฒนาระบบวัดค่าทัศนวิสัยท้องฟ้า ====
บรรทัด 237:
 
=== 4) ห้องปฏิบัติการ'''เคลือบกระจก''' ===
กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้ง ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติ เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระจก 2.4 เมตร ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผิวกระจกเคลือบด้วยฟิล์มบางอลูมิเนียมอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี สามารถบันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ในระยะไกลมากๆ และมีความสว่างน้อยได้ดี เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งฟิล์มบางอลูมิเนียมอะลูมิเนียมที่เคลือบอยู่บริเวณผิวกระจกจะค่อยๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้ประสิทธิภาพการสะท้อนแสงของกระจกลดลง ส่งผลให้ภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์มีคุณภาพลดลงไปด้วย จำเป็นต้องมีกระบวนการลอกฟิล์มอลูมิเนียมอะลูมิเนียมเก่าออกและทำการเคลือบใหม่ (Re-Aluminization) อย่างน้อยทุกๆ 2 ปี เพื่อให้คงประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงได้ดี
 
แต่เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีเครื่องเคลือบกระจกที่จะสามารถรองรับกระจกขนาดใหญ่ถึง 2.4 เมตร ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)  จึงร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์สำหรับหอดูดาวแห่งชาติขึ้น เพื่อผลิตเครื่องเคลือบกระจกขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีการเคลือบกระจกที่ทันสมัยใช้ระบบสูญญากาศที่ใช้เทคนิค Sputtering ในการเคลือบผิว สามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบาง ให้มีความเรียบสม่ำเสมอ มีความหนาระดับนาโนเมตร ถึงไมโครเมตร มีค่าความเรียบในระดับดีมาก สามารถนำไปประยุกต์ในการเคลือบโลหะอื่นๆ ในงานอุตสาหกรรมได้ มีคุณภาพดีทัดเทียมกับการนำเข้าจากต่างประเทศ และเป็นเครื่องเคลือบกระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจะใช้เคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์หอดูดาวแห่งชาติแล้ว ยังสามารถนำมาให้บริการเคลือบกระจกสะท้อนแสงของกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.4 เมตร ที่มีอยู่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วย
 
เครื่องเคลือบกระจกดังกล่าว สามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบางได้ในระดับนาโนเมตร-ไมโครเมตร โดยมีความเรียบสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสมบัติการสะท้อนแสงที่ดีตามหลักทัศนศาสตร์ (การสะท้อนแสงของฟิล์มบางอลูมิเนียมอะลูมิเนียมเท่ากับ 90 เปอร์เซนต์)
 
==== '''ลักษณะของเครื่องเคลือบกระจก''' ====
บรรทัด 257:
สดร. พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสำหรับใช้ในงานวิจัยฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จักรวาลวิทยา และสภาพอวกาศ เพื่อรองรับความต้องการของนักวิจัยในประเทศไทยโดยเฉพาะโครงการวิจัยขั้นสูงในปัจจุบันและอนาคตที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ กล้อง Gravitational-wave Optic Transient Observer (GOTO), Cherenkov Telescope Array (CTA), Jiangmen Underground Neutrino Observatory (JUNO), กล้องโทรทรรศน์ดาราศาสตร์วิทยุ,  Radio  Very  Long  Baseline Interferometry (VLBI) และ Square Kilometer Array (SKA)
 
ปัจจุบัน สดร. มีทรัพยากรเพื่อการคำนวณในงานวิจัยปี 2559 จำนวน 496 cores ประมวลผล (ขีดความสามารถ Rpeak รวมประมาณ 22 เทอระฟล็อปส์) หน่วยความจำหลัก 2 เทอระไบต์ ความเร็วระบบสื่อสารภายในคลัสเตอร์อยู่ที่ 56 กิกะจิกะบิตต่อวินาที มีหน่วยจัดเก็บข้อมูลระบบ Lustre filesystem ขนาดความจุประมาณ 90 เทอระไบต์ ซึ่งมีการใช้ในงานวิจัยภายในสถาบันฯ และรองรับการใช้งานของนักศึกษาทั้งระดับบัณฑิตศึกษาและปริญญาตรีที่ดำเนินงานวิจัยภายใต้ นักวิจัยของ สดร.  นอกจากนี้ สดร. ยังมีแผนที่จะเปิดให้นักวิจัยภายนอกและอาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถเข้าใช้ ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลสมรรถนะสูงของ สดร. เพื่อดำเนินงานวิจัยดาราศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานวิจัยด้าน Data science และ computational science อื่น ๆ เป็นต้น
<br />
== '''การเข้าร่วมโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลก''' ==