ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเอฟเอส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
อ้างอิง
บรรทัด 16:
ต่อมาประเทศไทยได้เปิดรับอุปถัมภ์นักเรียนจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเชิงวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้มีมติให้เอเอฟเอสประเทศไทยเปลี่ยนเป็น "องค์การนานาชาติ" (AFS International Organization) และมีการพัฒนาขยายโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยรวบรวมอาสาสมัครนานาชาติ ให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ละติน-อเมริกา ยุโรป และอีกหลายประเทศ ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ และเพื่อเป็นการย้ำว่าเอเอฟเอสเป็นองค์การที่เน้นด้านการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ทางองค์การจึงมีมติให้จากนั้นเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "AFS International Intercultural Programs " พร้อมกับปรับปรุงโครงสร้างคุณภาพ และมีการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากโครงการสำหรับเยาวชน คือจัดโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในเครือสมาชิกด้วยกัน สำหรับบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางด้านภาษาและการพัฒนาเทคนิคการสอน และยังดำเนินโครงการกระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยได้รับเงินสมทบจากผู้สนับสนุนโครงการ ในรูปแบบบริษัท มูลนิธิ เอกชน และรายบุคคล
การดำเนินโครงการทุกประเภทของเอเอฟเอส จะอยู่ภายใต้ข้อตกลงที่เป็นการเคลื่อนย้ายชั่วคราวไปสู่สังคมใหม่ที่มีค่านิยม รูปแบบการดำเนินชีวิต และความคิดเห็นที่แตกต่างจากเดิม โดยเชื่อว่าผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน บุคลากรทางการศึกษา ครอบครัวอุปถัมภ์ อาสาสมัคร รวมไปถึงโรงเรียนและชุมชน สามารถพัฒนา เรื่องของทักษะ ทัศนคติ และความรู้ต่าง ๆ อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต
 
ปัจจุบันนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ประเทศไทยได้มีการรวมกลุ่มกัน สามารถเข้าไปได้ที่เว็บบอร์ด AFSer Thailand ได้ที่ http://www.afser.in.th
 
== อ้างอิง ==