ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคว้นพะเยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ประวัติ: เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36:
แคว้นพะเยา เกิดจากการขยายตัวของราชวงศ์ลาวที่แยกตัวออกมาเพื่อสร้างเมืองใหม่ สันนิษฐานว่าประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพญาลาวเงินแห่งเมืองเงินยางได้ส่งเจ้าราชบุตรนามขุนจอมธรรมสร้างเมืองพะเยาและปกครองในฐานะนครรัฐอิสระไม่ขึ้นกับใคร มีความสัมพันธ์อันดีกับเมืองเงินยางในฐานะญาติและพันธมิตร<ref name="สรัส"/>
 
แคว้นพะเยา เริ่มมีบทบาทโดดเด่นขึ้นต้นพุทธศตวรรษที่ 19 กษัตริย์นาม[[พญางำเมือง]] กษัตริย์พระองค์ที่เก้า เป็นพระสหายของ[[พ่อขุนรามคำแหง]] และ[[พญามังราย]]<ref name="ปู่">"พงศาวดารเชียงแสน". ''พงศาวดารภาคที่ 61'', หน้า 27</ref> ทั้งสามพระองค์ได้ร่วมมือกันทำสัญญาสามกษัตริย์ในปี พ.ศ. 1830 เพื่อต่อต้านการขยายตัวของ[[จักรวรรดิมองโกล]]

ในตำราเมืองล้านนามีบันทึกไว้เกี่ยวกับพระนางอั๊วเชียงแสน ซึ่งพิพาทระหว่างพระร่วงและพญางำเมือง โดยพญามังรายเป็นผู้ตัดสินความ

ทั้งที่ก่อนหน้านี้พญามังรายเคยยกทัพไปเมืองพะเยาในปี พ.ศ. 1819 ซึ่งไม่ได้รบกันแต่กลับเจรจากัน<ref name="สิบห้า">''ตำนานสิบห้าราชวงศ์ เล่ม 1''. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยทางสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2524, หน้า 55</ref> สรัสวดี อ๋องสกุลได้สันนิษฐานว่าเป็นเพราะ ''"...ความเป็นสหายและความเข้มแข็งของพญางำเมืองในขณะนั้นเป็นอุปสรรคต่อการยึดเมืองพะเยา"''<ref name="สรัส"/> ด้วยความเข้มแข็งดังกล่าวพญางำเมืองได้ขยายอำนาจและยึดครอง[[นครรัฐน่าน]]โดยส่งพระชายาและราชบุตรไปปกครอง ถือเป็นยุคที่พะเยาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด<ref name="สรัส"/>
 
หลังสิ้นรัชกาลพญางำเมือง ท้าวคำแดงพระโอรสได้ครองเมืองสืบต่อ ยังคงสัมพันธ์อันดีกับล้านนา และเคยช่วย[[พญาไชยสงคราม]]ปราบกบฏ[[ขุนเครือ]] และหลังจากการปราบกบฏก็ได้ขอนางแก้วพอตาธิดาพญาไชยสงครามให้เสกสมรสกับท้าวคำลือ พระราชโอรสซึ่งเป็นกษัตริย์พะเยาองค์สุดท้าย ซึ่งเฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี มองว่าการมาของนางแก้วพอตาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พะเยาเสียเอกราช<ref>เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ''ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 7</ref> เพราะในปี พ.ศ. 1877-1879 [[พญาคำฟู]]แห่งล้านนาทรงประสบความสำเร็จในการปล้นเมืองพะเยาจากความร่วมมือของ[[นครรัฐน่าน]] และอาจได้รับการสนับสนุนจากนางแก้วพอตาที่เป็นพระปิตุจฉาพญาคำฟู<ref>เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี (ปริวรรต). ''ตำนานเมืองพะเยา''. เชียงใหม่ : นครพิงค์, 2554, หน้า 24-25</ref> อันเป็นการดีต่อล้านนาที่เมืองเชียงรายและเชียงแสนจะปลอดภัยจากการโจมตีของพะเยา<ref>สุรพล ดำริห์กุล. ''แผ่นดินล้านนา''. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2539, หน้า 29-31</ref> และตั้งเมืองพะเยาเป็นฐานอำนาจที่จะขยายลงไปสู่[[นครรัฐแพร่]]และ[[นครรัฐน่าน|น่าน]]ต่อไป<ref name="วดี"/>