ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศมัลดีฟส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SHRCorporate (คุย | ส่วนร่วม)
เว้นวรรค
บรรทัด 311:
* '''การประมง''' ประเทศมัลดีฟส์เป็นแหล่งปลาทูน่าที่สำคัญในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศไทยยังไม่มีการติดต่อเพื่อทำประมงร่วมกับมัลดีฟส์ ทั้งระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน ฝ่ายไทยเคยส่งเรือวิจัยประมงของ[[กรมประมง]]เดินทางไปทำการศึกษาและวิจัยด้านปลาทูน่าในมัลดีฟส์ในบางโอกาส นอกจากนี้ รัฐบาลมัลดีสฟ์ได้กำหนดเงื่อนไขที่จะเข้าไปจับปลาใน[[เขตเศรษฐกิจจำเพาะ]]ของมัลดีฟส์ เช่น ต้องเสียค่าใบอนุญาต (license fee) ต้องจับปลาห่างฝั่งอย่างน้อย 75 ไมล์ และให้ผู้ได้รับอนุญาตจับปลาได้ไม่เกินปีละ 1.5 หมื่นตัน รวมทั้งทางการมัลดีฟส์ยังกำหนดให้ใช้วิธีการจับปลาแบบดั้งเดิมอีกด้วย
 
* '''ความตกลงทวิภาคีไทย – มัลดีฟส์''' ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศไทย – มัลดีฟส์ ลงนามเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2532 ที่กรุงเทพฯ กำหนดให้สายการบินของแต่ละฝ่ายดำเนินบริการเดินอากาศในแต่ละทิศทาง โดยไม่จำกัดแบบของอากาศยาน ปัจจุบันมีสายการบินบางกอกแอร์เวย์สของประเทศไทยเปิดบริการเดินอากาศระหว่าง กรุงเทพฯ – มัลดีฟส์ ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 320 ไป-กลับ 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
 
* '''ความร่วมมือทางวิชาการ''' ในการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย – มัลดีฟส์ (Thai – Maldives Joint Commission on Economic and Technical Cooperation) ณ กรุงมาลี เมื่อปี 2535 และ 2536 รัฐบาลไทย (โดย[[กรมวิเทศสหการ]]) เริ่มให้ความช่วยเหลือแก่มัลดีฟส์อย่างจริงจัง ทั้งทางด้านสาธารณสุข ประมง เกษตร การท่องเที่ยว การบิน การให้ทุนศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยแก่นักเรียน/นักศึกษามัลดีฟส์ รวมทั้งจัดส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้าน[[จิตเวช]]และการแพทย์ไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่มัลดีฟส์ตามโครงการ Thai Aid Programme โครงการ Third Country Training Programme และข้อตกลงในกรอบของความร่วมมือทางวิชาการ ฝ่ายไทย โดยกรมวิเทศสหการได้ให้ความช่วยเหลือ/ความร่วมมือทางวิชาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยจัดทำกรอบของแผนการให้ความช่วยเหลือ/ร่วมมือทางวิชาการ 3 ปี ระหว่างปี 2539-2541 และได้ขยายแผนดังกล่าวออกไปอีก 3 ปี ระหว่างปี 2542-2544