ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุพรรณกัลยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 23:
}}
 
'''พระสุพรรณกัลยา''' สุวรรณกัลยา หรือ สุวรรณเทวี เป็นพระราชธิดาใน [[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]] และ [[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] และเป็นพระพี่นางใน [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] และ [[สมเด็จพระเอกาทศรถ]] ประสูติ ณ [[พระราชวังจันทน์]] [[พิษณุโลก|เมืองพิษณุโลก]] เชื่อว่าพระนามเดิม คือ '''องค์ทอง'''<ref>{{Citation |author1=Pasuk Phongpaichit |author2=Chris Baker |title=Thailand's Crisis |publisher=Silkworm Books |year=2000 |pages=175-176}}</ref>
(ยังไม่ปรากฎถึงหลักฐานที่ชัดเจนถึงความมีตัวตนของพระสุพรรณกัลยา)
 
== ชีวิตในกรุงหงสาวดี ==
พระสุพรรณกัลยา พระราชธิดาใน [[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]] และ [[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] พระนางปรากฏในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในปี [[พ.ศ. 2112]] เจ้าฟ้าสองแคว (พระอิสริยยศของพระมหาธรรมราชาเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าบุเรงนองให้ขึ้นครองพิษณุโลก) ได้ถวายพระธิดาชื่อ สุวรรณกัลยา พระชันษา 17 ปี กับบริวารและนางสนมรวม 15 คนแก่พระเจ้าบุเรงนอง<ref>'''อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์''', หน้า 183</ref> โดยพระองค์ได้สถาปนาเป็นพระมเหสี มีพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่งหรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกางฉัตรถวาย และพระองค์ทรงอยู่อย่างเกษมสำราญ<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์'''. หน้า 271</ref><ref>{{Citation |author=Taylor |title=History, Simulacrum and the real |year=2001 |page=6}}</ref>
 
พระนางมีพระธิดา 1 พระองค์กับพระเจ้าบุเรงนอง ทรงได้รับพระราชทานพระนามว่า '''เจ้าภุ้นชิ่''' ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม '''เมงอทเว''' ในพระราชพงศาวดารพม่าได้บันทึกว่าพระสุพรรณกัลยาเป็นพระมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปรานมาก<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์'''. หน้า 273</ref> โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นใน[[พระราชวังกัมโพชธานี|พระราชวังกรุงหงสาวดี]]
ปรากฎข้อเท็จจริงคือ ในช่วงประมาณ 2530 แพทย์หญิงท่านหนึ่งที่เปิดบริษัทขายยาของตัวเอง ฝันเห็นพระนางสุพรรณกัลยา มาบอกว่าป็นพี่สาวของพระนเรศวร แพทย์หญิงคนนี้ก็จึงนำหน้าพระนางไปเป็นโลโก้ขายยาน้ำ ขายดิบขายดี คนก็รู้จักว่านางคือพี่สาวพระนเรศวรมีหน้าตาเหมือนที่ข้างขวดยา
 
ด้วยเหตุที่[[พระเจ้าบุเรงนอง]]เสด็จออกราชการสงครามอยู่เสมอ ทำให้พระสุพรรณกัลยารวมทั้งพระมเหสีองค์อื่นทรงดำเนินชีวิตในพระราชวังตามปกติ โดยมิได้เส็ดจออกงานหรือเห็นโลกภายนอกจนกว่าที่พระเจ้าบุเรงนองจะเสด็จกลับหงสาวดีจึงจะมีการจัดงานสำคัญ โดยในวันเพ็ญเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2116]] มีงานบูชา[[เจดีย์ชเวดากอง|พระมหาเจดีย์ชเวดากอง]] พระสุพรรณกัลยาพร้อมด้วยพระราชธิดาองค์น้อยได้ประทับเรือพระที่นั่งโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปบำเพ็ญพระราชกุศลนาน 5 วัน นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จออกนอกพระราชฐานมานานว่า 3 ปี
คนที่มีอายุเกิน 35 และเรียนวิชาสังคมทั้งประถมและมัธยม จะไม่มีพระนางสุพรรณกัลยาในบทเรียน
 
หลังจากงานบูชามหาเจดีย์จบสิ้นลง พระเจ้าบุเรงนองได้นิมนต์พระสงฆ์[[พม่า]] [[มอญ]] [[เชียงใหม่]] และ[[ไทใหญ่]] 3,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปหล่อด้วย[[ทองคำ]] [[เงิน]] [[สำริด]] และ[[ปัญจโลหะ]] อย่างละองค์ ในการนี้พระเจ้าบุเรงนองได้ทำการเฉลิมพระยศพระราชโอรส และพระราชธิดา โดยในการนี้ [[เจ้าหญิงเมงอทเว|เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่]] พระราชธิดาในพระสุพรรณกัลยาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น '''พิษณุโลกเมียวซา''' เนื่องจากทรงได้รับสิทธิ์ในภาษีประจำปีที่ได้จาก[[พิษณุโลก]] นับแต่นั้นมาทุกคนจึงขานพระนามพระราชธิดาพระองค์นี้ว่า '''เจ้าหญิงพิษณุโลก'''<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์'''. หน้า 275</ref><ref>{{Citation |author=Maung Aung Myoe |title=Neither Friend Nor Foe: Myanmar's Relations with Thailand Since 1988 |publisher=Institute of Defence and Strategic Studies, Nanyang Technological University |year=2002 |page=146}}</ref>
หลังจากกระแสพระนางฯเริ่มดังจากข้างขวดยา จึงเริ่มมีการไปค้นหาประวัติศาสตร์ในส่วนอื่นๆ ก็พบว่า ใน "คำให้การขุนหลวงหาวัด" มีนาง "จันทร์กัลยา" เป็นพี่สาวพระนเรศฯซึ่งถูกกวาดต้อนไปยังหงสาวดี จึงอนุมาณกันว่านี่คงเป็นนางสุพรรณกัลยานั่นเอง แล้วขุนหลวงหาวัดเป็นใคร? ขุนหลางหาวัดคือพระเจ้าอุทุมพร พี่ชายของพระเจ้าเอกทัศกษัตร์องสุดท้ายแห่งอาณาจักร์กรุงศรีอยุทธยาแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สองซึ่งเป็นสามัญชน(ต่อจากราชวงศ์ปราสาททอง) ซึ่งเหตุการณ์นั้นห่างจากรัชสมัยที่พระนเรศวรทรงกู้ชาติเกือบๆ 200 ปี มีความเป็นไปได้ยากมากที่ขุนหลวงหาวัดจะรู้เรื่องของพระนางสุพรรณกัลยา
 
== กรณีการสิ้นพระชนม์ ==
ต่อมาเมื่ออังกฤษเข้าครอบครองพม่า เราจึงมีโอกาศได้นำเอาพงศาวดารของพม่ามาศึกษาบ้าง เมื่อศึกษาก็พบว่าพระเจ้าบุเรงนองมีเมียหลายคน ส่วนใหญ่ได้มาจากการไปตึเมืองต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง แล้วในพงศาวดารก็กล่าวถึงนางนาง "อะเมี๊ยวโย่ง" ที่ไม่รู้ว่าเป็นลูกสาวเมืองไหนกัน ก็ไม่ชัดว่ามาจากอยุธยา พิษณุโลก แต่ชื่อน่าจะเป็นชาวเมือง มอญ อังวะ หาสามากกว่า<center></center>
ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อ[[พ.ศ. 2124]] [[พระเจ้านันทบุเรง]]ขึ้นครองราชย์แทน ภายหลังจากที่[[มังกะยอชวา|พระมหาอุปราชามังกะยอชวา]]สิ้นพระชนม์ใน [[พ.ศ. 2135]] จากการทำ[[ยุทธหัตถี]]กับ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] ซึ่งการสิ้นพระชนม์นั้นในพงศาวดารรวมถึงคำให้การต่างๆ ทั้งของไทยและพม่าต่างก็ให้ข้อมูลต่างกันออกไปเกี่ยวกับการกล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา
 
=== หลักฐานของไทย ===
* '''[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]''' ระบุว่า ''"พระเจ้าหงสาวดีก็ทรงพระพิโรธ รับสั่งให้เอาตัวนายทัพนายกองที่ไปกับพระมหาอุปราชนั้น ใส่คาย่างไฟให้ตายสิ้น แต่เท่านั้นยังไม่คลายพระพิโรธ จึงเสด็จไปสู่ตำหนักพระสุวรรณกัลยา เอาพระแสงฟันพระนางสุวรรณกัลยากับพระราชธิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ทั้ง ๒ พระองค์"''
 
* '''[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]''' ได้กล่าวใกล้เคียงกัน แต่ต่างที่เป็นพระราชโอรสมิใช่พระราชธิดา ความว่า ''"ฝ่ายพระเจ้าหงสา ทรงพระพิโรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐานเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศวรนั้นบรรทมให้พระราชโอรสเสวยนมอยู่ในพระที่ พระเจ้าหงสาวดีจึงฟันด้วยพระแสง ก็ถูกทั้งพระมารดาและพระโอรสทั้งสองพระองค์ ก็ถึงแก่พิราลัยด้วยกันทั้งสองพระองค์ ด้วยพระเจ้าหงสาวดีทรงโกรธยิ่งนัก มิทันจะผันผ่อนได้"''
 
=== หลักฐานของพม่า ===
ไม่ปรากฏการสิ้นพระชนม์ในหลักฐานพม่า
 
อย่างไรก็ตามจากหลักฐานของไทยและพม่าก็ต่างแสดงความมีตัวตนของพระสุพรรณกัลยา และประทับอยู่ในหงสาวดีตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2112 ขณะมีพระชันษาได้ 17 ปี ดังนั้นในปี [[พ.ศ. 2135]] ที่เกิดยุทธหัตถี พระองค์จึงน่าจะมีพระชันษา 40 ปี และหากมีพระโอรส-ธิดากับพระเจ้าบุเรงนอง พระโอรสธิดาก็ควรมีพระชันษาราว 8 ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งดูจะขัดแย้งกับคำให้การขุนหลวงหาวัด ที่กล่าวถึงการ ''ให้พระโอรสเสวยนมอยู่ในที่..''<ref name="อยุธยา">'''อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์''', หน้า 184</ref> ส่วนกรณีที่ถูกพระแสงดาบของพระเจ้านันทบุเรงเช่นเดียวกัน เนื่องจากหากพระเจ้าแผ่นดินจะประหารชีวิตใครก็จะบันทึกเรื่องราวไว้โดยละเอียด แต่ในเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยากลับไม่ปรากฏไว้เลย<ref name="อยุธยา"/> <ref>{{Citation |author1=Chris Baker |author2=Pasuk Phongpaichit |title=A History of Thailand |edition=Second |publisher=Cambridge University Press |year=2000 |pages=262}}</ref>
 
=== หลักฐานที่ขัดแย้งกัน ===
แม้การสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยานั้นจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากแรงโทสะของ[[พระเจ้านันทบุเรง]] ตามหลักฐานประเภทคำให้การของไทย แต่มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าได้นำเสนอข้อมูลที่แตกต่างออกไป โดยกล่าวถึง[[เจ้าหญิงเมงอทเว|เจ้าภุ้นชิ่]]หรือเจ้าหญิงพิษณุโลกได้ตามเสด็จพระราชมารดาออกมาประทับนอก[[พระราชวังกัมโพชธานี]] โดยเจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ได้เสกสมรสกับ เจ้าเกาลัด พระโอรสของเจ้าอสังขยา เจ้าเมืองตะลุป ซึ่งเป็น[[ไทใหญ่|ชาวไทใหญ่]] ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ามังรายกะยอชวา โอรสองค์ที่สองของพระเจ้านันทบุเรง และมีพระธิดาด้วยกันคือ เจ้าหญิงจันทร์วดี ซึ่งหมายความว่า ในช่วงสงครามยุทธหัตถี [[พ.ศ. 2135]] พระสุพรรณกัลยามิได้ประทับอยู่ในหงสาวดีแต่ทรงประทับอยู่ในอังวะ จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2137]] พระเจ้าตองอู พระเจ้านยองยัน และพระเจ้าเชียงใหม่ ต่างแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดี พระเจ้านยองยันได้เข้าครองกรุงอังวะที่เจ้าหญิงพิษณุโลก และพระมารดาอาศัยอยู่ อีกทั้งยังเป็นผลดีแก่ทั้งสองพระองค์ด้วย เนื่องจากพระเจ้านยองยันนั้นเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง ทั้งยังมีความคุ้นเคยกับเจ้าอสังขยาบิดาของเจ้าเกาลัด จึงคาดได้ว่า ภายใต้การปกครองของพระเจ้านยองยันพระสุพรรณกัลยารวมถึงเจ้าหญิงพิษณุโลกก็ยังทรงประทับในนครอังวะอย่างปกติสุขจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ โดยมิได้ถูกปลงพระชนม์แต่อย่างใด<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์'''. หน้า 293-295</ref>
[[ไฟล์:39-9-1087831999.jpg|thumb|180px|right|พระสุพรรณกัลยา จากละครเรื่อง กษัตริยา ([[พ.ศ. 2547|พ.ศ. ๒๕๔๗]]) รับบทโดย [[วรัทยา นิลคูหา]]]]
== พระนามต่างๆ ==
# '''สุวรรณกัลยา''' จากคำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง)
# '''สุวรรณกัลยา จันทรกัลยา''' จากคำให้การชาวกรุงเก่า
# '''พระสุวรรณ''' จาก[[มหาราชวงศ์]]
# '''อะเมี้ยวโยง''' แปลว่าผู้จงรักภักดีในเผ่าพันธุ์ตน จาก[[มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่]] ของมหาสีหตู (Twinthin Taikwun Maha Sithu)
# '''พระสุพรรณกัลยา''' จากพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระนิพนธ์ใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]
 
== สถานที่เกี่ยวกับพระองค์ ==
* พระราชานุสาวรีย์พระสุพรรณกัลยาณี ณ [[ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] (กองทัพภาคที่ 3) [[อำเภอเมืองพิษณุโลก|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดพิษณุโลก]]
* พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระรูปพระสุพรรณกัลยา ณ [[ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] [[โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม]] อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
* พระบรมรูปพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ณ [[วัดลาดสิงห์]] [[ตำบลบ้านสระ]] [[อำเภอสามชุก]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]]
* พระรูป ณ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช [[วัดดอนเจดีย์]] [[อำเภอดอนเจดีย์]] จังหวัดสุพรรณบุรี
* พระเจดีย์ ณ [[วัดบ้านน้ำฮู]] [[อำเภอปาย]] [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] ที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างถวายพระสุพรรณกัลยา และภายในพระเจดีย์ ได้บรรจุเส้นพระเกษาของพระสุพรรณกัลยาไว้ด้วย
 
== ราชตระกูล ==
<center>
'''พระราชตระกูลในพระสุพรรณกัลยา '''
</center>
<center>
{{ahnentafel-compact5
| style=font-size: 90%; line-height: 110%;
| border=1
| boxstyle=padding-top: 0; padding-bottom: 0;
| boxstyle_1=background-color: #fcc;
| boxstyle_2=background-color: #fb9;
| boxstyle_3=background-color: #ffc;
| boxstyle_4=background-color: #bfc;
| boxstyle_5=background-color: #9fe;
| 1= '''พระสุพรรณกัลยา '''
| 2= [[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]]
| 3= [[พระวิสุทธิกษัตรีย์]]
| 4= สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง
| 5=
| 6= [[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] (พระเฑียรราชา)
| 7= [[สมเด็จพระสุริโยทัย]]
| 8=
| 9=
| 10=
| 11=
| 12= [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]]
| 13=
| 14=
| 15=
| 16=
| 17=
| 24=[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]
| 25=
}}
</center>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์. '''พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์'''. พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2550
 
* สุเจน กรรพฤทธิ์. สารคดีพิเศษ:จากพิษณุโลกสู่เวียงแหง ตามรอยนเรศวรมหาราชนอกกรอบประวัติศาสตร์ "ชาตินิยม". '''อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์.''' [[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]] บรรณาธิการ. สมุทรปราการ:มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2553 ISBN 978-616-7202-06-8
*
* มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart). '''โยเดียกับราชวงศ์พม่า:เรื่องจริงที่ไม่ทีใครรู้''', พ.ศ. 2550
* กิตติ วัฒนะมหาตม์. '''ตำนานนางกษัตริย์'''. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553. หน้า 259-307 ISBN 978-974-341-666-8