ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การบุกขึ้นเรือ"

หน้าแก้ความกำกวมวิกิมีเดีย
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{เพิ่มอ้างอิง}} ไฟล์:Capture of the Esmeralda (1820).jpg|thumb|right|250px|การขึ้นเรือและเข้าย...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:57, 7 เมษายน 2563

การบุกขึ้นเรือ (อังกฤษ: Naval boarding) เป็นบุกการขึ้นมาสู้ หรือเข้าเทียบเรือของศัตรูที่จะโจมตี โดยการกำหนดผู้ทำการรบบุกขึ้นเรือของศัตรู เป้าหมายของการบุกขึ้นเรือคือการเข้ายึด หรือทำลายเรือข้าศึก ซึ่งเรือขนาดใหญ่กว่าจะลำเลียงกะลาสีหรือนาวิกโยธินที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษในฐานะผู้บุกขึ้นเรือ การบุกขึ้นเรือและการต่อสู้ประชิดตัวถือเป็นวิธีหลักในการสรุปการรบทางเรือ จนกระทั่งอาวุธยุทโธปกรณ์หนักได้เป็นอันดับหนึ่งทางยุทธวิธีในทะเล[1]

การขึ้นเรือและเข้ายึดเรือฟริเกตสเปนเอสเมรัลดา โดยชาวชิลีในกาโย ปี ค.ศ. 1820

ส่วนการบุกขึ้นเรือแบบคัตติงเอาต์ (cutting out) เป็นการโจมตีโดยเรือขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน กับมิได้มีความระแวงสงสัย และจอดเทียบเป้าหมาย มันกลายเป็นที่นิยมในระยะหลังคริสต์ศตวรรษที่ 18 และใช้อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามนโปเลียน สิ่งนี้เป็นการเน้นย้ำถึงพฤติการณ์ลับ และจู่โจมโดยไม่ให้ตั้งตัว ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การบุกขึ้นเรือในอนาคต ตัวอย่างของความสำเร็จคือการจับกุมเฮอร์ไมโอนี ซึ่งเกิดขึ้นที่ปวยร์โตกาเบโย ประเทศเวเนซุเอลา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1799

ในการสงครามสมัยใหม่ การบุกขึ้นเรือโดยกองกำลังทหารมักเกี่ยวข้องกับพฤติการณ์ลับ และมักจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืน มันอาจเกี่ยวข้องกับการใช้งานของเรือดำน้ำขนาดเล็กหรือซับเมอร์ซิเบิล หรือเรือยาง หรือโดยมนุษย์กบ ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการไต่ขึ้นด้านข้างของเรือ หรือเมื่อพฤติการณ์ลับไม่สลักสำคัญ ก็อาจใช้เฮลิคอปเตอร์เพื่อยกทัพไปที่ดาดฟ้าของเรือ

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. Warming, Rolf. An Introduction to Hand-to-Hand Combat at Sea: General Characteristics and Shipborne Technologies from c. 1210 BCE to 1600 CE (ภาษาอังกฤษ).

อ้างอิง