ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอท่าอุเทน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
แก้ไให้เนื้อหาถูกต้องตามเอกสารอ้างอิง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
            พ.ศ. 2373  พระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยยกทัพมาปราบขบถเจ้าอนุวงศ์ ให้พระยาวิชิตสงครามตั้งทัพอยู่ที่เมืองนครพนม ให้ราชวงศ์ (เสน) จากเมืองเขมราช ท้าวขัตติยะ กรมการเมืองอุบลราชธานี และท้าวสีลา คุมไพร่พลไปตั้งอยู่ที่เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี  ซึ่งเป็นเมืองร้าง เมื่อปราบขบถจนราบคาบแล้ว เจ้าพระยาบดินทร์เดชา จึงได้ขอปูนบำเหน็จให้ราชวงศ์ (เสน) เป็นพระไชยราชวงษา ครองเมือง ไชยบุรี ซึ่งเป็นเมืองของชาวไทญ้อเดิม ต่อมาเป็นต้นตระกูลเสนจันทร์ฒิชัย
 
              พ.ศ. 2376  พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม อมาตยกุล) เป็นแม่ทัพอยู่ ณ เมืองนครพนม ได้กวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันมีกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ เช่น ผู้ไท,ข่า,โซ่ ,กะเลิง,แสก,ญ้อ,และโย้ย ให้มาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง  เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เจ้าอนุวงศ์และญวน และได้เกลี้ยกล่อมชาวเมืองหลวงปุงลิง ซึ่งเป็นไทญ้อให้กลับมาด้วย โดยมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองร้างริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นที่ตั้งเมืองใหม่ ในตอนที่ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาเมื่อขึ้นเหยียบแผ่นดินใหม่เป็นเวลาย่ำรุ่งพอดี จึงได้ตั้งชื่อเมืองให้คล้องกับนิมิตรหมายที่ดีนี้ว่า '''เมืองท่าอุเทน''' แปลว่า เมืองท่าแห่งดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ ซึ่งตรงกับสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 3]] และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองหลวงปุงลิงเป็นพระศรีวรราช  เจ้าเมืองท่าอุเทนคนแรก  ต้นตระกูลวดีศิริศักดิ์กิติศรีวรพันธุ์
 
พ.ศ. 2409  พระศรีวรราช (ท้าวพระปทุม) ได้ถึงถึงแก่กรรมลง เมืองท่าอุเทนขาดเจ้าเมืองอยู่ 2 ปี จนเมื่อ พ.ศ. 2411  จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระจำเริญพลรบ (เจ้าดวงจันทร์) เป็นพระศรีวรราชคนต่อมา แต่อยู่ได้เพียง 1 ปี จึงกราบถวายบังคับทูลลาออกจากราชการ เนื่องจากมีความผิดหลายเรื่อง
 
             พ.ศ. 2413  ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ราชบุตร (พรหมมา) ต้นตระกูลบุพศิริ เป็นพระศรีวรราช เจ้าเมืองท่าอุเทนคนที่ 3 อยู่ได้ 4 ปีก็ถึงแก่กรรม จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งท้าวบุญมาก ต้นตระกูลกิติศรีวรพันธุ์(บุตรชายท้าวประทุม) เป็นพระศรีวรราช เจ้าเมืองท่าอุเทนและเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย เนื่องจากในปี พ.ศ. 2442  กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ให้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง  อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร และกรมการเมืองแบบเก่า ให้เป็นผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมืองแทน ต่อมา พ.ศ. 2450  ได้ยุบเมืองท่าอุเทน เป็นอำเภอท่าอุเทน ขึ้นกับเมืองนครพนมและแต่งตั้งให้ขุนศุภกิจจำนงค์ (จันทิมา  พลเดชา) ข้าหลวงประจำเมืองนครพนม เป็นนายอำเภอคนแรก {{รอการตรวจสอบ}}
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==