ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Richard lawrinton (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
| dynasty = [[ราชวงศ์จักรี|จักรี]]
}}
'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม''' พระนามเดิม '''พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์พัฒนพงษ์''' ทรงเป็นอธิบดี[[กรมวิชาการเกษตร|กรมเพาะปลูก]] ต้น[[ราชสกุล]]'''เพ็ญพัฒน์'''<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=46 |issue=0 ก|pages=24|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2472/A/21.PDF|date=9 มิถุนายน 2472|accessdate=11 กันยายน 2561|language=ไทย}}</ref> เป็นผู้นิพนธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน หรือ[[ลาวดวงเดือน]]
 
== พระประวัติ ==
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์พัฒนพงษ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 41 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] อันประสูติแต่[[เจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5|เจ้าจอมมารดามรกฎ]] ธิดาของ[[เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)]] ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425 เสด็จไปศึกษาทางด้าน[[เกษตรศาสตร์]]จาก[[ประเทศอังกฤษ]] สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2446 ขณะพระชันษา 20 ปี กลับมารับราชการเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ<ref>''ราชสกุลวงศ์'', หน้า 91</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ โดยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า จาก[[มหาวิทยาลัยโตเกียว]] ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น สอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม พร้อมกับสร้างสวนหม่อนและสถานีเลี้ยงไหมขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพ ทรงจัดตั้งกองช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมา วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 กระทรวงเกษตราธิการได้รวมกองการผลิต, กองการเลี้ยงสัตว์ และกองช่างไหม ตั้งขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" โดยมี พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์พัฒนพงษ์ เป็นอธิบดีกรมช่างไหมพระองค์แรก
 
งานหลักของกรมช่างไหม คือ การดำเนินงานตามโครงการของสถานีทดลองเลี้ยงไหม เริ่มด้วยการก่อตั้งโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นใน[[พระราชวังดุสิต]] เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2446 และเปิดโรงเรียนสอนการทำไหมขึ้นที่ปทุมวัน เรียกว่า "โรงเรียนกรมช่างไหม" เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาวิจัย และฝึกพนักงานคนไทยขึ้นแทนคนญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนาเป็น[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]
 
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์พัฒนพงษ์ ทรงสนพระทัยดนตรีไทย โปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า "วงพระองค์เพ็ญ" พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายชนิด และทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ เมื่อครั้งเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมได้เสด็จไปนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2446 ทรงชอบพอกับ[[เจ้าชมชื่น ณ เชียงใหม่]] พระธิดาใน [[เจ้าราชสัมพันธวงศ์ (ธรรมลังกา ณ เชียงใหม่)]] กับ[[เจ้าคำย่น ณ เชียงใหม่]] ได้โปรดให้ข้าหลวงใหญ่[[มณฑลพายัพ]]เป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอ แต่ได้รับการทัดทาน ไม่มีโอกาสที่จะได้สมรสกัน ทำให้พระองค์โศกเศร้ามาก และได้ทรงพระนิพนธ์เพลงลาวดำเนินเกวียน (หรือ[[ลาวดวงเดือน]]) ขึ้น เมื่อใดที่ทรงระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นก็จะทรงดนตรีเพลงนี้มาตลอดพระชนมชีพ
 
วังที่ประทับของกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เป็นบ้านของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) บิดาของเจ้าจอมมารดามรกฎ มีชื่อเรียกว่า'''วังท่าเตียน''' (เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งวัง เช่นเดียวกับ[[วังท่าเตียน]]หรือ[[วังจักรพงษ์]]ของ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์]]) มีโรงละครอยู่โรงหนึ่ง ในสมัยนั้นเรียกกันว่า '''ปรินส์เทียเตอร์'''