ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซอยกัปตันบุช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3:
'''ซอยกัปตันบุช''' หรือ '''ตรอกกัปตันบุช''' หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''ซอยเจริญกรุง 30''' เป็น[[ซอย]]แยกจาก[[ถนนเจริญกรุง]]ในพื้นที่แขวงสี่พระยา [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]] ใกล้กับ[[ถนนสี่พระยา]]และ[[ท่าน้ำสี่พระยา]] ติดกับริมฝั่ง[[แม่เจ้าพระยา]]
 
ชื่อซอยกัปตันบุชมีที่มาจาก[[พระยาวิสูตรสาครดิฐ (จอห์น บุช)|จอห์น บุช]] นักเดินเรือชาวอังกฤษ ผู้เข้ามาอาศัยและรับราชการในรัชสมัย[[รัชกาลที่ 5]] จนมีตำแหน่งเป็นอธิบดี[[กรมเจ้าท่า]] และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตรสาครดิฐ ซึ่งเคยมีบ้านพำนักอยู่บริเวณแถบนี้ โดยในซอยเป็นที่ตั้งของบ้านเลขที่ 1 ของถนนเจริญกรุง<ref name=บ้าน/> เป็นบ้านที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามแบบยุโรป[[นีโอคลาสสิก]] ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา และออกแบบเป็นหน้าจั่วตรงกลางด้านหน้าอาคาร ผนังทาสีเหลือง หน้าต่างทาสีเขียวมะกอกตัดขอบขาว ประตูหน้าต่างเป็นทรงโค้ง[[สถาปัตยกรรมโรมัน|แบบโรมัน]]
 
บ้านหลังนี้มักมีความเข้าใจผิดว่าเป็นบ้านของกัปตันบุช<ref name=บ้าน/> แต่ตามหลักฐานชื่อของเจ้าบ้านเลขที่ 1 ถนนเจริญกรุงของ[[กรมไปรษณีย์โทรเลข]] พบว่าในปี พ.ศ. 2454 เป็นบ้านของขุนราชพิมาน บุตรชายของพระยาพิทักษ์ภูบาล ขึ้นกรมรักษาพระองค์ปืนทองปลายซ้าย เคยเป็นอาคารที่ทำการของกรมพระคลังข้างที่ ([[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] ในปัจจุบัน) และเคยเป็นที่ทำการของบริษัทสุราฝรั่งเศส <ref name=บ้าน>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=0tmoAzPi_ek|work=[[ทีเอ็นเอ็น24]]|title= เรื่องนี้มีอยู่ว่า : “เจริญกรุง” “บำรุงเมือง” “เฟื่องนคร”|date=2015-07-19}}</ref>รวมถึงเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย คือ โรงเรียนอาชีพช่างกล ([[สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน]] ในปัจจุบัน) ซึ่งในระยะแรกดำเนินกิจการและทำการสอนโดย[[ราชนาวีไทย|ทหารเรือ]]<ref>{{อ้างหนังสือ
บรรทัด 19:
 
ในอดีต ย่านซอยกัปตันบุชตลอดจนถนนเจริญกรุง รวมถึงถนนสี่พระยา เป็นย่านแห่งหนึ่งที่มีความคึกคักและเจริญที่สุดของกรุงเทพมหานคร นอกเหนือจาก[[ย่านเยาวราช]], [[สำเพ็ง]] หรือ[[ตลาดน้อย]] เป็นแหล่งที่อาศัยและประกอบกิจการรวมถึงเป็นที่ทำการทางราชการของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก ซึ่งยังคงปรากฏหลักฐานมาจนถึงปัจจุบันด้วยอาคารเก่าแก่ที่มีความสวยงามทางสถาปัตยกรรมหลายแห่ง เช่น สถานทูตโปรตุเกส อันเป็นสถานทูตต่างประเทศแห่งแรกที่มีขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสร้างมาตั้งแต่รัชสมัย[[รัชกาลที่ 2]] ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลโปรตุเกส<ref>{{cite web|url=https://readthecloud.co/embassy-4/|title=|first=ทรงกลด|last=บางยี่ขัน|accessdate=2018-02-17|work=readthecloud.co|title=สถานทูตโปรตุเกส สถานทูตแห่งแรกในกรุงเทพฯ อายุกว่า 150 ปี}}</ref>, [[อาคารศุลกสถาน]] หรือโรงภาษีร้อยชักสาม โรงภาษีเก็บค่าภาษีจากเรือสินค้าต่างชาติ ตัวอาคารเป็น[[สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ]], ที่ทำการของ[[ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น]] ธาคารสัญชาติฮ่องกง ที่เข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 เป็นต้น
 
==ระเบียงภาพของอาคารที่อยู่ใกล้เคียง==
<gallery>