ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางพิเศษประจิมรัถยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oum13928 (คุย | ส่วนร่วม)
Oum13928 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูลการขอพระราชทานชื่อ
บรรทัด 21:
== ประวัติ ==
ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครสร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่[[อำเภอบางกรวย]] [[จังหวัดนนทบุรี]] และ[[เขตทวีวัฒนา]] [[เขตตลิ่งชัน]] [[เขตบางพลัด]] [[เขตบางกอกน้อย]] [[เขตบางซื่อ]] และ[[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] พ.ศ. 2555 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องก่อสร้าง ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค ในการนี้สมควรกำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/016/4.PDF พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน พุทธศักราช 2555],ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 หน้า 4 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555.</ref> และมีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายโครงข่ายของทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในทางทิศตะวันตก เพื่อแบ่งเบาปริมาณจราจรระดับดินและระบายการจราจรทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
== การขอพระราชทานชื่อทางพิเศษ ==
นายณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำเรื่องขอพระราชทานชื่อโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ผ่านกระทรวงคมนาคมถึงสำนักราชเลขาธิการ โดยเสนอขอพระราชทานจำนวน 3 ชื่อ ได้แก่ '''ทางพิเศษสายวิถีประจิม''', '''ทางพิเศษสายประจิมรัช''' และ '''ทางพิเศษสายบรมราชชนก''' ทั้งนี้ ที่มาของชื่อทางพิเศษสายวิถีประจิมและทางพิเศษสายประจิมรัช เป็นชื่อที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เสนอโดยพิจารณาจากแนวสายทางของทางพิเศษเส้นนี้ที่มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ส่วนชื่อ '''ทางพิเศษสายบรมราชชนก''' [[ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ|บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]] หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเสนอขึ้นมา โดยเห็นว่า ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ มีแนวเส้นทางที่คู่ขนานไปกับทางยกระดับคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี ขณะนี้อยู่ระหว่างรอโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออย่างเป็นทางการ<ref>[https://www.thairath.co.th/content/645822 ขอพระราชทานชื่อทางด่วน สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก, เส้นทางใหม่สู่ทิศตะวันตก - ไทยรัฐ ออนไลน์]</ref>
 
== ลักษณะทางด่วน ==