ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางพิเศษบูรพาวิถี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oum13928 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
ใน พ.ศ. 2543 ทางพิเศษบูรพาวิถีได้รับการจัดอันดับโดย ''[[บันทึกสถิติโลกกินเนสส์|กินเนสส์บุ๊ค]]'' ให้เป็นสะพานมีความยาวที่สุดในโลก แต่ถูกโค่นสถิติลงในปี พ.ศ. 2551 โดยสะพานเว่ยหนาน-เว่ยเหอในประเทศจีนซึ่งเป็นสะพานรถไฟความเร็วสูง ทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นสะพานที่ยาวเป็นอันดับ 6 ของโลกในปัจจุบัน โดยที่อันดับ 1-5 เป็นสะพานทางรถไฟ ทำให้ทางพิเศษบูรพาวิถียังมีตำแหน่งเป็นสะพานทางรถยนต์ที่ยาวที่สุดในโลก
 
ทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นทางพิเศษสายแรกที่ใช้ระบบปิดหรือระบบเก็บเงินตามระยะทาง กล่าวคือ เวลารถที่จะขึ้นทางออกต้องรับบัตรที่ด่านทางเข้า และเวลารถที่จะลงทางด่วนต้องคืนบัตรและจ่ายเงินที่ด่านทางออก ในปัจจุบัน [[ถนนกาญจนาภิเษก|ทางพิเศษกาญจนาภิเษก]]และ[[ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7]] ก็ใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน ในอนาคต [[ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6]] และ[[ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81]] ก็จะใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางแบบปิดด้วยเช่นกัน
 
ในวันที่ท้องฟ้าเปิดจะทำให้มองเห็นเขาเขียวบนทางพิเศษตั้งแต่ กม.0 ขาออกไปจนถึง กม.55