ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาแต้จิ๋ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32:
== ประวัติและท้องถิ่นที่พูด ==
ภาษาแต้จิ๋วในปัจจุบัน เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาจีนโบราณของตระกูลหมิ่นหนาน เมื่อประมาณ คริตศตวรรษ ที่ 9 จนถึง ที่ 15 มีกลุ่มชาว [[หมิ่น]] (หมิ่น) ได้อพยพลงใต้จาก[[มณฑลฝูเจี้ยน]] (หรือฮกเกี้ยน) มาที่ทางตะวันออกของ[[มณฑลกวางตุ้ง]] ในเขตที่เรียกว่า เตี่ยซัว การอพยพดังกล่าวมีสาเหตุมาจากประชากรที่มากขึ้นในมณฑลฝูเจี้ยน
เนื่องจากภูมิประเทศใหม่ที่ค่อนข้างตัดขาดจากมณฑลฮกเกี้ยนเดิม และการได้รับอิทธิพลจากภาษากวางตุ้งและแคะ ภาษาแต้จิ๋วจึงได้กลายมาเป็นภาษาเอกเทศในภายหลัง ภาษาแต้จิ๋วนั้นจะพูดในเขตที่เรียกรวมกันว่า "เตี่ยซัว" ซึ่งมีเมือง[[แต้จิ๋ว]] ( หรือ เฉาโจว ในภาษาจีนกลาง) และซัวเถา (หรือ ซั่นโถว ในภาษาจีนกลาง) เป็นหลัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เตี่ยซัว" ดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพูดกันในเมืองกิ๊กเอี๊ย เตี่ยเอี๊ยะ โผวเล้ง เตี่ยอัง เหยี่ยวเพ้ง ฮุยไหลฮุ่ยไล้ และ เถ่งไฮ่
เขตเตี่ยซัวเคยเป็นเขตหนึ่งที่มีคนจีนอพยพออกนอกประเทศเป็นอันมากไปยังเอเซียอาคเนย์ในคริสต์ศตวรรษที่18-20 ซึ่งทำให้ภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาหลักหนึ่งในภาษาที่พูดกันมากในกลุ่ม [[ชาวจีนอพยพ]] โดยเฉพาะใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] เช่น [[ประเทศไทย]] [[กัมพูชา]] [[สิงคโปร์]] [[เวียดนาม]] [[มาเลเซีย]] [[อินโดนีเซีย]] และ [[ฮ่องกง]] และยังมีใน[[ทวีปยุโรป]] และ [[ทวีปอเมริกา]] ที่มีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพไป