ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่อง 3 เอชดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อิกคิวซัง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 82:
นอกจากนี้ ยังทยอยปรับปรุงระบบสายอากาศ ภายในสถานีเครือข่ายโทรทัศน์ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 สำหรับในส่วนของสถานีเครือข่าย จังหวัดขอนแก่น (ช่อง 7), จังหวัดอุบลราชธานี (ช่อง 6), จังหวัดสุรินทร์ (ช่อง 7), จังหวัดแพร่ (ช่อง 6) และจังหวัดเพชรบูรณ์ (ช่อง 11) ดำเนินการเมื่อปี [[พ.ศ. 2553]] สำหรับส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร มีการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ ระบบยูเอชเอฟหน่วยย่อยเพิ่มเติม โดยแพร่ภาพทางช่อง 60 เพื่อขจัดปัญหาในการรับสัญญาณ จำนวน 3 แห่งคือ บนอาคารจิวเวอรีเทรดเซ็นเตอร์ [[ถนนสีลม]] [[เขตบางรัก]], บนอาคารแฟมิลีคอมเพล็กซ์ สี่แยกสุทธิสาร [[เขตพญาไท]] และบน[[อาคารเอ็มโพเรียม]] [[ถนนสุขุมวิท]] [[เขตคลองเตย]] และกำลังดำเนินการจัดตั้ง สถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟสำรอง บนดาดฟ้าชั้น 36 ของอาคารมาลีนนท์ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ภายในเดือน[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2556]]
 
ต่อมาช่วงกลางปี พ.ศ. 2556 ไทยทีวีสีช่อง 3 เปลี่ยนระบบควบคุมการออกอากาศเป็นดิจิทัล และตั้งแต่เวลา 10:10 น. วันที่ 17 ตุลาคม ปีเดียวกัน ไทยทีวีสีช่อง 3 เปลี่ยนระบบออกอากาศเป็นดิจิทัล รวมถึงตั้งแต่เดือน[[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2557]] ทุกรายการที่ออกอากาศ ในทั้ง 3 ช่องระบบดิจิทัล ของไทยทีวีสีช่อง 3 ถ่ายทำด้วยระบบดิจิตอลดิจิทัล ภาพคมชัดสูง พร้อมทั้งปรับสัดส่วนภาพที่ออกอากาศ จากเดิม 4:3 เป็น 16:9 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก็เริ่มใช้กับไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อกด้วย ตั้งแต่วันที่ [[1 กันยายน]] ปีเดียวกัน
 
การออกอากาศระบบ[[แอนะล็อก]]ของไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ยุติการแพร่ภาพ พร้อมกับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ [[อสมท|บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]] เมื่อเวลา 00:01 น. ของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถือเป็นสถานีโทรทัศน์ของไทยช่องสุดท้ายที่ยุติการแพร่ภาพในระบบแอนะล็อก
[[ไฟล์:Channel3Thailand Logo.png|thumb|โลโก้ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2563]]
 
 
=== การออกอากาศในระบบดิจิทัล ===
[[ไฟล์:Channel 3-HD33 Logo2014.png|thumb|โลโก้ช่อง 3 HD ที่ใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2563]]
เส้น 102 ⟶ 100:
ต่อมาในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กสทช. ได้มีมติให้ยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกอย่างเป็นทางการ หลังจากที่สถานีโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกเดิม ได้แก่ [[ช่อง 7 HD|สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]] และ[[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]] ได้ยุติการออกอากาศในระบบเดิมทั้งหมดไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 [[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]] ได้ยุติการออกอากาศในระบบเดิมไปเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 [[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย|สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์]] ได้ยุติการออกอากาศระบบเดิมเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และ[[เอ็มคอตเอชดี|สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์]] ได้ยุติการออกอากาศระบบเดิมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน กสทช.​จึงมีมติให้วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถือเป็นวันสิ้นสุดการออกอากาศในระบบแอนะล็อกเดิมเพื่อที่จะได้นำคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ์ที่ใช้งานกับระบบดิจิทัลชั่วคราว กลับมาจัดสรรใหม่ให้กิจการโทรคมนาคมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระบบ [[5 จี]] ในอนาคต และได้มีมติให้ช่อง 3 ยกเลิกการออกอากาศคู่ขนานกับระบบดิจิทัลทางช่อง 33 โดยหากช่อง 3 ยังต้องการออกอากาศแบบคู่ขนาน ให้ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด เป็นผู้จัดสรรเนื้อหาให้ช่อง 33 แต่เพียงผู้เดียว แล้วให้ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนต์เมนต์ จำกัด นำเนื้อหาของช่อง 33 ไปออกอากาศทางระบบแอนะล็อกเดิมแทน อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 ได้ยื่นคัดค้านมติ เนื่องจากช่อง 3 ไม่สามารถยกเลิกระบบเดิมได้ โดยมีสาเหตุมาจากยังไม่หมดสัมปทานที่ทำไว้กับ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งแตกต่างจากกรณีของช่อง 7 เนื่องจาก บมจ.อสมท ถือเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานได้ รวมถึงการให้ บีอีซี-มัลติมีเดีย เป็นผู้จัดสรรเนื้อหาแต่เพียงผู้เดียว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์รายการของ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ อสมท ด้วย และอาจมีผลทำให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในด้านลิขสิทธิ์ในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ช่อง 3 รับมติของ กสทช. เพียงเรื่องเดียว คือการแยกตราสัญลักษณ์ของสถานีออกจากกัน โดยช่อง 3 ใช้วิธีการแสดงสัญลักษณ์ของระบบแอนะล็อกไว้ที่มุมล่างขวา ในขณะที่ระบบดิจิทัลยังคงยึดตำแหน่งเดิมคือมุมบนขวา
 
(ทั้งนี้ ตั้งแต่เที่ยงคืนวันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 สถานีฯ ได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562]] มาประดับไว้ที่มุมบนซ้าย ส่งผลให้ต้องวางแสดงสัญลักษณ์ระบบดิจิทัลไว้ที่มุมล่างขวา โดยคู่ขนานกับแสดงสัญลักษณ์ระบบแอนะล็อกไว้ที่มุมล่างขวาเช่นเดิม แต่ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ได้งดขึ้นตราสัญลักษณ์[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562|พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]] มุมบนซ้าย ในช่วงรายการสด หรือ รายการข่าว ยกเว้นวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ไปจนถึงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และแสดงไปจนสิ้นสุดห้วงการจัดงานพระราชพิธีในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
 
ภายหลังจากการยุติการแพร่ภาพในระบบแอนะล็อกของช่อง 3 แล้ว ช่อง 3 ก็ได้นำสัญลักษณ์ของระบบทีวีดิจิทัลเดิมออก ย้ายสัญลักษณ์ของระบบทีวีแอนะล็อกไปไว้ที่มุมบนขวาแทน แล้วปรับให้เป็น 3 มิติ แล้วเติมคำว่า HD ต่อท้าย เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของช่อง 3 เอชดี ในระบบทีวีดิจิทัล
 
=== อดีตการออกอากาศในระบบดิจิทัล ===
{{บทความหลัก|ช่อง 3 เอสดี|ช่อง 3 แฟมิลี}}
เส้น 135 ⟶ 136:
{{บทความหลัก|รายชื่อรายการที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3|รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3}}
 
ไทยทีวีสีช่อง 3 ถือเป็นผู้นำด้าน[[ละครโทรทัศน์]]ของประเทศไทย เนื่องจากเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชน เข้าเสนอผลงานผลิต[[ละครโทรทัศน์]]หลากหลายแนว ในเวลา[[ไพรม์ไทม์]] ช่วงเย็นและหัวค่ำ นอกจากนี้ ยังเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีจำนวน[[ผู้ประกาศข่าว]]มากที่สุด{{อ้างอิง}} และมีการนำเสนอข่าวถึงครึ่งหนึ่ง (12 ชั่วโมง) ของเวลาการออกอากาศทั้งหมด รวมถึงสถานีฯ ได้จัดซื้อระบบดิจิตอลดิจิทัลนิวส์รูม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทันสมัย ที่ได้รับการพัฒนาระดับสูง มูลค่ากว่า 80 ล้านบาท จากบริษัท โซนี่ ไทย จำกัด มาใช้ในการผลิต และนำเสนอข่าวของสถานีฯ อย่างเต็มระบบ เป็นแห่งแรกในภาคพื้น[[เอเชีย]] เมื่อวันที่ [[15 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2550]]<ref>[http://www.thaitv3.com/ch3/guide/aboutus_history04.php ทีวี 3 ไกด์: ดิจิตอลนิวส์รูม] จาก[[เว็บไซต์]]ไทยทีวีสีช่อง 3</ref> นอกจากนี้ ยังมี[[รายการโทรทัศน์]]หลากหลายประเภท ที่สร้างชื่อเสียงแก่สถานีอีกหลายรายการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้
 
<!--เรียงลำดับตามปีที่ออกอากาศครั้งแรก-->