ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วีเอชเอฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 15:
 
== การใช้ระบบในประเทศไทย ==
การใช้คลื่นความถี่ระบบวีเอชเอฟในประเทศไทย แบ่งเป็น ''การส่งวิทยุกระจายเสียง'' ด้วยระบบเอฟเอ็ม สเตอริโอ มัลติเพล็กซ์ ในช่วงความถี่ระหว่าง 87.5-108.0 เมกะเฮิร์ตซ์ และ ''การส่งวิทยุโทรทัศน์'' ในช่วงความถี่ระหว่างช่องสัญญาณที่ 2-12 รวมทั้งสิ้น 11 ช่อง ออกอากาศโดยใช้กำลังส่งภาพระหว่าง 30-300 กิโลวัตต์, กำลังส่งเสียงระหว่าง 1-10 กิโลวัตต์, ความถี่ภาพระหว่าง 40-250 เมกะเฮิร์ตซ์ และ ความถี่เสียงระหว่าง 40-260 เมกะเฮิร์ตซ์ สำหรับในส่วนของการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์นั้น ได้ดำเนินการออกอากาศจนกระทั่งถึงกลางปี พ.ศ. 2561 และปัจจุบันได้ยุติการออกอากาศโดยทั้งหมดแล้ว ซึ่งหลังจากนี้จะมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานใหม่ โดยให้ใช้กับการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงภาคพื้นดินระบบดิจิตอล ซึ่งจะเริ่มใช้งานเฉพาะระหว่างช่องสัญญาณที่ 5-12 ความถี่ระหว่าง 175-212 เมกะเฮิร์ตซ์ โดยจะเริ่มดำเนินการทดลองการออกอากาศในลักษณะใหม่ หลังจากปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
 
=== ประวัติ ===
การส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบเอฟเอ็มครั้งแรก ดำเนินการโดย[[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]]สังกัด[[กรมประชาสัมพันธ์]]เมื่อปี [[พ.ศ. 2494]]{{อ้างอิง}} ส่วนการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดย''[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4]]'' ของ[[บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2498]] โดยออกอากาศทางช่อง 4 ระบบขาวดำ และการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์สี ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดย''[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]]'' ซึ่ง[[บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด]] ได้รับสัมปทานจาก[[กองทัพบกไทย]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2510]] โดยออกอากาศทางช่อง 7 ในย่านความถี่ที่ 3 ทั้งนี้การแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ในระบบดังกล่าว ได้ดำเนินการออกอากาศมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสิ้นสุดการออกอากาศอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดยมี[[เอ็มคอตเอชดี|สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี]] ของ[[อสมท|บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]] (ซึ่งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งสุดท้ายที่ยุติการออกอากาศโดยผ่านทางสถานีโทรทัศน์จากกรุงเทพมหานคร และสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์บางจังหวัด ที่ยังคงออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ
 
== ดูเพิ่ม ==