ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอร์วีน ฟ็อน วิทซ์เลเบิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
วิทซ์เลเบินเป็นหนึ่งในบุคคลที่ต่อต้านระบอบนาซีตั้งแต่ที่ฮิตเลอร์เริ่มก้าวขึ้นสู่อำนาจ ยามที่พลเอก[[ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์]]และพลตรีเบรโดถูกสังหารใน[[คืนมีดยาว]]โดยพวกนาซีอ้างว่าเป็นอุบัติเหตุ เขาและเพื่อนทหารอย่าง[[เอริช ฟ็อน มันชไตน์|มันชไตน์]], [[วิลเฮ็ล์ม ริทเทอร์ ฟ็อน เลพ|เลพ]] และ[[แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท|รุนท์ชเต็ท]] เข้าชื่อเรียกร้องให้มีการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ เขายังวิพากษ์วิจารณ์ฮิตเลอร์ที่ข่มเหงรังแกจอมพล[[แวร์เนอร์ ฟ็อน บล็อมแบร์ค|บล็อมแบร์ค]]และนายพล[[แวร์เนอร์ ฟ็อน ฟริทช์|ฟริทช์]]ด้วยข้อกล่าวหาอื้อฉาว ด้วยเหตุนี้เอง วิทซ์เลเบินจึงถูกให้เกษียณก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์จำเป็นต้องเรียกตัววิทซ์เลเบินกลับมาทำงานอีกครั้งเพื่อเตรียมการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
 
ก่อนปี 1938 วิทซ์เลเบินเป็นสมาชิกของกลุ่มโอสเทอร์ หรือที่เรียกว่าแผนสมคบเดือนกันยายน ({{lang|de|''Septemberverschwörung''}}) สมาชิกในกลุ่มนี้มีทั้งพลเอกอาวุโส[[ลูทวิช เบ็ค]], นายพลเอก[[เอริช เฮิพเนอร์]], นายพลเอก[[คาร์ล-ไฮน์ริช ฟ็อน ชตึลพ์นาเกิล]], นายพลเรือเอก[[วิลเฮ็ล์ม คานาริส]] และพันโท[[ฮันส์ โอสเทอร์]] ทั้งหมดร่วมวางแผนรัฐประหารโค่นล้มฮิตเลอร์ วิทซ์เลเบินเริ่มจัดแจงคนของตัวเองไปอยู่ในตำแหน่งต่างๆในย่านที่ทำการรัฐบาลของกรุงเบอร์ลิน
 
กันยายน 1939 พลเอกอาวุโสวิทซ์เลเบินได้บัญชาการกองทัพที่ 1 ประจำ[[แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|แนวรบด้านตะวันตก]] และได้มีส่วนร่วมใน[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส]] หน่วยทหารของเขาซึ่งสังกัดกองทัพบกกลุ่ม C ได้ข้าม[[แนวพรมแดนมาฌีโน]]ในวันที่ 14 มิถุนายน 1940 ก่อนที่ฝรั่งเศสจะยอมจำนนในสามวันให้หลัง ด้วยความชอบนี้ วิทซ์เลเบินได้รับ[[กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก]]{{sfn|Fellgiebel|2000|p=450}} และได้เลื่อนยศขึ้นเป็นจอมพลในวันที่ 17 กรกฎาคม 1940