ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรรัตนโกสินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 52:
 
ครึ่งแรกของสมัยนี้เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับ[[พม่า]] [[เวียดนาม]]และ[[ลาว]] ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคม [[อังกฤษ]]และ[[ฝรั่งเศส]] จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่[[รัฐชาติ]]สมัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ [[การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย|การเลิกทาส]] และการขยายการศึกษาแก่[[ชนชั้นกลาง]]ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราช]]ถูกแทนที่ด้วยระบอบ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] ใน[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]
 
== การก่อตั้ง ==
[[ไฟล์:Old Bangkok canals.gif|left|180px|thumb|ภาพกรุงเทพมหานครโดยมีภูเขาทองเป็นฉากหลัง]]
รัชกาลที่ 1 ทรงฟื้นฟูระบบสังคมและการเมืองของ[[อาณาจักรอยุธยา|ราชอาณาจักรอยุธยา]] ทรงออกกฎหมายตราสามดวงประมวลกฎหมายใหม่ทรงฟื้นฟูพิธีในราชสำนัก และทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ การปกครองแบ่งเป็นหกกรม โดยในจำนวนนี้สี่กรมมีหน้าทีปกครองดินแดนโดยเฉพาะ กรมกลาโหมปกครองทางใต้ กรมมหาดไทยปกครองทางเหนือและตะวันออก กรมพระคลังปกครองดินแดนที่อยู่ทางใต้ของพระนคร และกรมเมืองปกครองพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ส่วนอีกสองกรมนั้นคือ กรมนาและกรมวัง กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปราชซึ่งเป็นพระอนุชาในพระมหากษัตริย์ พม่าซึ่งเห็นความวุ่นวาย ประกอบกับการโค่นล้ม[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] ได้[[สงครามเก้าทัพ|รุกรานสยามอีกใน พ.ศ. 2328]] ฝ่ายสยามแบ่งกำลังออกเป็นทางตะวันตกได้บดขยี้ทัพ[[พม่า]]ใกล้[[จังหวัดกาญจนบุรี]] นี่เป็นการรุกรานสยามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพม่า พ.ศ. 2345 พม่าถูกขับออกจาก[[ล้านนา]] พ.ศ. 2335 สยามยึดครอง[[หลวงพระบาง]] และนำดินแดนลาวส่วนใหญ่มาอยู่ใต้การปกครองโดยอ้อมของสยาม กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างเต็มที่ และกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงสถาปนาความเป็นเจ้าของสยามเหนือดินแดนที่ใหญ่กว่า[[ประเทศไทย]]ปัจจุบันอยู่มาก
 
=== การรุกรานเวียดนาม ===
ใน พ.ศ. 2319 เมื่อกบฏเต็ยเซิน (Tây Sơn) ยึดซาดินห์ (Gia Dinh) ก็ได้ประหารพระราชวงศ์เหงียนและประชากรท้องถิ่นเป็นอันมาก [[สมเด็จพระจักรพรรดิซา ล็อง|เหงียน อั๊ญ (Nguyễn Ánh)]] พระราชวงศ์เหงียนพระองค์สุดท้ายที่ยังมีพระชนม์อยู่ ทรงหนีข้ามแม่น้ำมายังสยาม ขณะที่ลี้ภัยในสยาม เหงียน อั๋นห์ทรงปรารถนาจะยึดซาดินห์คืน และขับกบฏเต็ยเซินออกไป พระองค์ทรงโน้มน้าวพระทัยของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ที่วางพระองค์เป็นกลาง ให้การสนับสนุนด้านกำลังพลและกำลังรุกรานขนาดเล็กแก่พระองค์ใน พ.ศ. 2326
 
กลาง พ.ศ. 2327 [[สมเด็จพระจักรพรรดิซา ล็อง|เหงียน อั๊ญ]] พร้อมกับกองทัพสยาม 20,000-50,000 นาย และเรือ 300 ลำ<ref name="Tucker">{{cite book|title=Vietnam|last=Tucker|first=Spencer|year=1999|publisher=[[University Press of Kentucky]]|ISBN= 0-8131-0966-3|page=15|place=Lexington}}</ref> เคลื่อนผ่านกัมพูชา ทางตะวันออกของ[[โตนเลสาบ]] และแทรกซึมแคว้นอันนัมซึ่งเพิ่งถูกผนวกล่าสุด ทหาร 20,000 นายถึงเกียนเซียง (Kien Giang) และอีก 30,000 นายขึ้นบกที่ชัป หลาบ (Chap Lap) ขณะที่สยามรุกคืบสู่เกิ่นเทอ (Cần Thơ) ปีเดียวกัน สยามยึดแคว้นเดียดินห์ ซึ่งอดีตเป็นของกัมพูชา มีการอ้างว่า ทหารสยามกระทำทารุณต่อประชากรผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเวียดนาม ทำให้ประชาชนท้องถิ่นหันไปสนับสนุนเตยเซิน<ref name="Tucker"/>
 
เหงวียนเหว (Nguyễn Huệ) แห่งราชวงศ์เตยเซิน ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเคลื่อนไหวของสยาม ทรงจัดวางทหารราบอย่างลับ ๆ ตามแม่น้ำเตียง (Tiền) ใกล้กับมายโตว (Mỹ Tho) ปัจจุบัน และเกาะกลางแม่น้ำบางเกาะ เผชิญกับกำลังอื่นฝั่งเหนือ พร้อมกำลังเสริมทางเรือทั้งสองฝั่งของที่ตั้งทหารราบ<ref name="Tucker"/>
 
เช้าวันที่ 19 มกราคม เหงวียนเหวทรงส่งกำลังทางเรือขนาดเล็ก ใต้ธงสงบศึก เพื่อลวงให้ฝ่ายสยามเข้าสู่กับดัก หลังได้รับชัยชนะหลายครั้ง ทัพบกและทัพเรือสยามจึงมั่นใจว่าจะต้องเป็นการยอมแพ้โดยบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงเดินเข้าสู่การเจรจาโดยไม่รู้เลยว่าเป็นกับดัก กองทัพของเหงวียนเหวโผเข้าทำลายแนวของสยาม สังหารทูตไม่มีอาวุธและโจมตีต่อไปยังทหารที่ไม่ทันตั้งตัว ยุทธการจบลงโดยกองทัพสยามเกือบถูกทำลายสิ้น แหล่งข้อมูลเวียดนามบันทึกว่า เรือทั้งหมดของทัพเรือสยามถูกทำลาย และมีกองทหารดั้งเดิมเพียง 2,000-3,000 นายที่รอดชีวิตหลบหนีกลับข้ามแม่น้ำไปในสยามได้<ref name="Tucker2">{{cite book|title=Vietnam|last=Tucker|first=Spencer|year=1999|publisher=[[University Press of Kentucky]]|ISBN= 0-8131-0966-3|page=16|place=Lexington}}</ref>
 
== สันติภาพ ==