ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนิติราษฎร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 92:
 
นายยุทธนา มุกดาสนิท ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ในฐานะตัวแทนศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์ฯ เปิดเผยว่า การออกมารวมตัวในครั้งนี้ เพื่อประกาศจุดยืน แสดงให้เห็นว่า ยังคงมีกลุ่มธรรมศาสตร์อีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งส่วนตัวก็มองว่า การที่กลุ่มนิติราษฎร์ออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไข ม.112 เป็นการก้าวล่วงสถาบันมากเกินไป เกินขอบเขตของการแสดงความคิดเห็นในทางวิชาการ<ref>https://www.thairath.co.th/content/235431</ref>
 
<br />
 
== หลักนิติรัฐกับคนเนรคุณ ==
โดย...รศ. ทวีเกียรติ  มีนะกนิษฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เขียนบทความเรื่อง"หลักนิติรัฐกับคนเนรคุณ" กล่าวถึงข้อเรียกร้องของนิติราษฎร์ ความดังนี้...........
 
เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยชี้ขาด พร้อมแสดงเหตุผลทั้งฝ่ายข้างมากและข้างน้อยอย่างละเอียดครบถ้วนแล้ว ประชาชนและนักวิชาการในมหาวิทยาลัยก็ได้แสดงความคิดเห็นกันพอหอมปากหอมคอแล้ว
 
เรื่องเหล่านี้น่าจะยุติและดำเนินชีวิตตามหน้าที่ของเราต่อไปด้วยความสงบ ปล่อยให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามคำวินิจฉัยนั้นต่อไปจะดีกว่า
 
แต่ปรากฏว่าเพื่อนอาจารย์ มธ.ของผู้เขียน 4-5 คน ยังคงแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลต่อสาธารณะค่อนข้างรุนแรง จนทำให้หลายคนรู้สึกสับสนว่า ผลคำตัดสินจะใช้ได้หรือไม่ต่อไป เหมือนกับจะดื้อไม่ยอมรับกติกาที่ศาลวินิจฉัยไปแล้วนั่นเอง
 
หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ผู้เขียนจะสอนลูกศิษย์ได้อย่างไร เมื่ออาจารย์กฎหมายเองยังไม่ยอมรับกติกาเสียงข้างมากของตุลาการรัฐธรรมนูญ?
 
อันที่จริงอาจารย์ มธ.ทั้ง 5 ท่าน น่าจะพอใจกับคำพิพากษาแล้ว เพราะมีตุลากรฝ่ายข้างน้อยได้รับความคิดของท่านไปถกเถียงในคณะตุลาการด้วยกันแล้วพร้อมเหตุผล แต่ก็สู้เสียงข้างมากเขาไม่ได้ ตุลาการทุกท่านก็ยอมรับกันแล้ว อย่าลืมว่าตุลาการแต่ละท่านนอกจากจะมีความรู้มากกว่าพวกเราแล้ว ท่านยังมีประสบการณ์ ความคิดที่เป็นอิสระ ความกล้าหาญสู้กับแรงกดดัน การข่มขู่และความรับผิดชอบในคำตัดสินของท่านเหล่านั้น มากกว่าอาจารย์ทั้ง 5 รวมทั้งตัวผมด้วยหลายเท่าตัวนัก ผมจึงเห็นว่า อาจารย์เราทั้งหลายได้ทำหน้าที่ชี้นำสังคมมาตามควรแล้ว
 
ปล่อยให้กระบวนการเป็นไปตามทางของมันเถิด
 
การที่หนังสือพิมพ์พาดหัวตัวโตว่า "5 อาจารย์ นิติ มธ.แย้ง..." ทำให้ดูเหมือนมีตั้ง 5 คน แต่แท้จริงแล้ว 2 ใน 5 คน ยังศึกษาไม่จบอยู่ต่างประเทศ อีกท่านหนึ่งก็เป็นเพียงผู้รับรองให้เท่านั้น
 
อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นั้น ขอชื่นชมว่าเป็น "กาลิเลโอหลงยุค"
 
ส่วน อาจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพาณิชย์ นั้น ชื่นชมว่าเป็น "ลกเจ๊ก" ในเรื่องสามก๊ก ที่กล่าวในไทยโพสต์ เมื่อวันที่ 9 เดือนนี้ ทำนองว่า หากให้กฎหมายย้อนหลังเป็นโทษได้ ต่อไปหากไทยรักไทยได้คืนอำนาจก็ออกอาจกฎหมายย้อนหลัง เอากับ คมช. คตส.ด้วย
 
การกล่าวเช่นนั้นนอกจากจะเทียบเคียงกรณีที่เกิดขึ้น อย่างผิดฝาผิดตัว (false analogy) แล้ว ยังเป็นการยืนยันในทางให้ร้ายกับไทยรักไทยด้วยว่า ที่ผ่านมาก็ทำลายหลักนิติรัฐอยู่แล้ว (ดูคำวินิจฉัยส่วนที่ว่าด้วยการแทรกแซงสื่อและใช้อำนาจนอกเหนือกฎหมายหาประโยชน์ใส่ตนและกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้าม) หากมีอำนาจอีกก็จะทำลายหลักนิติรัฐอีก แสดงว่าการถูกตัดสิทธินั้นถูกต้องแล้ว
 
เพราะว่าหากปล่อยไว้ก็คงต้องกลับมาทำผิดอีก
 
ผู้เขียนเคารพความเห็นของเพื่อนอาจารย์เหล่านั้น โดยขออธิบายเพิ่มเติมก่อนกลับไปสอนหนังสือโดยสงบ ดังนี้
 
1.หลักนิติรัฐ ที่อ้างกันอยู่นั้นเป็นหลักทางมหาชน มีใช้เพื่อคุ้มครองรัฐและประชาชน เป็นหลักประกันว่าทุกคนจะต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้น หากเอกชนคนใดมุ่งทำลาย หลักนิติรัฐย่อมจะถูกหลักมหาชนนำมาใช้เพื่อป้องกันมหาชนคนส่วนใหญ่นั้นได้
 
หากให้นำเอาความเสียหายของเอกชนมาไว้อยู่เหนือความเสียหายของมหาชน การท่องบ่นเรื่องหลักนิติรัฐก็จะไม่มีความหมาย เพราะหากหลักนี้ยังป้องกันตนเองไม่ได้ จะนำมาอ้างเพื่อคุ้มครองประชาชนและประเทศชาติได้อย่างไร ตัวเองยังเอาตัวไม่รอด!!!
 
นิติรัฐก็คงเป็นเพียงแบบพิธีให้ใครต่อใครมาหาประโยชน์ เพื่อความโก้เก๋ หรือเป็นเพียงเครื่องประดับห่วยๆ อย่างหนึ่งที่คนบางกลุ่มเห็นว่ามีค่า พร่ำพรรณนาเป็นคาถากันผีเท่านั้น
 
อยากจะถามว่า ถ้าผู้กุมอำนาจของรัฐ กระทำการขัดต่อหลักนิติรัฐ มุ่งทำลายความเป็นนิติรัฐ ใครจะยุติการทำลายนี้ได้ ดูตามสำนวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ จะเห็นพฤติการณ์ว่า (ข้อ 9, 10 และข้อ 11)
 
การกระทำของพรรคไทยรักไทยและกรรมการบางคน
 
- ทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นเพียง แบบพิธี ที่จะนำไปสู่การผูกขาดทางการเมืองเท่านั้น
 
- มิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของ สิทธิเลือกตั้ง ของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
 
- ไม่เคารพยำเกรง ต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่ ได้รับความไว้วางใจ จากประชาชนสูงสุด ในการเลือกตั้ง 2 ครั้งสุดท้าย
 
- ไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติ ตามที่สัญญาไว้กับประชาชน มุ่งเพียงให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ
 
- เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ก็ไม่ได้บริหารโดยสุจริต แต่แอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
 
- ไม่สร้างสรรค์จรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองแก่ระบอบการปกครอง ของประเทศโดยรวม
 
การกระทำของบุคคลเหล่านี้ เป็นการบริหารอำนาจรัฐโดยการทุจริตทำลายหลักนิติรัฐ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หลักนิติรัฐจะอยู่ได้อย่างไร
 
2.ประเด็นเรื่องกฎหมายย้อนหลัง ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันไม่ยุตินั้น ในฐานะนักกฎหมายอาญาขออธิบายว่า กฎหมายทั้งหลายมีขึ้นก็เพื่อใช้แก้ปัญหาไม่ใช่สร้างหรือสะสมปัญหา จึงต้องใช้ให้ทันทีเพื่อให้เหมาะสมทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายวิ.แพ่งหรือวิ.อาญา
 
แม้สิทธิของโจทก์ จำเลยอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
 
ก็นำไปใช้ย้อนหลังขณะที่ศาลพิจารณาพิพากษาได้
 
อย่างไรก็ตาม เฉพาะความผิดอาญา หากย้อนหลังไปเป็นโทษแล้ว ต้องห้าม เหตุผลก็เพราะไม่กำหนดความผิดและโทษไว้ก่อน
 
การกำหนดความผิด กฎหมายต้องประกาศให้ทราบก่อนว่าการกระทำใดเป็นความผิด จะได้ไม่ทำผิดนั้น หมายถึงการกำหนดความผิดใหม่ๆ ขึ้น จะนำไปกล่าวหาผู้กระทำย้อนหลังไม่ได้เพราะ เขาไม่รู้มาก่อนว่าการกระทำของเขาจะเป็นความผิด
 
แต่ตามข้อเท็จจริงในคดี ที่ปรากฏตามสำนวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ การกระทำของนักการเมืองและพรรคการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความไม่ซื่อสัตย์สุจริต เลือกตั้งแบบคดโกง ทุจริตผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามที่มีอยู่เดิมแล้ว จึงไม่ใช่การกำหนดความผิดขึ้นใหม่
 
กลุ่มผู้กระทำจะว่าไม่รู้ว่าเขาห้ามโกง ห้ามทุจริต คงผิดวิสัย
 
เพราะก่อนการเข้ารับตำแหน่งก็สาบานกันแล้วว่าจะไม่โกง ไม่ทุจริต
 
บางคนสาบานตั้งหลายรอบ
 
ดังนั้น การวินิจฉัย ความผิดนี้จึงไม่ใช่การย้อนหลัง
 
การกำหนดโทษ การตัดสิทธิไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้
 
อย่างไรก็ตาม กฎหมายอาญาก็ไม่ห้าม การใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยย้อนหลัง โดยกำหนดให้ใช้ได้ในขณะศาลพิพากษา แม้ว่าขณะกระทำความผิดจะไม่มีมาตรการเหล่านี้ก็ตาม เพราะมาตรการใหม่ๆ ย่อมจะนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดในอนาคตได้ดีกว่าเป็นประโยชน์ทั้งผู้กระทำผิดเพราะไม่ใช่โทษอาญา และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมเพราะมีมาตรการใหม่กับการกระทำ เพื่อป้องกันการเกิดความผิดได้ดีกว่าเดิม
 
การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องกฎหมายย้อนหลังอันเป็นผลร้ายหรือเป็นโทษแก่บุคคล เทียบได้กับกรณีคนที่มาเช่าบ้าน ทำบ้านสกปรกเลอะเทอะเสียหาย ถึงขนาดลงมือรื้อฝาบ้านไปขาย, ให้คนนอกมาเช่าพื้นที่อยู่อาศัยโดยเอารายได้ใส่ตน, ค่อยๆ ทยอยขายทรัพย์สินในบ้านที่เจ้าของบ้านสะสมไว้ จนบ้านทรุดโทรม ทรัพย์สินร่อยหรอลงไปทุกที
 
เมื่อความจริงเปิดเผยเข้า จึงมีการบอกเลิกสัญญาเช่า โดยเพียงขอให้ผู้เช่าออกจากบ้านไปชั่วคราวก่อน จะได้เข้าไปซ่อมแซมบ้าน ไม่ได้เอาไปลงโทษ ทำร้ายที่ไหน การให้ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านเช่าออกไปจากบ้าน เพื่อป้องกันความเสียหายของบ้าน จึงไม่ใช่โทษ แต่เป็นมาตรการเพื่อยุติความเสียหายแก่บ้านเช่าที่เขากำลังทำลายอยู่
 
ผู้เช่าที่กำลังทำลายบ้านนั้นกลับโวยวายว่าตนถูกตัดสิทธิ แถมยังมีคนบางคนเข้าใจผิดเห็นอกเห็นใจผู้เช่า ทั้งๆ ที่เจ้าของบ้านน่าจะจับผู้เช่าที่ทำลายข้าวของนี้ ติดคุกด้วยซ้ำ แต่เขาก็ไม่ทำ
 
จึงเห็นตรงข้ามกับ อาจารย์วรเจตน์ โดยสิ้นเชิงว่า
 
หากไม่นำมาตรการตัดสิทธิเลือกตั้งอันไม่ใช่โทษนี้ ไปใช้กับกลุ่มผู้ทุจริตในการเลือกตั้งกลับจะทำให้ประชาชนภายใต้หลักนิติรัฐจะคลางแคลงและไม่ไว้วางใจให้ความเชื่อถือต่อหลักนิติรัฐเพราะความผิดปรากฏชัด แต่ผู้ทำผิดกลับลอยนวลไปได้
 
เขาจะตั้งคำถามว่าทำไมประชาชนทำบัตรเลือกตั้งฉีกขาดนิดเดียวก็อาจถูกตัดสิทธิถึง 10 ปี แต่คนโกงเลือกตั้งทั้งโขยงไม่โดนอะไรเลย?
 
หากจะอ้างว่าการตัดสิทธิเป็นโทษหรือเป็นคุณก็ต้องถามว่าเป็นโทษกับใคร หรือจะให้เป็นคุณกับใคร เป็นหน้าที่ของนักกฎมหายมหาชนที่ดูแลนิติรัฐด้วยที่จะต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง (การตัดสิทธิ) เป็นโทษกับเอกชน กับ (การไม่ตัดสิทธิ) เป็นโทษกับมหาชน ท่านจะเลือกอย่างไร ที่ดินเอกชนขวางถนนอยู่แปลงเดียว กฎหมายมหาชนจะยึดกรรมสิทธิ์ย้อนหลังโดยเวนคืนตัดถนนผ่านเพื่อมหาชนหรือไม่?
 
หากเอามหาชนเป็นหลัก การใช้มาตรการดังกล่าวจึงไม่ใช่การย้อนหลังไปเป็นโทษแต่กลับเป็นคุณแก่มหาชนทั้งสิ้น
 
- เป็นคุณแก่ประชาชนผู้มีอำนาจสูงสุด จะไม่ถูกลบหลู่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
 
- เป็นคุณแก่รากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
 
- เป็นคุณแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองที่จะได้รับการคุ้มครอง
 
- เป็นคุณแก่หลักนิติรัฐที่จะไม่ถูกคนกลุ่มนี้มาทำลายในอนาคต
 
- เป็นคุณแก่ความมั่นคงทางการเมืองของชาติ
 
- เป็นคุณแก่สมาชิกพรรคไทยรักไทย กว่า 14 ล้านคน จะได้ตาสว่างเห็นพฤติการณ์ทุจริตในการเลือกตั้งที่พรรคและบุคคลที่ตนมอบศรัทธาและความไว้วางใจ กระทำเอาลับหลังตน
 
- เป็นคุณแก่สมาชิก กว่า 14 ล้านคนเหล่านี้จะได้ไม่ถูกบังคับให้หลับตาเลือกคนที่มาทำลายความไว้วางใจของเขาเหล่านั้นอีก
 
- เป็นคุณแก่คนไทยที่ไม่ใช่สมาชิกเป็นคุณแก่อีกกว่า 45 ล้านคน ที่จะได้เลือกตั้งอย่างสบายใจขึ้น
 
- เป็นการจรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองเพราะเป็นพรรคที่มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติ หากแต่มุ่งประสงค์ที่จะดำเนินการทุกวิธีทางเพื่อให้ได้มายังอำนาจในการปกครองประเทศเพื่อหาประโยชน์เข้าพวกพ้องของตนเท่านั้น
 
- เป็นคุณต่อผู้ถูกตัดสิทธิทั้งหมดทุกคนนั้นด้วย เพราะจะไม่มีโอกาสได้ไปกระทำความผิดที่เคยทำนั้นอีกอย่างน้อย เป็นเวลา 5 ปี หากปล่อยไว้เขาก็จะไปกระทำความผิดจนเขาอาจถึงขั้นติดคุกได้
 
การใช้มาตรการดังกล่าวจึงกลับเป็นคุณแก่ทุกฝ่าย
 
โดยเฉพาะผู้อยู่ในกรอบของกฎหมายและความสุจริต
 
หากไม่ตัดสิทธิ การทุจริตก็จะกลับเกิดซ้ำซากอีก
 
3.การตัดสิทธิดังกล่าว เป็นการตัดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานหรือไม่?
 
การใช้สิทธิและการใช้เสรีภาพของบุคคลตามกฎหมายวางอยู่บนรากฐานแห่งหลัก "สุจริต" สิทธิและเสรีภาพจึงมีไว้ให้ผู้ที่สุจริตใช้อย่างเต็มที่ หลักนี้ยืนยันไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชนมานานเนกาเลแล้วว่า
 
การใช้สิทธิต้องใช้โดยสุจริต
 
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
 
เมื่อทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมาย ก็ต้องให้หยุดทำได้ เพื่อระงับความเสียหายที่จะเกิดต่อไปภายหน้า จึงเห็นได้ว่า แม้ในทางกฎหมายเอกชนก็ยังให้ระงับการใช้สิทธิที่ไม่สุจริตได้
 
ในทางมหาชน ยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น เพราะหากมีการใช้สิทธิไม่สุจริต แม้ทางเอกชนความเสียหายเฉพาะเอกชนเท่านั้นกฎหมายยังให้ใช้บังคับยับยั้งการกระทำได้ ในทางมหาชนใช้สิทธิไม่สุจริตต่อมหาชนยิ่งจะส่งผลกระทบและก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่คนจำนวนมากหากยังคงตัดสิทธิการใช้นั้นไม่ได้ หลักสุจริตและนิติรัฐก็ถูกทำลายไม่มีใครได้ยกขึ้นอ้างอีก
 
ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ลงโทษเพียงแต่ "ชี้กรรม" ที่เขากระทำแก่การเลือกตั้ง และระบอบการปกครองของบ้านเมืองเท่านั้น
 
การตัดสิทธิดังกล่าวจึงไม่ใช่ผลร้าย หรือการลงโทษผู้กระทำ หลักนี้ชาวบ้านธรรมดาทั่วไปที่เป็นธรรมก็กล่าวอ้างได้ว่า
 
"เมื่อเล่นโกง ก็ไม่ให้เล่น"
 
สรุป การที่ยึดถือหลักนิติรัฐต้องทำโดยมีจิตวิญญาณที่จะปกป้องนิติรัฐด้วย โดยต้องมองให้รอบรู้ให้ทั่ว หากเห็นไม่รอบ กอดแต่หลักไว้อย่างเดียวไม่ดูว่ามดแทะ ปลวกทะลวงหลักจนปรุพรุนเป็นโพรงอยู่ข้างในไปหมดแล้วยังพร่ำเพ้อว่าหลักยังดีอยู่ ทั้งๆ ที่รู้และโวยวายให้ใครก็ได้เข้ามาแก้ไข แต่พอมีคนจะไปช่วยพยุงซ่อมแซม โดยเอามด ปลวกออกจากหลัก โดยที่เขาก็เมตตาไม่ฆ่ามด ปลวกเท่านั้น เพียงแต่ขอกวาดออกจากหลักไม้ไปชั่วคราว เพื่อซ่อมแซมหลักให้มั่นคงแล้วจะเชิญให้มด ปลวกเหล่านี้มากัดกินกันใหม่เท่านั้น
 
คนที่อ้างว่าตนพิทักษ์หลักนิติรัฐเหล่านี้ก็ยังคงกอดหลักขวางกั้นออกหน้าปกป้องมด ปลวก ไม่ให้ใครไปแตะต้องมด ปลวกเหล่านั้น โดยคิดว่าเป็นการปกป้องสิทธิของมดและปลวกเหล่านั้นตามหลักนิติรัฐอยู่
 
แทนที่จะเป็นการบำรุงรักษา กลับเป็นการช่วยทำลายหลักนิติรัฐทางอ้อม
 
ไม่เห็นแม้กระทั่งพวกปลวกๆ ทั้งหลายกำลังนั่งหัวเราะเยาะพวกกำจัดปลวกที่ทะเลาะกันเอง
 
เท่ากับเนรคุณหลักนิติรัฐเสียเอง
 
ความเห็นของพวกเขาเหล่านี้ จึงเป็นการ "เห็นต้นไม้แต่ไม่เห็นป่า"
 
ป่าไม้ถูกทำลายลงทุกวัน ท่านเหล่านี้กู้รู้อยู่ เรียกร้องให้ช่วยกันปราบพวกตัดไม้ทำลายป่า
 
แต่พอเขาจะไปจับคนตัดต้นไม้ ท่านเหล่านี้ก็ออกขวางกั้น โดยอ้างว่า ชาวบ้านตัดต้นไม้ต้นสอง ต้น ไม่เสียหาย ต้องคุ้มครองให้เขาอยู่กินได้
 
ท่านเหล่านี้จึงเห็นแต่คนตัดไม้ทีละต้น แต่ไม่เคยเห็นคนทำลายป่า
 
หารู้ไม่ว่าคนเหล่านั้นตัดทีละต้น เป็นร้อย เป็นล้านต้นแล้ว
 
ฉันใดก็ฉันนั้น เราจึงไม่สามารถดำเนินการกับคนทำลายหลักนิติรัฐได้เสียที ด้วยฝีมือของคนที่คิดว่าตนเป็นคนพิทักษ์อนุรักษืหลักนิติรัฐ แต่มองไม่เห็นปลวกที่กำลังกัดกิน และทำลายหลักนิติรัฐที่เขาบูชาอยู่ตำหูตำตา
 
ดังนี้ แทนที่จะเป็นองครักษ์พิทักษ์หลักนิติรัฐ
 
กลับกลายเป็นองครักษ์พิทักษ์ปลวกไปเสียนี่!!!
 
หลักนิติรัฐจึงถูกเนรคุณด้วยสายตาที่คับแคบเช่นนี้เอง
 
(ขอกลับไปสอนนักศึกษาตามหน้าที่ให้ดีที่สุดละนะ
 
เจอกันใหม่เมื่อมีวิกฤตหมายภายหน้า... กาลิเลโอ...)<ref>http://oknation.nationtv.tv/blog/dinsor/2007/06/21/entry-4</ref>
 
== การยกย่องในสื่อ ==