ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดคุย:ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
 
เห็นด้วยครับ ว่าควรลบ เหมือนพยายามจะเขียนในนามบริษัท Bangkok Mass Transit System (BTSC) ดูจากประวัติการเขียนแล้ว ตอนแรกสุดคือ เป็นบริษัทครับ แต่คนมาเขียนต่อ เขียนแล้วหลงทาง นึกว่าหมายถึงระบบ เละเทะมากครับ --[[ผู้ใช้:Sry85|Sry85]] ([[คุยกับผู้ใช้:Sry85|คุย]]) 01:09, 15 มีนาคม 2563 (+07)
 
:: ขอเห็นต่างนะครับ เท่าที่ย้อนอ่านและศึกษามา "ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร" หรือ "BMT" มีตัวตนอยู่จริงครับ ชื่อนี้ เป็นแผนงานระบบขนส่งมวลชนสายต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ของทาง BMA และ สจส. กทม. โดยตรง และเป็นชื่อ "ที่ถูกเขียนอยู่บนรายละเอียดโครงการและสัญญาการใช้งานระบบบนสถานีบีทีเอสทุกสถานี" จริงอยู่ครับที่ไม่มีเว็บไซต์โครงการอ้างอิงโดยตรงเหมือนของรถไฟฟ้ามหานครที่มีเว็บไซต์รวมเป็นของ รฟม. เพราะโครงการ BMT มีผู้รับผิดชอบหลายรายมากภายใน Owner เดียวคือ สจส. กทม. ทั้ง บีทีเอส และ กรุงเทพธนาคม รวมถึงในอนาคตอาจมีคนดำเนินการอื่นอีกเช่น บีอีเอ็ม จากการเปิดประมูลโครงการของทาง กทม. เอง
 
::เท่ากับว่าระดับของบทความ "ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร" มันจะเท่ากับ "รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง" และ "รถไฟฟ้ามหานคร" โดยปริยายอยู่แล้วจากความหมายบนป้ายของบีทีเอสและแผนงานของ กทม. โดยตรง และตามที่คุณ @Portalian อ้างว่าควรยก "รถไฟฟ้าบีทีเอส" ขึ้นไปเท่า "รถไฟฟ้ามหานคร" มันก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะคำว่า "รถไฟฟ้าบีทีเอส" คือชื่อของระบบรถไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยทางบีทีเอสซี หรือกลุ่มบีทีเอส ซึ่งมีเจ้าของทั้ง กทม. และ รฟม. นั่นคือสายสีเขียวที่เรียกติดปากอยู่แล้ว และสายสีเหลือง/ชมพู/ทอง ที่อาจจะถูกเหมาเรียกว่าเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วย นี่ยังไม่รวมกรณีว่าถ้าในอนาคตว่าบีทีเอสประมูลสายสีส้มได้ แล้วบีทีเอสเกิดเรียกสายสีส้มว่า "รถไฟฟ้าบีทีเอส" ขึ้นมา คราวนี้ความหมายจะยิ่งเพี้ยนกันแล้วใหญ่ครับ
 
::ผมว่าควรกู้บทความที่ถูก Redirect ไปหน้า [[บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์]] ก่อน แล้วค่อยพิจารณากันต่อครับ --[[ผู้ใช้:Magnamonkun|Magnamonkun]] ([[คุยกับผู้ใช้:Magnamonkun|คุย]]) 04:14, 15 มีนาคม 2563 (+07)
กลับไปที่หน้า "ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร"