ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเซ็งโงกุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
หลังจากเหตุการณ์การวิวาทที่เมือง[[หนิงปัว]] (Ningbo incident) ในค.ศ. 1523 ทำให้ตระกูลโออูจิเป็นผู้มีเอกสิทธิ์ในฐานะตัวแทนรัฐบาลโชกุนในการค้าบรรณาการกับจีน[[ราชวงศ์หมิง]] เมืองท่ายามางูจิรุ่งเรื่องจากการค้าขายกับต่างชาติ ในสมัยของโออูจิ โยชิตากะ ({{ญี่ปุ่น|大内義隆|Ōuchi Yoshitaka}}) อำนาจของตระกูลโออูจิรุ่งเรืองสูงสุด ในค.ศ. 1542 โออูจิ โยชิตากะ และทหารเอกคนสนิทชื่อว่าซูเอะ ฮารูตากะ ({{ญี่ปุ่น|陶 晴賢|Sue Harukata}}) ยกทัพเข้าไปยังแคว้นอิซูโมะเพื่อรุกรานตระกูลอามาโงะ แต่ถูกฝ่ายอามาโงะตีแตกพ่ายแพ้ ทำให้โออูจิ โยชิตากะ หันไปสนใจการเมืองในรัฐบาลโชกุนที่เกียวโตแทน และให้ซูเอะ ฮารูตากะ เป็นผู้รักษาการแทนที่แคว้นซูโอ ในค.ศ. 1550 นักบุญ[[ฟรันซิสโก ฆาบิเอร์|ฟรันซิส เซเวียร์]] (Francis Xavier) พำนักอยู่ที่เมืองยามางูจิเป็นเวลาสองเดือน ในค.ศ. 1551 โออูจิ โยชิตากะ เสนอให้มีการย้ายราชสำนักญี่ปุ่นของพระจักรพรรดิจากเมืองเกียวโตมาอยู่ที่เมืองยามางูจิ ซูเอะ ฮารูตากะ ไม่พอใจที่โออูจิ โยชิตากะผู้เป็นเจ้านายของตนละทิ้งศึกทางทหารในภูมิภาคชูโงกุและหันไปสนใจการเมืองที่เกียวโตแทน จึงก่อกบฎนำกำลังเข้าจับกุมโออูจิ โยชิตากะ ที่วัดไทเน เรียกว่า เหตุการณ์วัดไทเน (Tainei-ji Incident {{ญี่ปุ่น|大寧寺の変|Taineiji no hen}}) ซูเอะ ฮารูตากะ บังคับให้โออูจิ โยชิตากะ นายของตนทำการ''เซ็ปปุกุ''เสียชีวิต และเข้ายึดอำนาจครอบครองตระกูลโออูจิ
[[ไฟล์:Battle of Miyajima-2.jpg|thumb|370x370px|ยุทธนาวีที่มิยาจิมะ (Battle of Miyajima) ค.ศ. 1555 [[โมริ โมโตนาริ]] สามารถเอาชนะซูเอะ ฮารูตากะ ทำให้อำนาจของตระกูลโออูจิจบสิ้นลงและตระกูลโมริขึ้นมาเป็นผู้มีอำนาจในภูมิภาค[[ชูโงกุ]]แทน]]
ในค.ศ. 1554 [[โมริ โมโตนาริ]] ({{ญี่ปุ่น|毛利元就|Mōri Motonari}})''ไดเมียว''แห่งแคว้นอากิ ([[จังหวัดฮิโรชิมะ]]ในปัจจุบัน) ยกทัพเข้ารุกรานตระกูลโออูจิเพื่อแก้แค้นให้แก่โออูจิ โยชิตากะ ซึ่งถูกซูเอะ ฮารูตากะ ยึดอำนาจไป โมริ โมโตนาริ มีชัยชนะใน[[ยุทธนาวีมิยาจิมะ|ยุทธนาวีที่มิยาจิมะ]] (Battle of Miyajima) ในค.ศ. 1555 ซูเอะ ฮารูตากะทำการ''เซ็ปปุกุ''เสียชีวิต ตระกูลโออูจิจึงสูญสิ้นไปและตระกูลโมริเข้าครอบครองดินแดนของตระกูลโออูจิทั้งหมดซึ่งประกอบไปด้วยทั้งสองฝั่งของ[[ช่องแคบคัมมง]] นอกจากนี้โมริ โมโตนาริ ยังยกทัพเข้ารุกรานตระกูลอามาโงะในแคว้นอิซูโมะ เมื่อโมโตนาริเข้ายึดปราสาทกัสซันโตดะได้สำเร็จในค.ศ. 1566 ตระกูลอามาโงะจึงสูญสิ้นไปดินแดนของอามาโงะกลายเป็นของตระกูลโมริ เมื่อโมริ โมโตนาริเสียชีวิต ตระกูลโมริเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคชูโงกุ ครอบครองดินแดนทั้งฝั่ง[[ทะเลเซโตะใน]]และฝั่งทะเลญี่ปุ่น [[โมริ เทรูโมโตะ]] หลานชายของโมริ โมโตนาริ ขึ้นเป็น''ไดเมียว''แห่งตระกูลโมริคนต่อมา
 
[[โอดะ โนบูนางะ]] ส่งฮาชิบะ ฮิเดโยชิ ยกทัพเข้ารุกรานภูมิภาคชูโงกุในค.ศ. 1578 โมริ เทรูโมโตะ รวมสรรพกำลังพลของ''ไดเมียว''แคว้นต่างๆในภูมิภาคชูโงกุเพื่อต้านทานการรุกรานของฮาชิบะ ฮิเดโยชิ การสู้รบกินเวลายืดเยื้อจนกระทั่งในค.ศ. 1582 เกิด[[การล้อมฮนโนจิ|เหตุการณ์ที่วัดฮนโน]] โอดะ โนบูนางะถูกลอบสังหาร เมื่อฮาชิบะ ฮิเดโยชิ กลายเป็น[[โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ]]ผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นในทางพฤตินัยแล้ว โมริ เทรูโมโตะ จึงนำตระกูลโมริเข้าสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลโทโยโตมิ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ แต่งตั้งให้[[อูกิตะ ฮิเดอิเอะ]] ({{ญี่ปุ่น|宇喜多 秀家|Ukita Hideie}}) เป็น''ไดเมียว''แห่งแคว้นบิเซ็ง ([[จังหวัดโอกายามะ]]) เพื่อคานอำนาจกับตระกูลโมริ ในค.ศ. 1589 โมริ เทรูโมโตะ สร้างปราสาทฮิโรชิมะเป็นฐานแห่งใหม่ของตระกูลโมริ ใน[[ยุทธการที่เซกิงาฮาระ]] โมริ เทรูโมโตะ และตระกูลโมริอยู่ฝ่ายตะวันตกของ[[อิชิดะ มิตสึนาริ]] ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทำให้ตระกูลโมริถูกยึดดินแดนอันกว้างใหญ่ในภูมิภาคชูโงกุไปเกือบทั้งหมด เหลือเพียงแคว้นนางาโตะหรือ[[แคว้นศักดินาโชชู|แคว้นโชชู]] ({{ญี่ปุ่น|長州|Chōshū}}) ตระกูลโมริมีฐานใหม่ที่เมืองปราสาทฮางิ
 
==== ภูมิภาคชูบุ ====
บรรทัด 49:
 
==== ภูมิภาคคีวชู ====
ในยุคมูโรมาจิ ตระกูลโชนิ ({{ญี่ปุ่น|少弐|Shōni}}) ซึ่งมีบทบาทในการต้านทาน[[การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล]]ครองอำนาจอยู่ในเกาะคีวชูภาคเหนือ ในขณะที่ตระกูลชิมาซุ ({{ญี่ปุ่น|島津|Shimazu}}) ครองอำนาจในภาคใต้ของเกาะคีวชู ทั้งสองตระกูลนี้ครองอำนาจในพื้นที่มาอย่างยาวนานตั้งแต่[[ยุคคามากูระ]] ตระกูลโชนิทำสงครามขับเขี่ยวกับตระกูลโออูจิแห่งแคว้นซูโอในภูมิภาคชูโงกุ ตระกูลโออูจิยกทัพเรือข้ามช่องแคบคัมมงเข้ายึดคีวชูเหนือและเมือง[[ดาไซฟุ]]ในค.ศ. 1497 แต่ตระกูลโชนิยึดคืนมาได้ในค.ศ. 1530 ตระกูลรีวโซจิ ({{ญี่ปุ่น|龍造寺|Ryūzōji}}) แห่งแคว้นฮิเซ็ง ([[จังหวัดซางะ]]และ[[จังหวัดนางาซากิ]]) ซึ่่งเป็นข้ารับใช้ของตระกูลโชนิ แปรพักตร์จากตระกูลโชนิไปเข้าฝ่ายตระกูลโออูจิ โออูจิ โยชิตากะ ผู้นำของตระกูลโออูจิ ร่วมกับตระกูลรีวโซจิเข้าทำลายตระกูลโชนิทำให้ตระกูลโชนิสูญสิ้นไปในค.ศ. 1533
ต่อมาเมื่อตระกูลโมริแห่งแคว้นอากิในชูโงกุเข้ายึดอำนาจตระกูลโออูจิแล้ว ตระกูลโมริจึงเข้ามาปกครองคีวชูภาคเหนือแทน
<br />
 
ในค.ศ. 1543 เรือโปรตุเกสมาเทียบที่เกาะ[[ทาเนงาชิมะ]] ({{ญี่ปุ่น|種子島|Tanegashima}}) ทางตอนใต้ของ[[แคว้นซัตสึมะ]] [[ชิมาซุ ทากาฮิซะ]] ({{ญี่ปุ่น|島津貴久|Shimazu Takahisa}}) แห่งซัตสึมะให้การต้อนรับแก่ชาวโปรตุเกส เป็นการติดต่อระหว่างญี่ปุ่นและชาวตะวันตกครั้งแรกและเป็นจุดเริ่มต้นของ'''ยุคการค้านัมบัง''' (Nanban trade {{ญี่ปุ่น|南蛮貿易|Nanban bōeki}}) การเข้ามาของชาวโปรตุเกสทำให้ซามูไรในเกาะคีวชูได้รับวิทยาการปืนจากโปรตุเกสซึ่งมีผลต่อการสงครามและวิทยาการปืนถูกเผยแพร่ไปยังส่วนอื่นๆของญี่ปุ่นต่อไป ในค.ศ. 1549 นักบุญ[[ฟรันซิสโก ฆาบิเอร์|ฟรันซิส เซเวียร์]] เดินทางมาถึงเมือง[[คาโงชิมะ]]ซึ่งเป็นฐานของตระกูลชิมาซุ [[คณะเยซูอิต]]นำโดยบาทหลวงอเลสซานโดร วาลิญยาโน (Alessandro Valignano) เผยแพร่ศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกให้แก่ชาวญี่ปุ่นในเกาะคีวชูทุกระดับตั้งแต่ซามูไรจนถึงชาวบ้าน ในค.ศ. 1563 ''ไดเมียว''[[โอมูระ ซูมิตาดะ]] ({{ญี่ปุ่น|大村純忠|Ōmura Sumitada}}) แห่งคาบสมุทรนิชิโซโนงิ ({{ญี่ปุ่น|西彼杵|Nishi-sonogi}} [[จังหวัดนางาซากิ]]) เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ เป็น''ไดเมียว''ชาวคริสเตียนคนแรกในประวัติศาสตร์ ในค.ศ. 1570 โอมูระ ซูมิตาดะ ยกดินแดนบริเวณคาบสมุทรนิชิโซโนงิให้แก่โปรตุเกสใช้เป็นท่าเรือ กลายเป็นเมือง[[นางาซากิ]]ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าของโปรตุเกส
 
ค.ศ. 1551 โอโตโมะ โยชิชิเงะ ({{ญี่ปุ่น|大友義鎮|Ōtomo Yoshishige}}) ไดเมี่ยวแห่งแคว้นบูงโงะ ([[จังหวัดโออิตะ]]) รวบรวมอำนาจตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ในคีวชูภาคเหนือสามารถยึดแคว้นฮิโงะ ([[จังหวัดคูมาโมโตะ]]) และชิกูเซ็ง ([[จังหวัดฟูกูโอกะ]]) และรุกรานดินแดนของตระกูลโมริในคีวชูภาคเหนือ ในค.ศ. 1561 โอโตโมะ โยชิชิเงะ เข้าล้อมปราสาทโมจิ ([[คิตะกีวชู|คิตากีวชู]]ในปัจจุบัน) ของตระกูลโมริด้วยความช่วยเหลือจากกองกำลังปืนของโปรตุเกส ค.ศ. 1562 โอโตโมะ โยชิชิเงะ ได้รับชื่อว่า [[โอโตโมะ โซริง]] ({{ญี่ปุ่น|大友宗麟|Ōtomo Sōrin}}) โอโตโมะ โซริง เอาชนะทัพของตระกูลโมริได้ในยุทธการที่ทาตาราฮามะ (Battle of Tatarahama) ในค.ศ. 1569 ทำให้ตระกูลโมริสูญเสียอิทธิพลในคีวชูภาคเหนือไป
 
== อ้างอิง ==
* Mikiso Hane, Modern Japan: A Historical Survey (Westview Press, 1992)