ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{issues|ต้องการอ้างอิง=yes|ปรับภาษา=yes|จัดรูปแบบ=yes}}
 
[[ไฟล์:021249 02.jpg|225px|thumb|พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม ของทหารรักษาพระองค์]]
 
'''พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์''' จัดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี [[พ.ศ. 2496]] และเริ่มจัดพิธีนี้อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ [[พ.ศ. 2504]] เนื่องในโอกาส [[พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่ 9|วันเฉลิมพระชนพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] จนถึงปี พ.ศ. 2558
 
== ประวัติการจัดพิธีฯ ==
[[ไฟล์:King061149-6.jpg|225px|thumb|นายทหารชั้นผู้ใหญ่ตั้งแถวรับเสด็จที่หน้าประตูทวยเทพสโมสร ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี [[พ.ศ. 2549]]]]
 
แต่เดิมพิธีนี้มิได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หากแต่จัดเป็นครั้งคราวตามที่[[กระทรวงกลาโหม]]หรือ[[กองทัพบก]]จะกำหนด ปรากฏมีบันทึกว่า พิธีนี้เริ่มขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 9 ในปี [[พ.ศ. 2496]] สมัยที่[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพลแปลก พิบูลสงคราม]]เป็น[[รายชื่อนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] โดยจัดให้มีขึ้น เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา[[กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์|กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์]] (ร.1 รอ.) ซึ่งตรงกับวันที่ [[11 พฤศจิกายน]] และเพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณที่[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน[[ธงไชยเฉลิมพล]] เพื่อใช้แทนธงไชยเฉลิมพลของเดิม โดยมี[[กฤษณ์ สีวะรา|พลเอก กฤษณ์ สีวะรา]] ผู้บังคับการ ร.1 รอ.ในขณะนั้น เป็นผู้บังคับการขบวนสวนสนาม และทหารสังกัด ร.1 รอ. เป็นพลสวนสนาม
 
หลังจากพิธีในครั้งนั้นก็ได้ว่างเว้นมาอีกเป็นเวลาหลายปี จนถึงสมัยที่[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]]เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้มีการถวายพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนคร หลังจากทรงเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศใน[[ทวีปยุโรป]]และ[[สหรัฐอเมริกา]] โดยได้จัดพิธีสวนสนามของบรรดา[[ทหารบก]] [[ทหารเรือ]] และ [[ทหารอากาศ]] เมื่อวันที่ [[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2504]] ซึ่ง[[รัฐบาล]]ในขณะนั้นประกาศให้เป็น "วันพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม" แต่ทหารทั้งสามเหล่าแต่งกายด้วยเครื่องแบบของแต่ละเหล่าทัพ มิได้แต่งเครื่องแบบเต็มยศ
 
ต่อมาในวันที่ [[5 ธันวาคม]] ปีเดียวกัน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีบัญชาให้ [[กองพลที่ 1 รักษาพระองค์]] (พล.1 รอ.) จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาส [[พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่ 9|วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้หน่วยทหารรักษาพระองค์ใน[[กรุงเทพมหานคร]]เข้าร่วมพิธี จำนวนทั้งหมด 8 กองพัน จัดเป็น 2 กรมสวนสนาม มีรายละเอียดดังนี้
* '''กรมสวนสนามที่ 1''' จำนวน 4 กองพัน
** กรมนักเรียนนายร้อย [[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] (กรม นนร. รอ. รร.จปร.) จำนวน 1 กองพัน
บรรทัด 23:
นับจากนั้นเป็นต้นมา พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามฯ ที่จัดขึ้นในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ นี้ ก็ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ [[พระลานพระราชวังดุสิต]] หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กำหนดให้วันที่ [[3 ธันวาคม]] ของทุกปี เป็นวันพิธีฯ เนื่องจากต้องการให้ได้ทรงพักผ่อนพระวรกายในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งในช่วงระหว่างนั้น ([[4 ธันวาคม|4]] และ [[6 ธันวาคม]]) มีพระราชกรณียกิจหลายประการอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
ต่อมา ในปี [[พ.ศ. 2525]] หน่วยทหารรักษาพระองค์ในส่วนภูมิภาคและเหล่าทัพอื่นๆ คือ [[กองทัพเรือ]] และ [[กองทัพอากาศ]] ได้เข้ามาร่วมพิธีด้วย จึงกำหนดการจัดหน่วยเข้าร่วมพิธีเพิ่มขึ้น จาก 8 กองพัน เป็น 12 กองพัน แบ่งออกเป็น 4 กรมสวนสนาม กรมละ 3 กองพัน แต่ละกองพันสวนสนามประกอบด้วยพลสวนสนาม 144 นาย (จัดแถวแบบ 12x12) หมู่แตรเดี่ยว 8 นาย หมู่เชิญธงชัยเฉลิมพล 4 นาย และผู้บังคับกองพัน 1 นาย โดยตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2530]] เป็นต้นมา [[กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์]] ได้จัดให้กำลังพลขี่ม้าเข้าร่วมพิธีด้วย จำนวนกองพันที่เข้าร่วมพิธีจึงเพิ่มเป็น 12+1 กองพัน โดยกองพันทหารม้าดังกล่าวจะเป็นกองพันสุดท้ายในขบวนสวนสนาม
 
== ตัวอย่างการจัดหน่วยสวนสนาม ในพิธีฯ ประจำปี [[พ.ศ. 2548]] ==
[[ไฟล์:King061149-4.jpg|thumb|ผู้บังคับกองผสม วิ่งไปกราบทูลถวายรายงานที่หัวแถวกองผสม ผ่านหน้าแถวของ [[กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์|ร.1 พัน.3 รอ.]] ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ประจำปี [[พ.ศ. 2549]]]]
[[ไฟล์:King061149-16.jpg|thumb|แถวทหาร พัน.นนร.รอ. รร.นร. และ พัน.นนร.รอ. รร.จปร. ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน ประจำปี [[พ.ศ. 2549]]]]
 
* '''กรมทหารรักษาพระองค์ที่ 1''' จำนวน 4 กองพัน
บรรทัด 53:
== ลำดับขั้นตอนพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ==
{{ย้าย|วิกิตำรา}}
[[ไฟล์:King061149-20.jpg|thumb|การอัญเชิญธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารต่างๆ จาก[[สวนอัมพร]] ไปยังหน้าพลับพลาที่ประทับ ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ประจำปี [[พ.ศ. 2549]]]]
[[ไฟล์:King061149-24.jpg|thumb|การสวนสนามของ [[กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์|ม.พัน.29 รอ.]] ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ประจำปี [[พ.ศ. 2549]]]]
# [[ทหารรักษาพระองค์]]ทั้ง 12 กองพันพร้อมกันที่จุดรวมพลบริเวณ[[ถนนราชดำเนินนอก]]
# [[ทหารปืนใหญ่]]ยิงพลุสัญญาณ ทหารทั้ง 12 กองพันเริ่มเดินสวนสนามมาตามแนว[[ถนนราชดำเนิน]]มาจนถึง[[ลานพระราชวังดุสิต]] แล้วจัดแถวรอรับการเสด็จพระราชดำเนิน
บรรทัด 75:
 
== คำถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ ==
ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม
* ข้าพระพุทธเจ้า (ยศ-ชื่อ-นามสกุล) ขอถวายคำสัตย์ปฏิญาณ ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า
* ข้าพระพุทธเจ้า จะยอมตายเพื่อรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพ แห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
* ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดี และถวายความปลอดภัย ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จนชีวิตหาไม่
* ข้าพระพุทธเจ้า จะเชิดชูและรักษาไว้ ซึ่งเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ของทหารรักษาพระองค์ <br>ทั้งจะปฏิบัติตน ให้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททุกประการ
 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
บรรทัด 85:
 
== การเปลี่ยนแปลง ==
[[ไฟล์:King_Bhumibol_come_back_to_Chitlada_Palace_02122549.jpg|thumb|การเสด็จพระราชดำเนินกลับ[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] หลังเสร็จสิ้นพิธีถวายสัตย์ฯ ประจำปี [[พ.ศ. 2549]]]]
[[ไฟล์:Thai_people_in_front_of_Chitlada_Palace_02122549.jpg|thumb|บรรดาประชาชนที่มาเข้าเฝ้าฯ ส่งเสด็จ]]
ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2541]] - [[พ.ศ. 2551|2551]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เปลี่ยนแปลงวันพิธีจากวันที่ 3 เป็นวันที่ [[2 ธันวาคม]] โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จะเสด็จพระราชดำเนินโดย[[รถยนต์พระที่นั่ง]]เปิดประทุน <ref>รถยนต์พระที่นั่งในพิธีฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้รถยนต์พระที่นั่งทะเบียน ร.ย.ล.5, ร.ย.ล.972 และ ร.ย.ล.960 ตามลำดับ</ref> ออกทาง[[ประตูทวยเทพสโมสร]] หน้า [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] เพื่อทรงเป็นองค์ประธานในพิธี ในขณะทรงตรวจพลสวนสนามนั้น จะมีรถยนต์อัญเชิญ[[ธงชัยราชกระบี่ยุทธ]]และ[[ธงชัยพระครุฑพ่าห์]] นำหน้าขบวนเสด็จพระราชดำเนินด้วย นอกจากนี้ ยังได้อัญเชิญธงไชยเฉลิมพลประจำหน่วยต่าง ๆ เข้าร่วมในพิธีด้วย
 
ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2541]] - [[พ.ศ. 2551|2551]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เปลี่ยนแปลงวันพิธีจากวันที่ 3 เป็นวันที่ [[2 ธันวาคม]] โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จะเสด็จพระราชดำเนินโดย[[รถยนต์พระที่นั่ง]]เปิดประทุน <ref>รถยนต์พระที่นั่งในพิธีฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้รถยนต์พระที่นั่งทะเบียน ร.ย.ล.5, ร.ย.ล.972 และ ร.ย.ล.960 ตามลำดับ</ref> ออกทาง[[ประตูทวยเทพสโมสร]] หน้า [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] เพื่อทรงเป็นองค์ประธานในพิธี ในขณะทรงตรวจพลสวนสนามนั้น จะมีรถยนต์อัญเชิญ[[ธงชัยราชกระบี่ยุทธ]]และ[[ธงชัยพระครุฑพ่าห์]] นำหน้าขบวนเสด็จพระราชดำเนินด้วย นอกจากนี้ ยังได้อัญเชิญธงไชยเฉลิมพลประจำหน่วยต่าง ๆ เข้าร่วมในพิธีด้วย
ในปี [[พ.ศ. 2549]] และ [[พ.ศ. 2550|2550]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เสด็จพระราชดำเนินกลับจากพิธีนี้ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทะเบียน ร.ย.ล.960 ด้วยเส้นทางจาก[[พระลานพระราชวังดุสิต]] ไปทาง[[ถนนศรีอยุธยา]] เลี้ยวซ้ายเข้าสู่[[ถนนพระรามที่ 5]] กลับเข้าสู่[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]]ทางด้าน[[ประตูพระวรุณอยู่เจน]] โดยตลอดข้างทางนั้นมีพสกนิกรมารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นจำนวนมาก
 
ในปี [[พ.ศ. 2549]] และ [[พ.ศ. 2550|2550]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เสด็จพระราชดำเนินกลับจากพิธีนี้ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทะเบียน ร.ย.ล.960 ด้วยเส้นทางจาก[[พระลานพระราชวังดุสิต]] ไปทาง[[ถนนศรีอยุธยา]] เลี้ยวซ้ายเข้าสู่[[ถนนพระรามที่ 5]] กลับเข้าสู่[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]]ทางด้าน[[ประตูพระวรุณอยู่เจน]] โดยตลอดข้างทางนั้นมีพสกนิกรมารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นจำนวนมาก
 
นอกจากนี้ในปีเดียวกัน ยังมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบางประการในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ดังนี้
# ขั้นตอนการอัญเชิญ[[ธงชัยเฉลิมพล]] ได้ปรับให้อัญเชิญธงชัยเฉลิมพลมาตั้งแถวรอที่หน้าพลับพลาที่ประทับก่อน[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] จะเสด็จพระราชดำเนินมาถึง จากเดิมเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามแล้ว จึงจะมีการเชิญธงชัยเฉลิมพลในลำดับถัดไป ทั้งนี้ เนื่องจากว่าได้มีการเชิญธงชัยเฉลิมพลของหน่วย[[ทหารรักษาพระองค์]]ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 36 หน่วย (รวมหน่วยสวนสนาม) มาร่วมพีธีถวายสัตย์ฯ ร่วมกับหน่วยทหารรักษาพระองค์ทั้ง 13 หน่วยที่จะทำการสวนสนามด้วย
# การขับร้องเพลงถวายพระพรโดยวงดุริยางค์ทหารบกซึ่งปกติทำกันเป็นประจำทุกปี ได้งดไปในปีนี้
 
ในปี [[พ.ศ. 2551]] ได้มีการปรับขบวนทหารกองพันสวนสนามที่ 1 - 12 ในเวลาสวนสนามหน้าพระที่นั่งเป็น 2 แถวสวนสนามพร้อมกัน เพื่อกระชับเวลาของพิธีให้สั้นลง อันเป็นการลดพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในปี [[พ.ศ. 2552]] [[กรมราชเลขานุการในพระองค์|สำนักราชเลขาธิการ (กรมราชเลขานุการในพระองค์ ในปัจจุบัน)]] ได้ประกาศเลื่อนพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนฯ ออกไปจากกำหนดเดิม คือวันที่ 2 ธันวาคม เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ไปประทับที่[[โรงพยาบาลศิริราช]] ตั้งแต่วันที่ [[19 กันยายน]]<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1259556209 ราชเลขาฯแถลง ในหลวงเสด็จมหาสมาคม 5 ธ.ค.เลื่อนถวายสัตย์-ถวายพระพร] [[ข่าว]]จาก[[เว็บไซต์]][http://www.matichon.co.th มติชนออนไลน์]</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2553]] [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้[[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพไทย|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารเรือไทย|ผู้บัญชาการทหารเรือ]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารอากาศไทย|ผู้บัญชาการทหารอากาศ]] พร้อมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ท้องพระโรง [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน]] ส่วนทหารรักษาพระองค์ จำนวน 4 กรม รวม 13 กองพัน เคลื่อนกระบวนจาก[[กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)|ศาลาว่าการกลาโหม]] เข้าสู่ประตูวิเศษไชยศรี มาตั้งแถวเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท บนสนามหน้า[[ศาลาสหทัยสมาคม]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]]<ref name="news2010">[http://www.komchadluek.net/detail/20101205/81723/81723.html ในหลวงทรงให้คนไทยมีสติไม่ประมาท] ข่าวจากเว็บไซต์[[คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)|คมชัดลึก]][[ออนไลน์]]</ref> เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตน<ref>[http://www.thairath.co.th/content/pol/131927 ผบ.สูงสุด นำทหารถวายคำสัตย์ปฏิญาณ] ข่าวจากเว็บไซต์[[ไทยรัฐ]]ออนไลน์</ref> โดยงดพิธีสวนสนาม และประกอบพิธีร่วมกับ[[การเสด็จออกมหาสมาคมในรัชกาลที่ 9|การเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา]] ในวันที่ [[5 ธันวาคม]]<ref name="news2010"/> อนึ่ง กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ จะตั้งแถวเป็นกองทหารม้าเกียรติยศ ตามแนว[[ถนนหน้าพระลาน]] ฝั่งพระบรมมหาราชวัง ซึ่งการถวายสัตย์ปฏิญาณตนในปีนี้ นับเป็นครั้งที่สอง ที่มิได้ประกอบพิธี ณ ลานพระราชวังดุสิต นับแต่พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนครั้งแรกสุด เมื่อปี พ.ศ. 2496<ref>[http://www.thairath.co.th/column/life/people/131447 คอลัมน์ บุคคลในข่าว 4 ธันวาคม 2553] จากเว็บไซต์[[หนังสือพิมพ์]]ไทยรัฐ</ref>
 
ในปี [[พ.ศ. 2554]] ในโอกาส[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554]] [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้[[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพไทย|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารเรือไทย|ผู้บัญชาการทหารเรือ]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารอากาศไทย|ผู้บัญชาการทหารอากาศ]] พร้อมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ มุขเด็จ [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] ส่วนทหารรักษาพระองค์ ประกอบด้วย กองบังคับการกรมผสมจำนวน 18 นาย หมู่เชิญธงชัยเฉลิมพลจำนวน 48 กองพัน กองทหารเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ จำนวน 468 นาย เคลื่อนกระบวนจาก[[กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)|ศาลาว่าการกลาโหม]] เข้าสู่ประตูวิเศษไชยศรี ประตูพิมานไชยศรี ตั้งแถวเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ที่บริเวณสนามหน้ามุขเด็จ [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล และถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ ในพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล โดยงดการสวนสนาม และประกอบพิธีร่วมกับ[[การเสด็จออกมหาสมาคม ในรัชกาลที่ 9|การเสด็จออกมหาสมาคม]] โดยรายทางที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ จะมีกำลังรอรับ-ส่งเสด็จจำนวน 280 นาย แบ่งเป็น ร.11 รอ. 100 นาย, ร.1 พัน 3 รอ. 45 นาย, ช.พัน 1 รอ. 45 นาย, ร.1 รอ. 45 นาย, และ ม.พัน 29 รอ. จำนวน 77 ม้า ซึ่งตั้งแถวเป็นกองทหารม้าเกียรติยศ ซึ่งการถวายสัตย์ปฏิญาณตนในปีนี้ นับเป็นครั้งที่ 3 ที่มิได้ประกอบพิธี ณ ลานพระราชวังดุสิต
 
ในปี [[พ.ศ. 2555]] [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้[[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพไทย|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารเรือไทย|ผู้บัญชาการทหารเรือ]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารอากาศไทย|ผู้บัญชาการทหารอากาศ]] พร้อมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และทหารรักษาพระองค์ ประกอบด้วย ทหารบก 8 กองพัน ทหารเรือ 2 กองพัน ทหารอากาศ 2 กองพัน และกำลังทหารม้ารักษาพระองค์ 1 กองพัน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ สีหบัญชร [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] โดยเหล่าทหารรักษาพระองค์ทั้ง 12 กองพัน และทหารม้ารักษาพระองค์ 1 กองพัน เคลื่อนพลสวนสนามจาก[[สวนอัมพร]]มายังสนามหญ้าหน้าพระที่นั่ง เพื่อกระทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนร่วมกับการถวายพระพรชัยมงคลของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการพลเรือน
 
ในปี [[พ.ศ. 2556]] [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้[[รายนามผู้บัญชาการทหารสูงสุดและกองทัพไทย|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารบกไทย|ผู้บัญชาการทหารบก]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารเรือไทย|ผู้บัญชาการทหารเรือ]] [[รายนามผู้บัญชาการทหารอากาศไทย|ผู้บัญชาการทหารอากาศ]] พร้อมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ ศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.[[ประจวบคีรีขันธ์]] โดยเหล่าทหารรักษาพระองค์ทั้ง 12 กองพัน ซึ่งจะปรับกองกำลังในแถวลดลง เพราะจากเดิมใช้ 2 กองร้อย จะปรับให้เหลือ 1 กองร้อย เคลื่อนพลสวนสนามจาก[[ถนนเพชรเกษม]]มายัง วังไกลกังวล เพื่อกระทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนร่วมกับการถวายพระพรชัยมงคลของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการพลเรือน
 
== ดูเพิ่ม ==