ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 24:
===รับราชการ===
[[ไฟล์:พระองค์เจ้าปฤษฎางค์.jpg|thumb|200px|left|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ฉายเมื่อปี พ.ศ. 2426 ขณะดำรงตำแหน่งอัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส]]
ในปี [[พ.ศ. 2423]] ขณะมีพระชันษาได้ 29 ชันษา ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นล่ามและตรีทูต ในคณะของ[[เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)]] เพื่อเข้าเฝ้า[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร]] และได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตไทยคนแรกประจำ[[ราชสำนักเซนต์เจมส์]]แห่งอังกฤษ และประจำประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและอเมริการวมถึง 12 ประเทศ ได้เป็นผู้แทนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิแห่ง[[ออสเตรีย-ฮังการี]]และพระเจ้ากรุง[[ปรัสเซีย]] ก่อนจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตประจำ[[กรุงปารีส]] พร้อมทั้งรับพระราชทานสถาปนาพระอิศริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ชั้นที่ 1 มหาสุราภรณ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2426 ขณะมีพระชันษาได้ 32 ชันษา<ref name="ตั้งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์">{{cite book |title= จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค ๑๔ (เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๔๕)|last= จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|first= พระบาทสมเด็จพระ|authorlink= พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|coauthors= |year= 2481|publisher= โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย|location= กรุงเทพฯ|isbn= |page= |pages= |url= https://vajirayana.org/จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน-พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ภาค-๑๔/เดือน-๙-จุลศักราช-๑๒๔๕|accessdate= 24 กันยายน 2562}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2428 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์มีพระชันษาได้ 34 ชันษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ให้แสดงความเห็นต่อการเสียเอกราชของพม่าจาก[[สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม]] และแนวการปรับปรุงการปกครองของสยามเพื่อรับมือกับสถานการณ์ทำนองเดียวกันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทรงตั้งพระทัยจะให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถวายความคิดเห็นเป็นการส่วนพระองค์ แต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้นำพระราชหัตถเลขาและคำกราบบังคมทูลดังกล่าวไปประชุมปรึกษาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา|พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต]] [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์|พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ]] และข้าราชการผู้ใหญ่ในสถานทูต และได้ตกลงกันว่าจะทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นรวมกันทั้ง 4 พระองค์ พร้อมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อีก 7 คน อันเป็นที่มาของคำเสนอให้ปฏิรูปการเมืองการปกครอง หรือ "คำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103" ซึ่งสาระสำคัญคือขอให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักในการปกครองบ้านเมืองด้วยระบอบประชาธิปไตย <ref name="ศิลปวัฒนธรรม">[http://www.numtan.com/nineboard/view.php?id=1166 เรียกร้องรัฐธรรมนูญครั้งแรก สมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับ "คำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๓"] หนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 24 ฉบับที่ 12 วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546</ref>