ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pedoxdeity (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 18:
โดยในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก็เริ่มทดลองส่งแพร่ภาพโทรทัศน์ไปพลางก่อน จากห้องส่งของ[[สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.]] ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสรรให้ บจก.ไทยโทรทัศน์ ดำเนินการเพื่อระดมทุนทรัพย์ สำหรับใช้ในการบริหารงาน และเพื่อฝึกฝนบุคลากรฝ่ายต่างๆ พร้อมทั้งเตรียมงานส่วนอื่นไปด้วย จนกว่าจะก่อสร้างอาคารที่ทำการ พร้อมติดตั้งเครื่องส่งเสร็จสมบูรณ์ ระหว่างนั้น คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เลือกใช้ ระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งใช้อยู่ใน[[สหรัฐอเมริกา]] เป็นผลให้ [[บจก.]][[ไทยโทรทัศน์]] จัดซื้อเครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ ของ[[บริษัท เรดิโอ คอร์ปอเรชั่น ออฟ อเมริกา]] (Radio Corporation of America) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อย่อว่า อาร์.ซี.เอ. (RCA) มาใช้สำหรับการออกอากาศ และวางแผนดำเนินการแพร่ภาพ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 4 ซึ่งเมื่อรวมกับชื่อสถานที่ตั้งสถานีฯ ดังกล่าวข้างต้น ในระยะต่อมา ผู้ชมทั่วไปจึงนิยมเรียกชื่อลำลองว่า ''ช่อง 4 บางขุนพรหม'' ซึ่งมีกำหนดเริ่มแพร่ภาพ ใน[[วันศุกร์]]ที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] ซึ่งตรงกับ[[วันชาติ (ประเทศไทย)|วันชาติไทย]]ในสมัยนั้น
 
โดยมี[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น]] เป็นประธานพิธีเปิด ''[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4]]'' ({{lang-en|Thai Television Channel 4}} [[อักษรย่อ|ชื่อย่อ]]: ไทย ที.วี. ชื่อรหัส: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกของ[[ประเทศไทย]] และเป็นช่อง​แรกช่องเดียว​แห่งแรกของทวีปเอเชีย บน[[ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่]] (Asia Continental) ต่อมาในวันที่ [[25 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2500]] [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] [[ผู้บัญชาการทหารบก]]ในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง ''[[คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' ประกอบด้วย [[ไสว ไสวแสนยากร|พลเอก ไสว ไสวแสนยากร]] ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการ และ[[การุณ เก่งระดมยิง|พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง]] เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ''โครงการจัดตั้ง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' พร้อมทั้งวางแผนอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงให้อำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผล ตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ [[24 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีฯ ภายในบริเวณ[[กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์]] สนามเป้า [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงสามเสนใน [[เขตพญาไท]] โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ เป็นจำนวน 10,101,212 บาท
 
เมื่อ[[วันเสาร์]]ที่ [[25 มกราคม]] [[พ.ศ. 2501]] ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' (ชื่อรหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เป็นแห่งที่สองของประเทศไทย ด้วยรถตู้ถ่ายทอดนอกสถานที่ ซึ่งจอดไว้บริเวณหน้า[[สวนอัมพร|อาคารสวนอัมพร]] โดยแพร่ภาพขาวดำ ด้วยระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมากเช่นกัน แต่ออกอากาศทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งโทรทัศน์ ของบริษัทปายแห่งอังกฤษ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ ทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ สำหรับเนื้อหาที่แพร่ภาพนั้น ไทยทีวีช่อง 4 นำเสนอรายการประเภทสนทนา, ตอบคำถามชิงรางวัล และการแสดงประเภทต่างๆ รวมถึงละครโทรทัศน์ ซึ่งออกอากาศตามปกติแล้ว รัฐบาลยังสั่งให้นำเสนอรายการพิเศษ ในโอกาสที่สำคัญต่างๆ หลายครั้งเช่น แถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี, ถ่ายทอดการประชุม[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]หลายครั้ง รวมทั้งถ่ายทอดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษด้วย ส่วน ททบ.7 นำเสนอรายการประเภท[[สารคดี]], [[ภาพยนตร์]][[ต่างประเทศ]] และเปิดแผ่นป้ายชิงรางวัล ร่วมกับรายการพิเศษ เช่นถ่ายทอดการฝึกทหารยามปกติในชื่อ "[[การฝึกธนะรัชต์]]" เป็นต้น