ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดยโสธร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 39:
 
=== สมัยเจนละ ===
ในจังหวัดยโสธร พบหลักศิลาจารึกโบราณ 3 หลัก ได้แก่ จารึกดงเมืองเตย อำเภอคำเขื่อนแก้ว (ราวพุทธศตวรรษที่ 12) กล่าวชื่อเมือง '''ศังขปุระ''' และราชสกุล , จารึกโนนสัง อำเภอมหาชนะชัย (ประมาณ พ.ศ. 1432) กล่าวสรรเสริญเทพเจ้า พระนามว่า โสมาทิตย์ ซึ่งไม่ปรากฏพระนามกษัตริย์ขอมสมัยพระนคร สันนัษฐานว่าอาจเป็นชุมชนอิสระนอกอาณาเขตอาณาจักขอม และจารึกบ้านตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร (ราวพุทธศตวรรษที่ 15) กล่าวถึงนามกษัตริย์พระนามว่า ศรีอีสานวรมัน (พระนามของกษัตริย์ขอมของอาณาจักร[[เจนละ]] พ.ศ. 1159-1178) ได้พระราชทานบุตรีชื่อนางสุรัสวดี พร้อมด้วยหมู่บุตรหลาน ข้าทาส เงินทอง ให้แก่ชายหนุ่มผู้เป็นเชื้อพระวงศ์เพื่อมงคลสมรส แสดงให้เห็นว่าบริเวณจังหวัดยโสธรเคยเป็นชุมชนใหญ่ ชื่อว่า เมืองศังขปุระนคร และมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรขอมในฐานะเครือญาติ และมีความยิ่งใหญ่พอสมควรที่กษัตริย์ขอมจึงพระราชทานบุตรีมาให้เป็นพระมเหสี
 
และยังปรากฏในตำนานการก่อสร้างพระธาตุอานนท์แห่งวัดมหาธาตุ ว่า พระธาตุอานนท์ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1218 โดยเจตตานุวิน และจินดาชานุ สองพี่น้องชาวนครเวียงจันทน์ กับเอียงเวธา ผู้ปกครองชุมชนชาวขอม แสดงให้เห็นว่า สถานที่ตั้งเมืองยโสธรเคยเป็นชุมชนโบราณมีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยนั้น และสอดคล้องกับยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่ง[[แห่งอณาจักรเจนละ]] (พ.ศ. 1200-1233)
 
และจารึกโนนสัง อำเภอมหาชนะชัย (ประมาณ พ.ศ. 1432) กล่าวสรรเสริญเทพเจ้าพระนามว่า โสมาทิตย์ ซึ่งไม่ปรากฏพระนามกษัตริย์ขอมสมัยพระนคร สันนัษฐานว่าอาจเป็นชุมชนอิสระนอกอาณาเขตอาณาจักรขอม
 
=== สมัยสุโขทัย ===