ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 45:
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เสด็จกลับประเทศสยามในปลายปี พ.ศ. 2453 (แต่ปฏิทินสากลเปลี่ยนเป็น ค.ศ. 1911 แล้ว) ขณะมีพระชันษาได้ 60 ชันษา เพื่อถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ การเสด็จกลับสยามครั้งนี้กลายเป็นการเสด็จกลับอย่างถาวร เพราะพระองค์จำต้องลาสิกขาออกเป็นฆราวาสตามเงื่อนไขของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ]]<ref name="หล่นลงโคลนตมจมดิน" /> และ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2453 เพื่อให้ทรงได้รับอนุญาตให้เข้าไปถวายบังคมพระบรมศพ และไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ผนวชและกลับไปศรีลังกาอีก<ref>{{cite journal|journal=ศิลปวัฒนธรรม|volume=|issue=|pages=|author=[[สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา]]|title=ทำไม ร.5 ทรงห้าม “พระองค์เจ้าปฤษฎางค์” เหยียบแผ่นดินรัชกาลพระองค์จนชีวิตยากไร้|url=https://www.silpa-mag.com/history/article_24733|date=20 ธันวาคม 2561|accessdate=16 สิงหาคม 2562|language=ไทย}}</ref> เนื่องจากทางกรุงเทพฯ ยังคงเห็นว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ต้องอาบัติปาราชิกจากเรื่องแอบหยิบเอาพระบรมสารีริกธาตุในครั้งนั้น รวมเวลาที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ 14 พรรษา
 
หลังจากลาสิกขาแล้วทรงทำงานเป็นบรรณาธิการแผนกภาษาไทยให้กับหนังสือพิมพ์ "สยามออบเซิร์ฟเวอร์" ของ[[พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม อัลเฟรด คุณะดิลก)]] อยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นประทับอยู่ใน[[ตรอกกัปตันบุช]] หาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างสอนภาษาอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ขอกลับเข้ารับราชการอีกครั้งที่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งที่ในเวลานั้นทรงมีพระชันษาได้ 72 ชันษาแล้ว พระองค์รับราชการได้ไม่นานก็ทรงถูกเลือกให้ออกจากราชการ (สำนวนในยุคนั้นเรียกว่า "ถูกดุลย์") เช่นเดียวกับข้าราชการหลาย ๆ คนในเวลานั้น เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายในงบประมาณแผ่นดินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงบันทึกไว้ว่าถูกให้ออกจากราชการในปี พ.ศ. 2467)<ref>[http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6360.720 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด (เว็บบอร์ดเรือนไทยดอตคอม)]</ref>
 
ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ย้ายไปอาศัยอยู่ในตรอก[[วัดมหาพฤฒาราม]] ดำรงชีพด้วยเงินเบี้ยหวัดในฐานะพระอนุวงศ์และมีพระญาติส่วนหนึ่งให้ความอุปการะ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งพระองค์ยังมีโรคภัยรุมเร้า ประชวรเข้าโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ดังข้อความในตอนท้ายของหนังสือพระประวัติซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงนิพนธ์ไว้เอง ระบุว่า