ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮันส์ ฟ็อน เซคท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45:
เมื่อเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เซคท์มีรู้สึกเดือดดาลมากต่อข้อบังคับใน[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]] ซึ่งห้ามเยอรมนีมีทหารบกเกินหนึ่งแสนนาย ห้ามมีอาวุธทันสมัย ห้ามมียานเกราะ ฯลฯ เขายังคัดค้านการที่เยอรมนีจะเข้าเป็นสมาชิก[[สันนิบาตชาติ]] ถึงแม้ว่าเซคท์จะไม่โปรดสงครามอีก แต่เขาก็เชื่อว่าภาวะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดสงครามอีกครั้งอย่างเลี่ยงไม่ได้{{sfn|Wheeler-Bennett|2005|pp=133-138}} และทหารเยอรมันจำเป็นต้องมีความพร้อมสรรพเพื่อสู้ศึกครั้งต่อไป ไม่งั้นเยอรมนีก็ต้องอยู่รอดบนความเมตตาของเพื่อนบ้านเท่านั้น บันทึกของเซคท์ระบุว่า ''"การศึกษาประวัติศาสตร์มามันขัดขวางไม่ให้ฉันมองเห็นความคิดเรื่องสันติภาพถาวรเป็นอะไรอื่นไปได้นอกจากความฝัน"''{{sfn|Wette|2006|p=144}}
 
นายพลเซคท์ดำรงตำแหน่งเสนาธิการ[[ไรชส์แวร์]]ระหว่างปี 1919 ถึง 1920 และเป็นอธิบดีกรมทหารบก ({{lang|de|''Chef der Heeresleitung''}}) ตั้งแต่ปี 1920 ในช่วงที่เขานำกองทัพบกนี้เอง เซคท์ต้องทำทุกวิถีทางไม่ให้กองทัพอ่อนแอลง เขาจึงปฏิรูปกองทัพบก คอยปลูกฝังคติทหาร ฝึกฝน วางกลยุทธ์ และจัดระเบียบบริหารกองทัพ{{sfn|Corum|1992|p=79}} เมื่อเซคท์เขาได้รับยศ[[พลเอกอาวุโส (เยอรมัน)|พลเอกอาวุโส]]ในวันแรกของปีค.ศ. 1916 และในเดือนตุลาคมปีเดียวกันก็ถูกรัฐบาลบีบบังคับให้ลาออกในเดือนตุลาคม 1926 นามที่เขาลาออกไรชส์แวร์ก็อยู่ในระดับพร้อมปฏิบัติการ ทฤษฎีและวีธีรบอันชาญฉลาดที่เขาสร้างไว้เป็นต้นทุน ถูกกองทัพเยอรมันนำไปปฏิบัติในช่วงต้น[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]<ref>''Heeresdienstvorschrift 487: Fuhrung und Gefecht der verbundenen Waffen'' (Berlin, Germany: Verlag Offene Worte, 1921, 1923).</ref>{{sfn|Murray|2000|p=22}}
 
นายพลเซคท์ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา[[ไรชส์ทาค]]ระหว่างปี 1930 ถึง 1932 จากนั้นในปี 1933 เขาเดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อเป็นผู้บัญชาการทหารเยอรมันประจำจีน<ref name="Liang pages 342-369">Liang, Hsi-Huey "China, the Sino-Japanese Conflict and the Munich Crisis" pages 342-369 from ''The Munich Crisis'' edited by Erik Goldstein and Igor Lukes, Frank Cass: London, 1999 page 346.</ref> ขณะนั้นความสัมพันธ์จีน-เยอรมันอยู่ในภาวะย่ำแย่ จากการที่ทหารเยอรมันมีชอบวางก้ามต่อคนจีน จีนคิดจะไล่เยอรมันออกไปและนำฝรั่งเศสเข้ามาแทน<ref name="Liang pages 342-369"/> นายพลเซคท์สั่งทหารเยอรมันให้ประพฤติต่อชาวจีนด้วยความเคารพและเริ่มแสดงความอ่อนน้อมต่อจีน<ref name="Liang pages 342-369"/> ด้วยเหตุนี้ นายพลเซคท์จึงรักษาจุดยืนของเยอรมันในแผ่นดินจีนไว้ได้<ref name="Liang pages 342-369"/> เซคท์ได้เป็นที่ปรึกษาทางทหารให้แก่[[เจียง ไคเชก]] ในสงครามต่อต้านจีนคอมมิวนิสต์ เขาได้รับผิดชอบในการประดิษฐ์แผนค่ายวงล้อม ซึ่งทำให้ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพจีนคอมมิวนิสต์ และบีบให้[[เหมา เจ๋อตง]] ต้องถอยร่นกว่า 9,000 กิโลเมตรที่เรียกว่า "[[การเดินทัพทางไกล|ฉางเจิง]]"
บรรทัด 58:
| ช่วงเวลา =7 กรกฎาคม 1919 – 15 กรกฎาคม 1919
| ถัดไป = ไม่มี; ยุบเลิกตำแหน่ง
}}
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า = [[วัลเทอร์ ไรน์ฮาร์ท|พลตรี วัลเทอร์ ไรน์ฮาร์ท]]
|ตำแหน่ง = อธิบดีกรมทหารบก
| ช่วงเวลา =26 มีนาคม 1920 – 9 ตุลาคม 1926
| ถัดไป = [[วิลเฮ็ล์ม ไฮเออ|พลเอกทหารราบ วิลเฮ็ล์ม ไฮเออ]]
}}
{{end}}
 
{{หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิเยอรมัน}}
{{Birth|1866}}{{Death|1936}}