ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยเซ็ฟ อันโทน ฟ็อยชท์ไมเออร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
 
==ประวัติ==
โจเซฟ อันทวนเริ่มศึกษาการ[[ปฏิมากรรม]]ที่เมืองออกสเบิร์ก (Augsburg) เมื่อปี ค.ศ. 1715 และเริ่มทำงานที่ไวน์การ์เด็นเมื่อปีการ์เด็น (Weingarten) เมื่อปี ค.ศ. 1718 หลังจากที่[[ฟรานซ์ โจเซฟ ฟ็อยค์เมเยอร์]]ผู้เป็นพ่อเสียชีวิต โจเซฟ อันทวนก็กลับมารับกิจการที่เวิร์คช็อพ (workshop) ของพ่อที่มิมเม็นเฮาส์เซ็นต่อ ขณะเดียวกันก็มีตำแหน่งเป็น"ช่างประจำวัด" ของอาราม[[มหาวิหารซาเล็ม]] โดยรับงานชิ้นแรกคือสร้างตู้[[ออร์แกน]]สำหรับมหาวิหารซาเล็ม
 
งานของโจเซฟ อันทวนได้รับอิทธพลจาก ดิเอโก ฟรานเชสโก คาร์โลเน (Diego Francesco Carlone) ช่างปูนปั้น[[ชาวอิตาลี]]ที่ทำงานด้วยกันที่ไวน์การ์เท็น สิ่งที่โจเซฟ อันทวนเรียนจากดิเอโก ฟรานเชสโกคือวิธีปั้นรูปปูนปั้นให้เป็นเงา ซึ่งกลายมาเป็นลักษณะที่ทำให้ผลงานของเขามีชื่อเสียง
 
พร้อมๆกับที่ศิลปินสำคัญสมัยเดียวกันเช่น โจฮาน โจเซฟ คริสเตียน (Johann Joseph Christian) และ ฟรานซ์ โจเซฟ สปีเกิล (Franz Joseph Spiegler) โจเซฟ อันทวนส่วนใหญ่ก็จะทำงานกับสำนักสงฆ์หรืออารามแบบ[[ศิลปะบาโรก|บาโรก]]แถว"ถนนบาโรก"ในรัฐ[[บาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก]] งานที่มีเด่นที่สุดก็คืองานปูนปั้น ''แท่นบูชาเซ็นต์เบอร์นฮาร์ด'' (''Bernhardsaltar'') ที่อือเบอร์ลิงเก็น (Überlingen) ที่เรียกกันว่า ''ปากน้ำผึ้ง'' ("Honigschlecker" หรือ [[ภาษาอังกฤษ]]: "honey eater") ซึ่งเป็นคำที่กล่าวถึงนักบุญเบอร์นาร์ดผู้มีพรสวรรค์ในการเทศนา<ref>''Germany: A Phaidon Cultural Guide''. Oxford: Phaidon, 1985. p. 710. ISBN 0-7148-2354-6.</ref>
 
ปัจจุบันนี้เวิร์คช็อพและบ้านของโจเซฟ อันทวนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้กับชีวิตและงานของเขา