ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำต้น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZilentFyld (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:30, 2 มีนาคม 2563

ลำต้น เป็นหนึ่งในสองแกนโครงสร้างหลักของพืชมีท่อลำเลียง อีกอย่างหนึ่งเป็นราก ทำหน้าที่รองรับใบไม้ ดอกไม้ และผลไม้ ขนส่งของเหลวระหว่างรากถึงยอดในไซเลมและโฟลเอ็ม เก็บสารอาหาร และสร้างเนื้อเยื่อชีวิตใหม่

ลำต้นที่แสดงให้เห็นข้อ ปล้อง และก้านใบ
ลำต้นเหนือพื้นดินของ Polygonatum สูญเสียใบไม้ไป แต่ได้สร้างรากพิเศษจากตาของมัน

ลำต้นโดยปกติแบ่งออกเป็นข้อและปล้อง:

  • ข้อรองรับหนึ่งใบหรือมากกว่า รวมทั้งตาซึ่งสามารถเติบโตเป็นก้าน (หรือใบกรวยต้นสนหรือช่อดอก) รากพิเศษอาจจะเกิดขึ้นได้จากข้อ
  • ปล้องคือส่วนที่อยู่ระหว่างข้อ

คำว่า "หน่อ" มักจะถูกสับสนกับ "ลำต้น"; "หน่อ" โดยทั่วไปหมายถึงการเจริญเติบโตของพืชสดใหม่ที่รวมทั้งลำต้นและโครงสร้างอื่น ๆ เช่นใบไม้หรือดอกไม้ ในพืชส่วนใหญ่ลำต้นตั้งอยู่เหนือผิวดิน แต่พืชบางชนิดมีลำต้นใต้ดิน

ลำต้นมีสี่หน้าที่หลักคือ:[1]

  • รองรับและยกใบไม้ ดอกไม้ และผลไม้ ลำต้นจะช่วยให้ใบคงในที่มีแสงและให้สถานที่อยู่สำหรับดอกไม้และผลไม้
  • การขนส่งของเหลวระหว่างรากและหน่อโดยไซเลมและโฟลเอ็ม (ดูด้านล่าง)
  • เป็นที่เก็บสารอาหาร
  • การผลิตเนื้อเยื่อที่มีชีวิตใหม่ โดยปกติของเซลล์พืชจะมีชัวิตระหว่างหนึ่งถึงสามปี โดยลำต้นมีเนื้อเยื่อเจริญซึ่งสร้างเนื้อเยื่อที่มีชีวิตใหม่ทุกปี

ลำต้นมีเนื้อเยื่อคล้ายท่อสองที่เรียกว่าไซเลมและโฟลเอ็ม เนื้อเยื่อไซเลมจะลำเลียงน้ำโดยแรงดึงจากการคายน้ำ แรงยกตัว และความดันราก เนื้อเยื่อของโฟลเอ็มประกอบด้วยเซลล์หลอดตะแกรงและเซลล์ข้างเคียง เนื้อเยื่อทั้งสองแยกจากกันด้วยวาสคิวลาร์แคมเบียม ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งออกเป็นเซลล์ในไซเลมหรือโฟลเอ็มได้

อ้างอิง

  1. Raven, Peter H., Ray Franklin Evert, and Helena Curtis (1981). Biology of Plants. New York: Worth Publishers. ISBN 0-87901-132-7.