ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าปางคำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
เมื่อพระราชโอรสทั้งสองพระองค์เจริญชนม์ เจ้าปางคำทรงโปรดให้เข้ารับราชการสนองพระคุณพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ผู้เป็นพระปัยกา (คุณตาทวด) ที่พระราชสำนักนครเวียงจันทน์
 
ในปี พ.ศ.เดียวกันนั้นเอง [[พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช]] ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าปางคำทรงนำกำลังไพร่พลครัวนครเชียงรุ่งแสนหวีฟ้าที่ติดตามมาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภู ซึ่ง[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] ทรงนำไพร่พลหลวงพระบางและเวียงจันทน์มาก่อสร้างขึ้นครั้ง พ.ศ. 2106 ให้เมืองหน้าด่านของกรุงศรีสัตตนาคนหุต ([[เวียงจันทน์]]) เมื่อเจ้าปางคำได้มาถึงเมืองหนองบัวลุ่มภู ทรงเลือกหน้าทำเลที่ตั้งบ้านเมืองใหม่ บริเวณริมหนองบัวอันมีปราการทางธรรมชาติคือ เทือกเขาภูพานสูงตระหง่าน สามารถป้องกันข้าศึกศัตรู พร้อมก่อสร้างค่ายคูประตูหอรบ กำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียงอย่างแน่นหนา สถาปนาเวียงแห่งใหม่นี้ว่า '''"เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน"''' แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า '''"หนองบัวลุ่มภู"''' ซึ่งเป็นเมืองเอกเทศราชไม่ขึ้นตรงต่ออาณาจักรใด ทรงให้ตั้งกฏบัญญัติบ้านเมืองหนองบัวลุ่มภู มีลำพระเนียงเป็นแม่น้ำสายหลักไหลหล่อเลี้ยงชาวเมือง มีพญาช้างเผือกคู่เวียง และมีเมืองหน้าด่านของนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ได้แก่ เมืองนาด้วง เมืองภูเวียง เมืองผาผ้าขาว เมืองพรรณาพันนา<ref> [http://123.242.163.1:8050/province/history/history_city_main.php ประวัติจังหวัดอุบลราชธานี]</ref>
 
ปี พ.ศ. 2281 พระเจ้าสุวรรณปางคำได้เสด็จคล้องช้าง พร้อมไพร่พลหนองบัวลุ่มภูยกลงมาตามริมแม่น้ำโขงจนล่วงเข้าเขตนครกาลจำบากนาคบุรีศรี ([[อาณาจักรล้านช้างจำปาสัก]]) พระเจ้าสุวรรณปางคำจึงได้เจ้านางเภาเป็นพระมเหสี แล้วยกไพร่พลกลับไปหนองบัวลุ่มภู ต่อมาเจ้านางเภาได้ประสูติพระราชธิดา พระนามว่า "เจ้านางแพง" หนองบัวลุ่มภูกับนครจำปาศักดิ์จึงมีความสัมพันธ์กันนับตั้งแต่นั้นมา