ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีกลางบางซื่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boripat2543 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ToyWiki (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมประวัติรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่เกี่ยวข้องกับสถานีกลางบางซื่อ และเพิ่มชั้นใต้ดินของสถานีกลางบางซื่อ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32:
 
== ประวัติ ==
โครงการสถานีกลางบางซื่อมีมาตั้งแต่อนุมัติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ[[รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง|รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง]]ในปี พ.ศ. 2553 ในสมัยรัฐบาล [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] โดยอนุมัติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ[[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง]] ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ชั้นรถไฟทางไกล และชั้นสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย(พญาไท-บางซื่อ) แต่ในปีเดียวกันเกิดการยุบสภา โครงการจึงหยุดชะงักลง[[รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน|โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน]](บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ได้มีการก่อสร้างทางวิ่งยกระดับเข้าพื้นที่โครงการสถานีกลางบางซื่อรอไว้ โดยโครงการได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 แล้วเสร็จทั้งโครงสร้างและการวางรางเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เนื่องจากกำลังติดตั้งเสาจ่ายไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า (OCS) และรอการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563
 
ต่อมาในสมัยรัฐบาล [[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] ได้อนุมัติการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ ใน พ.ศ. 2556 โดยให้ใช้แบบตามโครงสร้างเดิมไปพลางก่อน แต่หลังจากการก่อสร้างได้ไม่นาน [[ชัชชาติ สิทธิพันธุ์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ขอให้ชะลอการก่อสร้างเพื่อปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ โดยเพิ่มชั้นที่ 3 เพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตามนโยบายประเทศไทย 2020 และงบประมาณสองล้านล้านบาท แต่ในปีถัดมา พ.ศ. 2557 เกิดการยุบสภา โครงการจึงหยุดชะงักลง และทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าเนื่องมาจากการปรับแบบ
 
ในปี พ.ศ. 2557 รัฐบาล [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ|คสช.]] และ [[กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)|กระทรวงคมนาคม]] ได้ดำเนินโครงการต่อ โดยปรับแบบสถานีกลางบางซื่ออีกครั้ง คือ ชั้นใต้ดิน เป็นที่จอดรถยนต์ประมาณ 1,700 คันและสามารถเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล|รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน]]ได้ ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร จุดรอการโดยสารและร้านค้า ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.000 เมตร ประกอบด้วยรถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และ [[รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง]] 4 ชานชาลา และชั้นที่ 3 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ประกอบด้วย [[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] (Airport Rail Link) และรถไฟรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จำนวน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือจำนวน 2 ชานชาลา และรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวนสายละ 2 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 10 ชานชาลา
 
==ชานชาลา==