ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 57:
 
ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้ออกพระนามาภิไธยของพระองค์ว่า "'''สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี'''" ตามที่ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 หากแต่มิได้เป็นพระราชชนนีในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อ ๆ มา
 
== พระราชกรณียกิจ ==
ในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่แรกยังไม่มีละครหลวง สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีทรงฝึกหัดคณะละครส่วนพระองค์ และทรงฟื้นฟูละครหลวงขึ้น<ref>คนไกล วงนอก. [https://www.silpa-mag.com/history/article_33002 วัดโสมนัสฯ “ทัชมาฮาล” เมืองไทย ที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้าง].ศิลปวัฒนธรรม. 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563</ref> เนื่องจากละครหลวงเลิกเสียเมื่อรัชกาลที่ 3 เพราะ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ไม่โปรดละคร แต่[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ไม่ทรงรังเกียจการเล่นละครเหมือนอย่างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีจึงทรงหัดละครเด็กผู้หญิง ในพระบรมมหาราชวังขึ้นชุดหนึ่ง แต่ยังไม่ทันจะได้ออกโรง พระองค์ก็สวรรคตเสียก่อนเมื่อพ.ศ. 2395 ครั้นถึงพ.ศ. 2396 มีช้างเผือกแรกมาคู่พระบารมี คือพระวิมลรัตนกิริณี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงปรารภถึงการที่เคยมีละครหลวงสมโภชช้างเผือก เมื่อในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้รวมละครของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ฝึกหัดเป็นละครหลวง จึงทันออกโรงเล่นสมโภชช้างเผือกที่ 2 คือพระวิสุทธรัตนกิริณี เมื่อปีพ.ศ. 2397<ref>[https://vajirayana.org/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93-%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%94#_ftnref1 ตำนานละครอิเหนา ภาคที่-๓-ว่าด้วยตำนานละคร ตำนานละครครั้งรัชกาลที่-๔]. หอสมุดวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563</ref> จึงได้มีละครหลวงขึ้นในรัชกาลที่ 4 แต่นั้นมา โดยคณะละครของพระองค์มีละครหญิงที่สำคัญเช่น[[เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4|เจ้าจอมมารดาเขียน]]<ref>มณิศา วศินารมณ์. ''นาฏยประดิษฐ์ของเจ้าจอมมารดาเขียน''. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. หน้า 31</ref> [[ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4)|เจ้าจอมมารดาวาด]]<ref>{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง =ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย| ชื่อหนังสือ =สี่แผ่นดินกับเรื่องจริงในราชสำนักสยาม| URL = | จังหวัด = กรุงเทพ| พิมพ์ที่ = สำนักพิมพ์มติชน| ปี = พิมพ์ครั้งที่ 5:2559| ISBN = 9789740204367| หน้า = 108| จำนวนหน้า = 254}}</ref> ซึ่งได้กลายมาเป็นครูละครที่สำคัญในเวลาต่อมา
 
==พระราชอิสริยยศ==