ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7:
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทั้งสองท่านก็ได้มีความสัมพันธ์ทั้งในด้านการงานและการส่วนตัวร่วมกันสร้างสรรค์งานด้านอักษรศาสตร์เป็นมรดกแก่ประเทศมาจนตลอดชีวิต
 
พระมหาตรีสึกออกมาเป็น[[คฤหัสถ์]]เมื่อ พ.ศ. 2462 เมื่ออายุได้ 30 ปี และได้เข้ารับราชการเป็น[[อนุศาสนาจารย์]]ประจำ[[กระทรวงกลาโหม]]ซึ่งมี[[พระธรรมนิเทศทวยหาญ]]เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ศาสนาจารย์ 3 ปีได้เป็นรองอำมาตย์โท
 
ครั้งนั้น[[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)]] [[เสนาบดี]][[กระทรวงศึกษาธิการ]]ขณะนั้นได้ขอตัวมาดำรงตำแหน่งผู่ผู้ช่วยแผนกอภิธานสยามในกรมตำราเมื่อ พ.ศ. 2465
 
ในปี พ.ศ. 2566 ก็ได้[[บรรดาศักดิ์]]เป็น ''หลวงธุรกิจภิธาน'' ประจวบขณะนั้น[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ฯ กำลังทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง [[มัทนะพาธา]] อยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการใกล้ชิดพระองค์ชั่วคราว โดยมีหน้าที่ถวายความเห็นเกี่ยวกับเรื่องศัพท์และตามเสด็จไปอยู่ที่[[พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน]]บ่อยครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสวรรคต หลวงธุรกิจภิธานได้กลับไปรับราชการที่เดิม
 
ในปี พ.ศ. 2469 [[กรมราชเลขาธิการ]]ขอย้ายหลวงธุรกิจภิธานไปรับราชการในกรมในตำแหน่งปลัดกรมพระอาลักษณ์ และถึงปี พ.ศ. 2471 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อน
 
ในปี พ.ศ. 2471 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น''พระสารประเสริฐ'' รับราชการอยู่จนถึง พ.ศ. 2475 จึงย้ายกลับไปรับราชการใน[[กระทรวงศึกษาธิการ]] เป็นข้าราชการชั้นเอกประจำกรมวิชาการ ภายหลังได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองศาสนศึกษาระยะหนึ่งจึงออกจากราชการเพื่อรับพระราชทานเบี้ยบำนาญและได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์พิเศษประจำแผนกวิชา[[ภาษาบาลี]] [[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] จนถึงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2485 จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากบรรดาศักดิ์<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=59|issue=3 ง|pages=64|title=ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคับลาออกจากบรรดาศักดิ์|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/003/61.PDF|date=13 มกราคม 2485|accessdate=15 พฤศจิกายน 2560|language=ไทย}}</ref>
 
'''พระสารประเสริฐ''' สมรสกับนางสารประเสริฐ (สิริพันธ์ นาคะประทีป) มีบุตร-ธิดารวม 5 คน ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อตามลำดับคือ