ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดโมคลาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12:
ศรีมหาโพธิ์ เจ็ดโบสถ์แปดวิหาร เก้าทวารสิบเจดีย์”
 
บทกลอนนี้แสดงให้เห็นความเก่าแก่ของบ้านโมคลานซึ่งเป็นชุมชนโบราณ ที่มีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีการศึกษาสำรวจชุมชนโมคลานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของ[[ศาสนาพราหมณ์]]ลัทธิ[[ไศวนิกาย]]

ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ ศาสตราจารย์ลูฟส์ (H.H.E.Loofs) แห่งโครงการสำรวจทางโบราณคดีไทย-อังกฤษ ได้เข้าสำรวจและมีความเห็นว่า เนินโบราณสถานของโมคลาน หรือแนวหินตั้งจัดอยู่ใน[[วัฒนธรรมหินใหญ่]] และห่างจากเนินโบราณสถานโมคลานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตร ซึ่งแต่เดิมเป็นพรุลึกมากเรียกว่า "ทุ่งน้ำเค็ม" ปัจจุบันตื้นเขิน ชาวบ้านได้ขุดพบเงินเหรียญแบบ[[ฟูนัน]] จึงสันนิษฐานว่า บ้านโมคลานอาจเป็นชุมชนเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก
 
จากหลักฐานที่พบทั้งเทวสถาน โบราณวัตถุในศาสนาพราหมณ์ สระน้ำโบราณ แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายในบ้านโมคลาน แต่ต่อมาอิทธิพลของ[[พุทธศาสนา]]ได้เข้ามาแพร่หลายในบ้านโมคลานเพราะพบหลักฐานโบราณวัตถุสถานทางศาสนาพุทธอยู่มากเช่นเดียวกัน แต่โบราณสถานทางศาสนาของบ้านโมคลานคงจะถูกทอดทิ้งไปเป็นเวลานาน อาจจะก่อนหรือพร้อมกับการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวไทยมุสลิม จากรัฐ[[ไทรบุรี]] [[กลันตัน]] และ[[ตรังกานู]] ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นต้นมา ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของบ้านโมคลาน จึงเป็นไทยมุสลิม ร้อยละ ๗๐ อีกร้อยละ ๓๐ เป็นชาวไทยพุทธ