ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Wasin147 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8721176 สร้างโดย 2001:44C8:43A0:30F2:E5CF:182E:FDBC:E4EE (พูดคุย) ::::: ขออนุญาตอ้างอิงจากแผนที่และหลักการกำหนดสีจากทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด นะครับ ไม่ขอยึดจากแผนแม่บท หรือ รฟท.​เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก และ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ และแหล่งอ้างอิงจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด มีมาก่อนแผนแม่บทจาก สนข. หรือรถไฟฟ้ามหานครอีกครับ
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 128:
=== รถไฟฟ้าสายสีเขียว ===
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}
ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มอ่อน ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (ย่านบางปิ้ง) ตามแนวถนนสุขุมวิทใน [[จ.สมุทรปราการ]] ระยะทาง 17 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ระยะทาง 18 กิโลเมตร ทั้งหมดเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับผิดชอบโครงการนี้แทนกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2552 เนื่องจากเส้นทางในหลายจุดเหลื่อมล้ำไปยังเขตปริมณฑลซึ่งอยู่นอกเหนือพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน โครงการช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และโครงการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2562 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเฉพาะสถานีแรก (ห้าแยกลาดพร้าว) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562
 
อย่างไรก็ตาม โครงการยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่องการชำระหนี้สินและการดำเนินการในอนาคต ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและระบบรถไฟฟ้าตำแหน่งละ 1 คน เพื่อดำเนินการเจรจาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์จากค่าโดยสาร และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยผลการเจรจาเบื้องต้นเป็นการขยายสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 40 ปี โดยผู้รับสัมปทานจะต้องรับภาระค่าก่อสร้างทั้งหมดของโครงการแทน และกรุงเทพมหานครจะใช้คืนให้เป็นรายปี เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู