ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรอยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8718678 สร้างโดย 2001:44C8:424A:BF79:1:2:491B:DD74 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 469:
== ประชากรศาสตร์ ==
=== กลุ่มชาติพันธุ์ ===
[[ไฟล์:La_Loubere_Kingdom_of_Siam.jpg|thumb|right|225px|ภาพชาวสยามจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ [[พ.ศ. 2236]]]]
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยามีประชากรประมาณ 1,900,000 คน ซึ่งนับชายหญิงและเด็กอย่างครบถ้วน<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. ''จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์'', เล่มที่ 1, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า. 2510, หน้า 46</ref> แต่ลาลูแบร์กล่าวว่า ตังเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องเนื่องจากมีผู้หนีการเสียภาษีอากรไปอยู่ตามป่าตามดงอีกมาก<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. ''จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์'', หน้า 47</ref> แอนโธนี เรด นักวิชาการด้านอุษาคเนย์เทียบหลักฐานจากคำบอกเล่าต่างๆ แล้วประมาณว่า กรุงศรีอยุธยามีประชากร ในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ราว 200,000 ถึง 240,000 คน<ref>Anthony Reid, South East Asia in the Age of Commerce: Expansion and Crisis (1988), p.71-73</ref> มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือ[[ไทยสยาม]]ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ใช้[[ภาษาตระกูลขร้า-ไท]] ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลขร้า-ไทเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบ[[เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง|กว่างซี]] คาบเกี่ยวไปถึง[[มณฑลกวางตุ้ง|กวางตุ้ง]]และแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงใน[[เวียดนาม]]ตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความเคลื่อนไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการเคลื่อนไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย<ref name="อัก">สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''อักษรไทยมาจากไหน?''. หน้า 128</ref> ในยุค[[อาณาจักรทวารวดี]]ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี [[พ.ศ. 1100]] ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย<ref name="อัก"/> ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบ[[สุพรรณบุรี]] [[ราชบุรี]] ถึง[[เพชรบุรี]]และเกี่ยวข้องไปถึง[[นครศรีธรรมราช|เมืองนครศรีธรรมราช]]<ref name="ไทย">สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''อักษรไทยมาจากไหน?''. หน้า 130</ref> ซึ่งในส่วนนี้ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ให้ความเห็นส่วนตัวว่า ''ชาวลาวกับชาวสยามเกือบจะเป็นชาติเดียวกัน''<ref>มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, หน้า 45</ref> นอกจากนี้ลาลูแบร์ยังอธิบายเพิ่มว่าตามธรรมเนียมแต่โบราณแล้ว ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าตนรับกฎหมายของตนมาจากอีกฝ่าย กล่าวคือฝ่ายสยามเชื่อว่ากฎหมาย และเชื้อสายกษัตริย์ของตนมาจากลาว และฝ่ายลาวก็เชื่อว่ากฎหมาย และกษัตริย์ของตนมาจากสยาม<ref>Simon de La Loubère, The Kingdom of Siam (Oxford Univ. Press 1986) (1693), at 9</ref> นอกจากนี้ลาลูแบร์สังเกตเห็นว่าสังคมอยุธยานั้นมีคนปะปนกันหลายชนชาติ และ "เป็นที่แน่ว่าสายเลือดสยามนั้นผสมกับของชาติอื่น"<ref>La Loubère (1693), p.10</ref> เนื่องจากมีคนต่างชาติต่างภาษาจำนวนมากอพยบเข้ามาอยู่ในอยุธยาเพราะทราบถึงชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพทางการค้า<ref>La Loubère (1693), p.10</ref>
 
บรรทัด 483:
# ความเป็นนานาชาติพันธุ์ของบรรยากาศการค้าขายในอยุธยา ทำให้การเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์มีความเบาบางลง นอกจากนี้ยังมีคนต่างชาติรับราชการในกรุงศรีอยุธยาอยู่เป็นจำนวนมาก
# สงครามระหว่างสยามกับชาติเพื่อนบ้าน ไม่ยืดเยื้อยาวนานเท่าฝั่งพม่า ทำให้แนวคิดขัดแย้งทางชาติพันธุ์ไม่ฝังรากลึก ในสมัยพระเจ้าอลองพญาแม้จะตีเอาเมืองท่าสำคัญของมอญ เช่น นครย่างกุ้ง ได้ แต่ก็ปกครองเมืองท่าเหล่านี้อยู่ห่างๆ ไม่ย้ายเมืองหลวงลงมา เนื่องจากอาจเป็นจุดล่อแหลมต่อการถูกโจมตีจากทางทะเล<ref>{{cite web|title=สุเนตร ชุตินธรานนท์: ไขคติ "เบิกยุค" ของพม่า เหตุย้ายเมืองหลวงไป "เนปิดอว์"|website=ประชาไท|url=https://prachatai.com/journal/2012/06/41272}}</ref>
 
[[ไฟล์:Tosakan Khon Golden Mask.jpg|thumb|200px|[[โขน]]ต้องเจรจาด้วยเสียงเหน่อ ซึ่งถือเป็นสำเนียงหลวงเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา]]
 
=== ภาษา ===
เส้น 495 ⟶ 493:
== ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ==
[[ไฟล์:SiameseEmbassyToLouisXIV1686NicolasLarmessin.jpg|thumb|ราชทูตไทยที่ถูกส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ พ.ศ. 2229]]
[[ไฟล์:OkKhunChamnan.JPG|150px|thumb|[[ออกขุนชำนาญใจจง]] นักการทูต[[สยาม]]ที่เดินทางเยือน[[ฝรั่งเศส]]และ[[โรม]]ในปี ค.ศ. 1688 วาดโดย [[ธิติพงษ์คาร์โล พ่วงเอี่ยมมารัตตา]]]]
 
อาณาจักรอยุธยามักส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนเป็นประจำทุกสามปี เครื่องบรรณาการนี้เรียกว่า "จิ้มก้อง" นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการส่งเครื่องราชบรรณาการดังกล่าวแฝงจุดประสงค์ทางธุรกิจไว้ด้วย คือ เมื่ออาณาจักรอยุธยาได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแล้วก็จะได้เครื่องราชบรรณาการกลับมาเป็นมูลค่าสองเท่า<ref name="โกวิท14">โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 14.</ref> ทั้งยังเป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยง จึงมักจะมีขุนนางและพ่อค้าเดินทางไปพร้อมกับการนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายด้วย