ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเทพกษัตรีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19:
''[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]'' และ ''[[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์]]'' ระบุเนื้อความใกล้เคียงกัน แต่ต่างปี คือในปี พ.ศ. 2093 (ฉบับพันจันทนุมาศ) หรือ พ.ศ. 2107 (ฉบับหลวงประเสริฐ) [[สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช|พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]ทรงมีพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ขอเจ้านางเทพกษัตรีย์ ผู้สืบเชื้อสายมาแต่[[พระสุริโยทัย|พระศรีสุริโยทัย]]ไปเป็นพระมเหสี [[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ|พระมหาจักรพรรดิ]]ก็ทรงตอบรับไปอย่างดี แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาที่คณะทูตจากล้านช้างเดินทางมารับตัวที่กรุงศรีอยุธยา เจ้านางเทพกษัตรีย์ก็ทรงประชวรหนัก พระมหาจักรพรรดิก็มิทราบว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะทรงรับปากไว้แล้วจึงส่ง[[พระแก้วฟ้า (พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)|พระแก้วฟ้า]] พระราชธิดาซึ่งเกิดกับพระรัตนมณีเนตรไปแทนเจ้านางเทพกษัตรีย์ แต่เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงทราบว่าขัตติยนารีที่ถูกส่งมามิใช่เจ้านางเทพกษัตรีย์ ก็ทรงเสียพระทัยจึงส่งพระแก้วฟ้ากลับคืนมา ครั้นเมื่อเจ้านางเทพกษัตรีย์ทรงหายจากอาการพระประชวร พระมหาจักรพรรดิจึงส่งพระราชธิดาออกเดินทางไปพร้อมกับเถ้าแก่และทาสชายหญิงอย่างละ 500 คนในปี พ.ศ. 2095 ในเอกสารของไทยระบุว่า ระหว่างเดินทาง ได้ถูกทหารพม่าซึ่งดักซุ่มที่ตำบลมะเริง [[จังหวัดเพชรบูรณ์|เมืองเพชรบูรณ์]] ออกสกัดและจับตัวเจ้านางเทพกษัตรีย์ไป<ref name="เจิม"/><ref name="ประเสริฐ"/>
 
ขณะที่เอกสารของลาวระบุว่าสมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงรับพระเจ้านางเทพกษัตรีย์ไป[[หนองหาน]] มิได้ถูกพม่าชิงตัวไป<ref>{{cite web |url= https://minimore.com/b/PeDxn/4 |title= เล่าให้อ่าน โยเดียกับราชวงศ์พม่า เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้ |author=|date= 6 มิถุนายน 2560 |work= Minimore Makers |publisher=|accessdate= 19 มิถุนายน 2561}}</ref> โดยใน ''พงศาวดารล้านช้าง'' ระบุว่าสมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงรับพระเจ้านางเทพกษัตรีย์และพระแก้วฟ้าไว้ในตำแหน่งบาทบริจาริกาเจ้านาง ดังปรากฏความตอนหนึ่งว่า ''"...[สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช] ได้ยังราชธิดาพระยาเชียงใหม่มาเปนนางอรรคมเหษี จึงได้ลูกสาวท้าวเชียงธงมาเปนบาทบริจา จึงได้ลูกสาวพระยาเขมรัฐ ๓ คน ได้ลูกสาวพระยาเชียงรุ้ง ๒ คน แล้วได้ลูกสาวองจัวกางลานผู้ ๑ แล้วได้ลูกสาวแกวองแสนเมืองอานามผู้ ๑ แล้วได้ลูกสาวเจ้าบัวดึกผู้ ๑ <u>แล้วได้ราชกัญญานีศรีอโยทธยาชาวใต้ ๒ คนมาเปนบริจาริก</u> อยู่เสวยศุขสนุกนักในบ้านเมืองแห่งตนคราวนั้นแล"''<ref name="ล้านช้าง"/>
 
=== สงครามช้างเผือก ===