ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 140:
# คำว่า "ตัณหาจริตอย่างอ่อน" และ"ทิฏฐิจริตอย่างอ่อน"นั้น สมัยนี้มีการพูดถึงกันมาก เพราะเอามาจาก[[อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร]]เป็นต้นนั่นเอง มาจากศัพท์ว่า "มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส" กับ "ทิฏฺฐิจริตสฺส มนฺทสฺส" ซึ่งดูจาก[[ฏีกาวิสุทธิมรรค]] และ[[เนตติปกรณ์]] รวมถึงใน[[อรรถกถา]]ของ[[ทีฆนิกาย]]แล้ว ถ้าจะอ่านให้รู้เรื่องควรเข้าใจคำนี้ว่าเป็น "ตัณหาจริต ปัญญินทรีย์แก่กล้า/ปัญญินทรีย์อ่อนหัด" กับ "ทิฏฐิจริต ปัญญินทรีย์แก่กล้า/ปัญญินทรีย์อ่อนหัด".
#การแสดงข้อมูลสำหรับสะสมอบรมสติปัฏฐานไว้ถึง 21 แบบ ซ้ำกันไปซ้ำกันมาในเรื่องเดียวกันอยู่อย่างนี้ เพราะทรงแสดงตามนิสัยสันดานของแต่ละคนที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านข้อมูลและภาษาเป็นต้นมาไม่เหมือนกัน หากทรงแสดงย่อเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ผู้ฟังบางส่วนอาจไม่สามารถทำความเข้าใจจนบรรลุได้. แต่หากทรงแสดงหลากหลายแบบ เลือกคำพูดและร้อยเรียงเอาเรื่องราวที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมาแสดงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ฟังบรรลุได้ตามประสงค์ เพราะผู้ฟังก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอยู่ในระดับ''ชำนาญเฉพาะทาง''อยู่แล้ว เพียงแค่ทรงบอกแนะเพิ่มเติมในจุดที่ขาดตกบกพร่องไปเท่านั้นเขาก็สามารถเข้าใจและบรรลุตามได้ไม่ยากเลย, เหมือนการอธิบายเรื่องพระเจ้าหลุยให้ชาวฝรั่งเศสฟังด้วยภาษาฝรั่งเศส ถ้าเจอคนโง่ก็อธิบายให้คนโง่ฟังอย่างละเอียด ถ้าเจอคนฉลาดก็อธิบายให้คนฉลาดอย่างสังเขป เป็นต้นนั่นเอง.
#ทั้ง 21 บรรพะนี้ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างย่อเท่านั้น รายละเอียดจำเป็นต้องดูเพิ่มเติมที่สติปัฏฐานสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, สติปัฏฐานนิทเทส ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, สติปัฏฐานวิภังค์ ในอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์(<<ละเอียดที่สุด) และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฏีกา เช่น อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ใน สุมังคลวิลาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ใน ปปัญจสูทนีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์ ใน สารัตถปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส ใน สัทธัมมปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์ ใน สัมโมหวิโนทนีปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา ฏีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 7(ย่อไว้ดีมาก),ฏีกา-อนุฏีกาของอรรถกถาเหล่านั้น เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม การจะทำความเข้าใจอย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานในด้านข้อมูล-ภาษา-และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก-อรรถกถา-ฏีกามากพอสมควร ซึ่งสามารถหาประสบการณ์และความชำนาญได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมไปอีก เช่น ถ้าอ่านเรื่อง "รูปขันธ์" ใน ขันธบรรพะ พร้อมอรรถกถา-ฏีกาแล้ว ก็ควรอ่านขันธวารวรรค ในสังยุตตนิกาย, ขันธวิภังค์ ในวิภังคปกรณ์, ขันธนิทเทส ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส, การจำแนกขันธ์ที่มาในธัมมสังคณีปกรณ์, อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีปกรณ์ เป็นต้น.
 
== ดูเพิ่ม ==