ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 128:
# ใน​[[อรรถกถา]]​-​[[ฏีกา]]ท่านแนะ​ไว้​ใน [[​สัจจบรรพะวรรณนา​]] ของ[[ทีฆนิกาย]]ว่า​ ​ไม่​ควรกำ​หนด​ 4 ​บรรพะดังต่อไปนี้ก่อน​ ​คือ​ ​อิริยาบถบรรพะ​ ​สัมปชัญญบรรพะ​ ​นิวรณบรรพะ​ ​และ​โพชฌังคบรรพะ
​เพราะ​อิริยาบถ​ทั้ง​น้อย​และ​ใหญ่​ไม่​ใช่​สัมมสนรูป จึงไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนา, นิวรณ์เป็นปหาตัพพธรรม ควรข่มให้ได้ก่อน ไม่ใช่มัวแต่สัมมสนะ แล้วปล่อยให้นิวรณ์เกิด,​ ​ส่วน​โพชฌงค์​ใน​ที่นี้ท่านหมาย​ถึง​โลกิยโพชฌงค์​ ​ซึ่ง​ถ้า​หากกำ​หนด​ให้​เบื่อหน่าย​แล้ว​ก็​จะ​ไม่​คิดเจริญต่อ​ ​ฉะ​นั้น​จึง​ไม่​ควรกำ​หนดตั้งแต่​แรก​.
# ​ใน​[[อรรถกถา]]ท่านกล่าวว่า​ [[สติปัฏฐาน​]] เป็น​วินัย​ทั้ง​ 2 ​คือ​ ​ทั้ง[[ตทังควินัย]]​และ​[[วิกขัมภนวินัย]] ​กล่าวคือ​ ​เป็น​ได้​ทั้ง​[[ขณิกสมาธิ​]]และ[[อัปปนาสมาธิ]]​ ​ซึ่ง​อีกที่หนึ่งก็กล่าว​ให้​บางบรรพะ​เป็น[[​สมถะ]]​และ​บางบรรพะ​เป็น​ [[วิปัสสนา​]] ​จึง​สรุป​ความ​ได้​ว่า​ [[สติปัฏฐาน​]]เป็น​ได้​ทั้ง​[[สมถะ​]]และ[[​วิปัสสนา]]​ อย่าง ​[[อิริยาบถบรรพะ]]​เป็น​ต้นท่านก็ว่า​เป็น​[[วิปัสสนา]]​ ​ส่วน​การ​จะ​ทำ​ฌาน​ให้​เป็น​สติปัฏฐาน​ได้​นั้น​ก​็ต้อง​ทำ​เพื่อ​เป็น​ เป็นบาทของวิปัสสนา​ ​และ​ถ้า​ไม่​ทำ​ฌานแต่​จะ​ทำ​[[สติปัฏฐาน]]ก็​ต้อง​ทำ​วิปัสสนา​ ​เพียงแต่การ​ได้[[​ฌาน​]]จะ​ช่วย​ให้​บรรลุ​ได้​สบายขึ้นกว่าคนที่​ไม่​ทำ​ฌาน มาก่อน​เท่า​นั้น​เอง​.
# หลักการวิปัสสนาที่อรรถกถาขยาย​ความ​สติปัฏฐาน​ใน​แต่ละบรรพะคือหลัก[[ปริญญา​ 3]] ​ที่มา​ใน​ ​พระ[[​ไตรปิฎก เล่ม​ 29]] ​คัมภีร์[[มหานิทเทส​]] และ[[ปฏิสัมภิทามรรค]]​ของพระ[[สารีบุตร​]] รวมถึง[[เนตติปกรณ์]]ทั้ง​สิ้น​ พระพุทธโฆสาจารย์ไม่​ใช่​การแต่งขึ้นเองแต่อย่าง​ใด​.
# บทว่า​ ​'''สมุทยธมฺมานุปสฺสี​, ​วยธมฺมานุปสฺสี​, ​สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี​ ​''' ที่มี​อยู่​ใน​ทุกบรรพะ​ ​ใน​[[อรรถกถา]]​และ​ฏีกาท่าน​ให้​แปลว่า​ ​ผู้​หมั่นเห็นเหตุของ​ความ​เกิดขึ้น​, ​ผู้​หมั่นเหตุ​แห่ง​ความ​หมดไป​, ​ผู้​หมั่นเหตุ​แห่ง​ความ​เกิดขึ้น​และ​ความ​หมดไป​ ​ตามลำ​ดับ​. ​เพราะ​คำ​ว่า​ ​ธรรม​ หมาย​ถึง​เหตุ​เกิดขึ้น​หรือ​เหตุดับของขันธ์​ 5 ​อย่าง ​ที่มา​ใน''[[ปฏิสัมภิทามรรค]]​ ​[[อุทยัพพยญาณนิทเทส]] ​และ​[[วิสุทธิมรรค]]​ [[​อุทยัพพยญาณกถา​]]'' ​ได้​แก่​ ​การเกิดขึ้น​และ​การดับของธรรมะ​ 2 ​อย่าง​ ​คือ​ ​ปัจจัย​ 6 ​อย่าง​ ​ได้​แก่​ ​[[อวิชชา​]] [[​ตัณหา​]] [[​กรรม]]​ ​[[อาหาร​]] [[ผัสสะ]] [[นามรูป]] ​และ​นิพพัตติลักษณะ​ ​คือ​ ​อุปาทขณะของ[[สภาวะธรรม​]]นั้น​ ​ๆ​ ​หรือ​ ​'''[[วิปริณามลักษณะ]]'''​ ​คือ​ ''[[​ภังคขณะ]]''ของสภาวะธรรม​นั้น​ ​ๆ​ ​อย่าง​ใด​อย่างหนึ่ง​ ​หากแปลว่า​ ​ธรรมคือ​ความ​เกิด​ ​เป็น​ต้น​ ​จะ​หมาย​ถึง​ ​'''[[นิพพัตติลักษณะ​]]'''หรือ​'''[[วิปริณามลักษณะ​]]'''เท่า​นั้น​ ​ส่วน​ธรรมอีก​ 4 ​อย่างที่​เป็น​[[ปัจจัย]]​จะ​คลุม​ไม่​ถึง​ จึงเป้นคำแปลที่ขัดกับปฏิสัมภิทามรรค, อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร, ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.